การทำเอกสารพินัยกรรมชีวิต

การทำเอกสารพินัยกรรมชีวิต

 

การทำเอกสารพินัยกรรมชีวิต

  • พินัยกรรมชีวิต หมายถึงหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยื้อการตายในวาระสุดท้ายของตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ตามมาตรา 12 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550

 

  • พินัยกรรมชีวิตก็คือเอกสารหรือหนังสือที่เขียนแสดงความ ปรารถนาหรือเป็นการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถึงความต้องการในระยะสุดท้ายของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวิธีการรักษาในระยะสุดท้าย การจัดงานศพ การเลือกวิธีการรักษาในระยะสุดท้าย
     
  • หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือ หรือเอกสารก็ควรจะมีกระบวนการพูดคุยถึงเจตนาที่เปิดเผยให้บรรดาญาติมิตรของผู้ป่วยได้รับรู้ มีการสื่อสารระหว่างกัน ระหว่างผู้ป่วยกับญาติผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหมดความกังวล และ จากไปอย่างสงบได้ ร่วมทั้งให้ญาติ บุคลากรทางการแพทย์ ได้ปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ป่วยเองได้
     
  • กรณีที่ไม่ได้มีการตัดสินใจทำพินัยกรรมชีวิต แนะนำว่าให้พิจารณาเลือกผู้ที่สามารถตัดสินใจแทนผู้ป่วย โดยอาจบันทึกและแจ้งญาติคนอื่นๆให้รับทราบ ว่าเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ระยะท้าย ให้ทางแพทย์ พยาบาลสอบถามญาติผู้นี้ให้ตัดสินใจแทนผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยควรสื่อสารในความต้องการของตนเอง หรือพิจารณาเลือกญาติ ที่ผู้ป่วยคิดว่าญาติผู้นี้ มีความเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยได้
     
  • การทำพินัยกรรมชีวิต ทางโรงพยาบาลจะให้ผู้ป่วยเก็บเอกสารจริงไว้กับตนเอง และโรงพยาบาลเก็บสำเนาเอกสารไว้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เราจะแนะนำให้ทางญาติแสดงเอกสารพินัยกรรมชีวิตกับทางแพทย์ผู้รักษา
     
  • เอกสารพินัยกรรมชีวิตเมื่อเขียนแล้ว ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยเมื่อเปลี่ยนให้แจ้งให้ทางครอบครัวรับทราบและนำสำเนาเอกสารล่าสุดมอบให้ทางโรงพยาบาลทราบ
     
  • ผู้ป่วยสามารถสอบถามแพทย์ผู้รักษา หรือทีมการรักษาประคับประคองเดี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิตได้ โดยสามารถทำตั้งแต่ไม่มีอาการ หรือระหว่างได้รับการรักษา หรือเมื่ออาการโรคกำเริบได้