ขอบเขตการดำเนินงาน

ขอบเขตการดำเนินงานของสาขาวิชา

1.             ด้านการศึกษา

ทางหน่วยฯรับผิดชอบการเรียนการสอนทั้งวิชาโรคทางเดินอาหาร (gastroenterology) และอายุรศาสตร์เขตร้อน (tropical medicine) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 จนถึงปัจจุบัน

2.             ด้านบริการ

2.1            อดีต : นอกจากการตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีพื้นฐานปกติ  ประกอบด้วยการซักประวัติตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทางรังสีแล้ว   ในระยะแรกทางสาขายังมีการตรวจด้วยวิธีพิเศษโดยการส่องกล้อง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องตรวจส่องหลอดอาหาร  กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนบน การส่องลำไส้ใหญ่ ชนิด sigmoidoscopy, colonoscopy การตรวจส่องอวัยวะภายในช่องท้อง (peritoneoscopy)  ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจส่องเหล่านี้ได้พัฒนาเรื่อยมาจากเครื่องมือที่เป็นท่อตรง (rigid instruments) มาเป็นเครื่องโค้งงอ (flexible fiberoptic) และในระยะแรกเครื่องมือที่ใช้ไม่สามารถบันทึกภาพหรือตัดชิ้นเนื้อมาตรวจวิเคราะห์ มาเป็นชนิดถ่ายภาพได้  ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจวิเคราะห์ได้  จนในปัจจุบันเครื่องมือเหล่านี้สามารถฉายภาพเป็นวิดีโอขณะทำการตรวจทำให้มีประโชน์กว้างขวางในด้านการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น

2.2            ปัจจุบัน : การพัฒนาด้านการแพทย์ทำให้สาขา สามารถทำการวิเคราะห์โรคและปัญหาผู้ป่วยได้ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพรักษาผู้ป่วยโดยหลีกเลี่ยงการผ่าตัดใหญ่ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้การผ่าตัดได้เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงอย่างเช่นกรณีมีการตกเลือดในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นทั้งส่วน varices หรือ non-varices ก็สามารถหยุดเลือดได้ด้วยวิธี  sclerotherapy, local injection with adrenaline  หรือกรณีที่มีก้อนเนื้องอก (polyp) ก็สามารถตัดออกด้วยวิธี polypectomy หรือกรณีที่มีนิ่วในท่อน้ำดีก็สามารถรักษาด้วยการส่องกล้อง ERCP with sphincterotory และ stone extraction ได้ ตลอดจนการใส่ biliary หรือ pancreatic stent ในกรณีที่มีการตีบตันของท่อน้ำดีหรือท่อตับอ่อน  ในกรณีซึ่งไม่สามารถทำการตัดได้ และการทำ liver biopsy เพื่อการวินิจฉัยโรคตับ ตลอดจนการเจาะดูดหนอง และการฉีด ethanol ที่ก้อนมะเร็งตับ under ultrasound หรือ CT guide

2.3            โครงการพัฒนาการบริการในอนาคต : จัดตั้งศูนย์ส่องกล้องเพื่อทำทั้ง diagnostic และ therapeutic intervention ให้ครอบคลุมได้ทุกโรคใน GI tract , hepatobiliary และ pancreatic duct และการตรวจด้วยเครื่องมือ manometry  ให้การวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับ GI motility disorder

3.             ด้านการวิจัย

3.1      งานวิจัยในอดีตที่สำคัญ ๆ คือ

3.1.1                   เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ

3.1.1.1        ตับอักเสบบี :

-                   ในด้านระบาดวิทยา การดำเนินโรค และพยาธิสภาพ  การตอบสนองทางระบบอิมมูนในคนไทย

-                   การรักษาด้วย cychophosphamide

-                   การรักษาด้วย Interferon

-                   การรักษาด้วย lamivudine

3.1.1.2        ตับอักเสบซี : 

-                   การศึกษาทางด้านระบาดวิทยา การดำเนินโรค และพยาธิสภาพการตอบสนองต่อการรักษาด้วย interferon

-                   Genotype ของ HCV โรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับในคนไทย

3.1.1.3        ตับอักเสบจี :  ด้านระบาดวิทยา อุบัติการณ์ของการติดเชื้อไวรัสจีในผู้บริจาคเลือด และผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับที่เกิดร่วมกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และ/หรือ ซี

3.1.1.4        ตับอักเสบเอ : ด้านระบาดวิทยา อุบัติการณ์ และการตอบสนองทางระบบอิมมูน และผลของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ในผู้ที่เป็นพาหนะ ตับอักเสบเรื้อรังและตับแข็งที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี

3.1.2      เกี่ยวกับฝีในตับ ข้อมูลทางคลินิกของฝีในตับในผู้ป่วยโรงพยาบาลรามาธิบดี (ปี พ.ศ. 2512-2519)

3.1.3      พยาธิใบไม้ในตับ การศึกษาทางคลินิกเชื่อมโยงกับมะเร็งในท่อตับ และศึกษาระบาดวิทยาในชุมชน
                จังหวัดขอนแก่นร่วมกับภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3.1.4      มะเร็งตับ อุบัติการณ์ และการศึกษาทางคลินิกเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ

3.1.5                   พยาธิ์ลำไส้ และพยาธิ์ใบไม้ในปอด ในจังหวัดภาคใต้ และภาคกลาง เป็นการศึกษาจากทางระบาดวิทยาร่วมกับภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

3.2      งานวิจัยในปัจจุบัน

3.2.1                   Viral hepatitis

3.2.1.1        การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซีที่ไม่เคยได้รับการรักษามาก่อน ด้วยยาเพค-อินเตอร์เฟอรอน แอลฟ่า 2บี (PEG-interferon-a 2b) ร่วมกับยาไรบาไวริน (ribavirin)  เป็นเวลา 48 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับ ยาอินเตอร์เฟอรอน แอลฟ่า 2 บี ร่วมกับยาไรบาไวริน เป็นเวลา 48 สัปดาห์

3.2.1.2        การศึกษาด้าน HBV mutant ของผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี ทั้งในคนไทยก่อนและหลังการได้รับการรักษาด้วยยาต้าน ไวรัส เช่น lamivudine

3.2.1.3        ผลของแอลกอฮอล์ต่อ portal hypertension ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

3.2.2                   Hepatocellular carcinoma

3.2.2.1        ความสัมพันธ์ของการเกิดโรคมะเร็งตับ กับโรคตับอักเสบเรื้อรังและการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซีในผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลและพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

3.2.2.2        บทบาทของระดับ AFP, AFP-L3 และ PIVKA-II ในการวินิจฉัยและพยากรณ์มะเร็งตับปฐมภูมิ (hepatocellular carcinoma)

3.2.2.3        การรักษามะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma ด้วยวิธี TOCE, และการฉีด ethamol เข้าที่ก้อนมะเร็งตับทาง percutaneous

3.2.3                   Cirrhosis

3.2.3.1        Hemodynamic assessment ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่มีภาวะ portal hypertension

3.2.3.2        การศึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อในผู้ป่วยโรคตับแข็ง เช่น SBP, UGI hemorrhage ตลอดจนการให้ antibiotic prophylaxis

3.2.4                   Helicobacter pylori

3.2.4.1        ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารสัมพันธ์กับเชื้อ H.pylori ในคนไทย

3.2.4.2        ศึกษาเกี่ยวกับ Interleukin ในโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและแผลในกระเพาะอาหาร (gastric ulcer) ที่มีความสัมพันธ์กับเชื้อ H.pylori

3.2.4.3        ด้านวินิจฉัยการติดเชื้อ H.pylori  ด้วยวิธีต่าง ๆ เปรียบเทียบกับวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และด้วยวิธี tissue PCR

 

3.3  งานวิจัยในอนาคตและแนวโน้ม

3.3.1                   Viral hepatitis

3.3.1.1        ตับอักเสบซี หาความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานในคนไทย และการดำเนินโรคตลอดจนการรักษาด้วยยาใหม่ (PEG-IFN + ribavirin) เป็นต้น

3.3.2                   Hepatocellular carcinom

3.3.2.1        โครงการวิจัยเรื่อง “การตายในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย”  และ “การตายจากโรคมะเร็งตับและโรคตับเรื้อรัง”

3.3.2.2        Recombinant factor VIIa ในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่ได้รับการผ่าตัดตับ

 

3.3.3                   Dyspepsia and Helicobacter pylori

3.3.3.1        โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบและกลไกในการประเมินการใช้แนวทางเวชปฏิบัติเรื่องการวินิจฉัย

และรักษาผู้ป่วย Dyspepsia และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ Helicobacter pylori ในประเทศไทย” (Development of guideline evaluation system for the diagnosis and management of dyspepsia and Helicobacter pylori infection in Thailand)

 

แหล่งเงินทุนสนับสนุนได้มาจากวิจัยเหล่านี้ ได้แก่

1)            ทุนงบประมาณสนับสนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล

2)            ทุนสนับสนุนงานวิจัยเงินรายได้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

3)            Rochkefeller

4)            WHO

5)            ทุนจากสภาวิจัยแห่งชาติ

6)             ทุนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

7)            ทุนสนับสนุนการวิจัยกลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย

8)            ทุนจากเครือข่ายวิจัยร่วมสถาบัน กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย

9)            ทุนจากภาคเอกชน