5โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
หน้าแรก
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ตายฉับพลัน อันตรายกว่าที่คิด
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ตายฉับพลัน อันตรายกว่าที่คิด

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ มีสาเหตุหลักคือ

การสะสมไขมันของเส้นเลือด เมื่อมีมากเกินไปไขมันดังกล่าวจะไปปิดทางเดินของเลือดจนมิดแล้วส่งผลต่อชีวิตในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน เป็นต้น

โดยในเรื่องของไขมันที่สูงนั้นเกิดจากพฤติกรรมการทานอาหารโดยตรง และการไม่ออกกำลังกายตามมา ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มีคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว และความเครียดก็ส่งผลร่วมด้วย

อาการที่บ่งชี้ถึงการเป็นโรคคือ

เจ็บแน่นที่หน้าอกด้านซ้าย เหมือนมีอะไรแน่นๆ มากดทับ และมักจะเกิดตอนออกแรง หากไม่ได้เกิดตอนอกแรงอาจไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ แต่เป็นเรื่องของกล้ามเนื้อหัวใจที่ไม่ได้เป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้ยืนยันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจเลย

นอกจากอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เป็นอาการบ่งชี้ ยังสามารถสังเกตได้เวลาออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่นๆ หากเคยทำได้มากกว่าปัจจุบัน เช่น เคยวิ่งได้ 100 เมตรแต่ปัจจุบันวิ่งได้แค่ 50 เมตรก็เหนื่อยแล้ว หรือรู้สึกเจ็บ ก็เป็นอีกหนึ่งอาการบ่งชี้ถึงการเกิดโรค

การวินิจฉัยของแพทย์

แพทย์จะทำการซักประวัติก่อน แต่ส่วนมากจะไม่ค่อยเห็นความผิดปกติเท่าไรในโรคนี้ นอกจากในคนที่มีปริมาณไขมันสูง หรือมีอาการน้ำท่วมปอด หลักๆ เลยคือการซักประวัติ และการพาไปเดินสายพาน

โดยคนไข้โรคเส้นเลือดหัวใจตีบสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือแบบฉับพลันและแบบค่อยเป็นค่อยไป หากมีอาการแบบฉับพลันจะต้องรีบส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากสามารถวินัจฉัยได้แพทย์จะทำบอลลูนหรือสวนหัวใจ แต่หากเป็นผู้ป่วยแบบค่อยเป็นค่อยไปจะทำการให้ยาก่อน จนกระทั่งเห็นว่าอาการเริ่มหนักขึ้นคือไม่สามารถออกแรงมากได้ หรือออกแรงนิดหน่อยแล้วมีอาการ แพทย์ก็จะทำบอลลูนหรือสวนหัวใจ

การรักษาโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

คือใส่สายเข้าไปแล้วใส่บอลลูนขยายบริเวณที่เส้นเลือดตีบ โดยการดันไขมันที่อุดตันอยู่นั้นให้แนบติดไปกับผนังของเส้นเลือด ซึ่งจะมีการใส่ขดลวดร่วมด้วยแล้วคาขดลวดทิ้งไว้ที่บริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันการกลับมาอุดตันอีก

วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

คือการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด ได้แก่ เลิกบุหรี่ ลดไขมันโดยการควบคุมพฤติกรรมการทานอาหารร่วมกับออกกำลังกาย ควบคุมเบาหวาน ลดน้ำหนัก และสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าวก็ต้องปฏิบัติตามนี้ด้วยเช่นกันอย่างเคร่งครัด เพิ่มเติมคือห้ามหยุดทานยาที่แพทย์ให้ เพราะขดลวดที่ใส่เข้าไปเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย จึงต้องทานยาเพื่อไม่ให้เกิดการอุดตันของขดลวดนั้น หากลืมทานยาร่างกายจะทำการส่งเกล็ดเลือดไปต้านสิ่งแปลกปลอมนี้ เหมือนเป็นการซ่อมแซมตัวเอง และเกิดการอุดตันซ้ำอีกครั้ง โดยยาที่แพทย์สั่งจะมี 2 ตัว ตัวหนึ่งทานในระยเวลา 1 ปีจากนั้นจะเหลือยาเพียงตัวเดียวที่ต้องทาน

นอกจากนี้การออกกำลังกายในผู้ป่วยสามารถทำได้และเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยในการสังเกตอาการของตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่าไม่สามารถออกแรงได้เหมือนเดิม อาจเป็นไปได้ว่าเส้นเลือดหัวใจกลับมาตีบตันอีกครั้ง

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | ลัดคิวหมอ 1 หลอดเลือดหัวใจตีบ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
บทความสุขภาพ
08-05-2024

3

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

5

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

5

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

14