ใหลตาย_บทความ
หน้าแรก
“โรคใหลตาย” ความตายที่คนตายไม่รู้ตัว
“โรคใหลตาย” ความตายที่คนตายไม่รู้ตัว

นับเป็นเดือนแห่งการสูญเสียของคนในวงการบันเทิง และหนึ่งในนั้นก็คือดาวตลก “แวว จ๊กมก” น้องสาวตลกรุ่นใหญ่หม่ำ จ๊กมก ที่เสียชีวิตจากโรคที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเป็น “โรคใหลตาย” ในทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในแถบภาคอีสาน ความน่ากลัวของโรคนี้คือการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน ที่ผู้ตายไม่มีโอกาสรู้ตัวมาก่อนเลย

โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญคือ

ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด ปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคมี 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด

กลไกการเกิดภาวะโรคใหลตาย

อธิบายได้ดังนี้ โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม เป็นต้น ซึ่งต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้นพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์ คนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาหารการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคใหลตาย

การเกิดภาวะใหลตายเกี่ยวข้องกับการเต้นระริกของหัวใจ

ที่เราพบในคนไข้ใหลตายนั้นเกิดจากหัวใจห้องล่าง ซึ่งปกติเป็นปั๊มหลักคอยบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อประตูหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้มีการเต้นไม่สม่ำเสมอของหัวใจห้องล่าง เกิดไฟฟ้ามากระตุ้นให้เป็นจุดเล็กๆ และแทนที่หัวใจห้องล่างจะบีบตัวโครมๆ เพื่อเอาเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ก็บีบตัวไม่ได้และสั่นระริกๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ ภายใน 30 วินาทีจะเป็นลมหมดสติ 4 นาทีต่อมาถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นสมองจะตาย และภายใน 6-7 นาที ถ้ายังไม่หายก็จะเสียชีวิตในที่สุด

อาการแสดงของภาวะเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ

คือเกิดการเกร็งของแขนและขา หายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม บางรายปัสสาวะและอุจจาระราด เพราะสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะมีใบหน้าและริมฝีปากเขียวคล้ำ จากนั้นจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานเป็นปกติ เพื่อหยุด BF ให้เร็วที่สุด แต่บางครั้ง BF ก็อาจหยุดเองได้และผู้ป่วยสามารถรอดตายได้เช่นกัน แต่สมองอาจพิการถาวรหากขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน

การรักษาโรคใหลตายในทางการแพทย์มี 2 วิธี

ได้แก่ การใช้ยาและการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ โดยในการให้ยานั้นขึ้นอยู่กับอาการโรคใหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน หากรุนแรงมาก การใช้ยารักษาก็อาจไม่ได้ผล และต้องใช้วิธีฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจเข้าไปในร่างกายแทน

คนไข้ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคใหลตายในวันปกติจะไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น แต่ในวันร้ายคืนร้าย กล่าวคือ ในวันพักผ่อนน้อย ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด รวมถึงยาบางอย่างหรือในวันที่ไม่สบาย อาจทำให้อาการใหลตายเกิดขึ้นและเสียชีวิตกระทันหันในวันเหล่านั้น

วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ

การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจให้ผู้ที่เคยตกอยู่ในภาวะใหลตายสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ การดูแลหลังการรักษานั้นต้องหลีกเลี่ยงการกดบริเวณหัวไหล่ ไหปลาร้าข้างที่ใส่เครื่อง เพราะอาจทำให้สายหัก ทั้งนี้ด้านอาหารการกินยังต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน รับประทานอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย และรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารเพียงพอต่อร่างกายโดยเฉพาะวิตามินบี ที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือดอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ถั่วดำ ถั่วแระ เต้าหู้ เป็นต้น

การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะใหลตาย

คือจับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาลหรือรอคนมาช่วยให้ประเมินผู้ป่วย หากพบว่าไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัวเป็นชุด ในความถี่ราว 100 ครั้งต่อนาทีโดยไม่หยุดจนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว และไม่ควรเสียเวลาโดยไม่จำเป็น เช่น งัดปากคนไข้ด้วยของแข็งเพราะอาจเป็นอันตราย และให้ระลึกเสมอว่าคนที่เป็นโรคใหลตายอาจจะมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่อาจเป็นเหตุให้หมดสติได้เช่นกัน

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.สิรินทร์ อภิญาสวัสดิ์
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Heart Story EP.7 | โรคใหลตาย | (1/3)” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
บทความสุขภาพ
16-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
ปัญหากลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
บทความสุขภาพ
15-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
บทความสุขภาพ
08-05-2024

7

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

9