อินโฟกราฟิกลัดคิวหมอ เรื่อง ลำไส้กลืนกัน คือ ภาวะที่ลำไส้บางส่วนเคลื่อนตัวเข้าไปในลำไส้ส่วนที่อยู่ปลายกว่า ส่วนใหญ่จะพบกับเด็ก 3 เดือน-2 ปี ต้องรีบรักษาอย่างทันท่วงที
หน้าแรก
โรคลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง - ลัดคิวหมอ
โรคลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง - ลัดคิวหมอ

โรค ลำไส้กลืนกัน

คืออะไร ?

สภาวะที่ลำไส้ส่วนต้นมุดเข้าโพรงของลำไส้ส่วนถัดไป หากลำไส้กลืนกันอยู่นานจะเกิดภาวะขาดเลือด แตกทะลุ รวมถึงติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจเสียชีวิตได้
❗**เด็ก 3 เดือน – 2 ปี เสี่ยงที่สุด**❗

⚠️บางคนอาจมีอาการซึมหรือชักร่วมด้วย⚠️

อาการ

  • ท้องอืด
    • อาเจียนมีสีเหลืองหรือเขียวของน้ำดีปนมา
  • ร้องไห้
    • ร้องเป็นพัก ๆ เวลาร้องจะงอเข่าทั้งสองข้าง
  • ปวดท้อง
    • กระสับกระส่ายมือเท้าเกร็ง
  • อจจาระ
    • มีเลือดคล้ำปนเมือก

การวินิจฉัย

  • การเอกซเรย์ ดูความผิดปกติของลำไส้
  • อัลตราซาวนด์ โดยใช้คลื่นเสียงตรวจสอบ
  • สวนแป้ง Barium ไปทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ใหญ่

การรักษา

  • สวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบรังสี ดันลำไส้ส่วนที่ถูกกลืนออกมา
  • การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – ลัดคิวหมอ – โรคลำไส้กลืนกัน ภัยเงียบของลูกน้อยที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง 16/04/67 | by RAMA Channel

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.ชลศักดิ์ ถิรภัทรพันธ์

สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์

ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บริการด้านอื่น ๆ ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/
Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel
Line: https://page.line.me/ramathibodi