ขอบเขตการดำเนินงาน

วิสัยทัศน์ พันธกิจ

          เพื่อให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับมาตรฐานการดูแลรักษาเทียบเท่ามาตรฐานสากล ยึดประโยชน์ที่ผู้ป่วยพึงได้รับเป็นศูนย์กลาง ให้ความเคารพในสิทธิผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับเศรษฐสาธารณสุขของประเทศ ทำงานเป็นหมู่คณะ และมีการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง โดยการทำศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาการดูแลรักษาโรคติดเชื้อ เพื่อแก้ปัญหาโรคติดเชื้อในประเทศไทยและในระดับสากล ตลอดจนเป็นผู้นำของประเทศและภูมิภาคในด้านการวิจัยโรคติดเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการวางแผนเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้และถ่ายทอดทั้งวิชาการ ประสบการณ์ทางด้านโรคติดเชื้อ และจริยธรรมทางการแพทย์ สำหรับการสอนนักศึกษาแพทย์ การฝึกอบรมของแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เพื่อให้มีศักยภาพในการเรียนการสอนด้านโรคติดเชื้อแก่นักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน และเป็นแหล่งฝึกอบรมเพื่อผลิตผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคติดเชื้อของประเทศ

ขอบเขตการดำเนินงานของสาขาวิชา

  • งานการเรียนการสอน

สาขาวิชาโรคติดเชื้อรับผิดชอบการเรียนการสอนของนักศึกษาทั้งระดับก่อนและหลังปริญญา ได้แก่

  1. การศึกษาก่อนปริญญา สอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3, 4, 5, และ 6 นักศึกษาแพทย์ที่มาปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ มีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อทั้งจากการเรียนการสอนสอนข้างเตียง และการบรรยายในห้องประชุมจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ
  2. การศึกษาหลังปริญญา ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ มีโอกาสได้เรียนรู้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อร่วมกับแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงได้รับโอกาสในการทำวิจัยที่เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ
  3. นักศึกษาปริญญาโทและเอก มีการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ทั้งในส่วนของมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยอื่นๆ

กรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
 ๑. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงบุญมี สถาปัตยวงศ์          ที่ปรึกษา
 ๒. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล                ที่ปรึกษา
 ๔. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสิริอร วัชรานานันท์                   ที่ปรึกษา
 ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงอังสนา ภู่เผือกรัตน์           ประธานฝึกอบรม
 ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กำธร มาลาธรรม                     กรรมการ
 ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมาเรีย นิน่า จิตะสมบัติ             กรรมการ
 ๘. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดรุณี โชติประสิทธิสกุล            กรรมการ
 ๙. นายแพทย์พอพล โรจนพันธุ์                                               กรรมการ
 ๑๐. นายแพทย์จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์                                       กรรมการ
 ๑๑. แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด                              กรรมการ
 ๑๒. นางสาวนันทยา แย้มมา                                                   เลขานุการ

  • งานวิจัย

    เนื่องจากอาจารย์ในสาขาวิชาโรคติดเชื้อมีความรู้ความชำนาญในหลายด้านของโรคติดเชื้อ และมีศักยภาพสูงในการทำวิจัย ร่วมกับมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้มีผลงานวิจัยของอาจารย์ในสาขาวิชาโรคติดเชื้อที่ได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่ก่อตั้งหน่วย จนถึงปัจจุบัน เป็นจำนวนมากกว่า 400 เรื่อง ผลงานวิจัยส่วนใหญ่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์นานานาชาติที่ได้รับการยอมรับ และมี impact factor สูง และยังมีผลงานวิจัยที่ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก โดยหัวข้องานวิจัยมีดังต่อไปนี้

  1. งานวิจัยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อที่สำคัญในประเทศไทย
  2. งานวิจัยเกี่ยวกับยาต้านจุลชีพ รวมทั้งการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม
  3. งานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล
  4. งานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
  5. งานวิจัยโรคติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ/ไขกระดูก และภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  6. งานวิจัยทางระบาดวิทยา
  • งานบริการทางการแพทย์
  1. การบริการผู้ป่วยนอก สาขาวิชาโรคติดเชื้อให้บริการตรวจผู้ป่วยนอกที่อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ในส่วนที่เป็นคลินิกเฉพาะทางโรคติดเชื้อในวันจันทร์ถึงวันวันศุกร์ เวลา 8.00-12.00 น. ทำให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อสามารถพบผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทันท่วงที
  2. การบริการผู้ป่วยใน ให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อและโรคอายุรกรรมอื่นๆ ที่มีโรคติดเชื้อร่วมด้วย และผู้ป่วยที่ปรึกษาจากภาควิชาอื่น
  3. งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล ทำให้ลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อในโรงพยาบาลและการแพร่ระบาดของเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา
  4. การดำเนินการเพื่อให้การใช้ยาต้านจุลชีพเป็นไปอย่างเหมาะสม
  5. งานโรคเอดส์ ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถเข้าถึงยาได้ ส่งผลให้ลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและอัตราการตายในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
  • งานบริการทางวิชาการ
  1. การบริการวิชาการทางด้านโรคติดเชื้อแก่บุคลากรทางการแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุข ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย สร้างแพทย์ที่มีความรู้เรื่องโรคติดเชื้อที่สำคัญ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อที่สามารถให้การดูแลรักษาโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. การบริการวิชาการภาคประชาชน ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป