นิตยสารทุกฉบับ
รวมนิตยสาร
บทความประจำ
เลือกดูบทความจากทุกเล่ม
ค้นหาบทความ
ค้นหาจากหัวข้อ

ยาลดไขมัน

Volume
ฉบับที่ 54 เดือนตุลาคม 2567
Column
Rama RDU
Writer Name
ภญ.นันทพร เล็กพิทยา งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

    ก่่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก “ภาวะไขมันผิดปกติในเลือด” กันก่อน ซึ่งภาวะนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดแดงชั้นใน หนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน 


    “ยาลดไขมัน” จึงมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการรักษาผู้ที่มีระดับไขมันผิดปกติในเลือด เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่ยังไม่มีโรค แต่หากเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจะใช้เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยยาลดไขมันที่จำหน่ายในประเทศไทยในปัจจุบัน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ 

    ยากลุ่ม statins เช่น simvastatin atorvastatin เป็นต้น และยากลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ statins เช่น ยากลุ่ม fibrates ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors เป็นต้น โดยยาที่ถูกแนะนำให้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติคือ ยากลุ่ม statins แต่อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยากลุ่ม statins แล้วยังไม่ถึงเป้าหมายในการรักษาอาจมีการเพิ่มยากลุ่มอื่นตามความเหมาะสม หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับไขมันในเลือดตามเป้าหมาย แพทย์อาจมีการพิจารณาหยุดหรือลดขนาดยาลดไขมันได้ แต่ผู้ป่วยไม่ควรหยุดหรือลดขนาดยาด้วยตนเอง

ข้อควรระวัง ยากลุ่ม statins
    ยากลุ่ม statins อาจทำให้เกิดอาการทางกล้ามเนื้อ ตับอักเสบ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ควรระมัดระวังการใช้ยา simvastatin และ atorvastatin ร่วมกับยาที่สามารถยับยั้งการกำจัดยาดังกล่าว เช่น ยาฆ่าเชื้อราบางชนิด 

>

ข้อควรระวัง ยากลุ่มอื่น ๆ พบได้บ้าง แต่ไม่บ่อยเท่ายากลุ่ม statins

• ยากลุ่ม ezetimibe สามารถพบอาการทางกล้ามเนื้อได้
• ยากลุ่ม cholestyramine สามารถส่งผลให้เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในระบบทางเดินอาหาร ลดการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันและรบกวนการดูดซึมของยาชนิดอื่น ๆ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทานยาชนิดอื่น ๆ ก่อน cholestyramine อย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานไปแล้ว 4 ชั่วโมง 
• ยากลุ่ม PCSK9 inhibitors อาจเกิดอาการผิดปกติ ณ บริเวณที่ฉีดได้
• ยากลุ่ม bempedoic acid อาจทำให้เกิดอาการเก๊าต์ ไข้หวัด เส้นเอ็นฉีก หรือต่อมลูกหมากโตได้
• ยากลุ่ม fibrates ควรระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต โดยหากเป็นยา gemfibrozil จะไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกับยากลุ่ม statins และหากเป็นยา fenofibrate จะแนะนำให้รับประทานพร้อมอาหารเพื่อเพิ่มการดูดซึมของยา และการใช้ omega-3 จะส่งผลให้มีโอกาสเลือดออกง่ายกว่าปกติ

ข้อมูลอ้างอิงจาก : 
• ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติการบำบัดภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2567. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2567.
• ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติการบำบัดภาวะ ไขมัน ผิดปกติในเลือดเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: เอ-พลัส พริ้น; 2560
• Bansal AB, Cassagnol M. HMG-CoA reductase inhibitors.
• Sizar O, Nassereddin A, Talati R. Ezetimibe.
• Uptodate. Cholestyramine: Drug information [Internet]. [cited 2024 Aug 20]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/cholestyramine-drug-information?searc…
• Micromedex. [Internet]. [cited 2024 Aug 20]. Available from: https://www-micromedex solutions-com.ejournal.mahidol.ac.th/micromedex2/librarian/
• Roth EM, Davidson MH. PCSK9 inhibitors: mechanism of action, efficacy, and safety. Reviews in cardiovascular medicine. 2018 Jan 2;19.
• Uptodate. Fenofibrate: Drug information [Internet]. [cited 2024 Aug 20]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/fenofibrate-drug-information?search=f… =panel_search_result&selectedTitle=1%7E37&usage_type=panel&kp_tab=drug_general&display_rank=1#F22370318

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรูปแบบ PDF
เนื้อหาภายในฉบับที่ 54