กระดูกคอเสื่อม,โรคกระดูกคอเสื่อม,สาเหตุกระดูกคอเสื่อม,อันตรายของกระดูกคอเสื่อม,วิธีรักษากระดูกคอเสื่อม
หน้าแรก
กระดูกคอเสื่อม - ลัดคิวหมอ 18/09/66 | by RAMA Channel
กระดูกคอเสื่อม - ลัดคิวหมอ 18/09/66 | by RAMA Channel

โรคกระดูกคอเสื่อม

  • อาการไม่ทุเลาลงภายใน 2-3 วัน
  • ปวดรุนแรง ฉับพลัน แบบไม่ปกติ
  • ปวดไม่หายขาดมานานกว่า 3 เดือน
  • ปวดร่วมกับร้าวลงแขน แขนชา อ่อนแรง
  • มีปัญหาในการเดิน เช่น ทรงตัวไม่ดี ขาเกร็งแข็ง
  • มีปัญหาในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ

ระดับไหนอันตราย !

  1. ระดับที่ 1 ยังไม่กดทับเส้นประสาทและไขสันหลัง มีอาการปวดเมื่อย
  2. ระดับที่ 2 กดทับเส้นประสาทคอ ปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทอาการเป็น ๆ หาย ๆ ชาและอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ ปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
  3. ระดับที่ 3 กดทับไขสันหลัง ปวดเกร็งบริเวณลำตัว การทรงตัวและใช้งานมือลำบาก

การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุน

  1. ท่าเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของคอ นั่งตัวตรง เคลื่อนไหวคอในทิศก้ม เงย เอียง และหมุนคอในแต่ละทิศช้า ๆ จนรู้สึกตึง
    ทิศละ 5-10 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน
  2. ท่ายืดกล้ามเนื้อคอทางด้านหลัง นั่งตัวตรง มือประสานกันบริเวณท้ายทอยค่อย ๆ ก้มศีรษะลงช้า ๆ จนรู้สึกตึงหลังคอ
    ทำค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง 10 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน
  3. ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าอก ยืนตัวตรง กางแขนที่จะยืดขึ้นระดับหัวไหล่ ประมาณ 90° หรือกางแขนยกขึ้นประมาณ 120° ข้อศอกงอ 90° แขนวางราบกับผนัง จากนั้นก้าวขาข้างหนึ่งไปด้านหน้าและบิดตัวไปฝั่งตรงข้ามให้รู้สึกตึงบริเวณหน้าไหล่
    ทำค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง 10 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน
  4. ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่า นั่งตัวตรง แขนข้างหนึ่งจับขอบที่นั่ง ก้มศีรษะและเอียงคอไปฝั่งตรงข้าม พร้อมกับหันศีรษะไปฝั่งเดียวกับข้างที่จะยืดใช้มืออีกข้างจับศีรษะ ออกแรงดึงช้า ๆ ให้รู้สึกตึงบริเวณบ่า
    ทำค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง 10 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.เตชิต จิระวิชิตชัย

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล