ฝ้า
หน้าแรก
เตือนภัยครีมทาฝ้า อันตรายกว่าที่คิด
เตือนภัยครีมทาฝ้า อันตรายกว่าที่คิด

รู้จักกับครีมทาฝ้า

ครีมทาฝ้าที่ขายตามท้องตลาดบางชนิดมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการฝ้าได้ อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการรักษาฝ้าอาจมีจำกัดซึ่งแตกต่างกับยารักษาฝ้า นอกจากนี้ยังมีครีมที่ขายตามท้องตลาดบางชนิดที่อาจมีอันตรายต่อผิวหนังได้เช่นกันโดยเฉพาะครีมที่ไม่ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา  ผู้บริโภคจำเป็นต้องรู้จักแยกแยะแล้วเลือกใช้ให้ปลอดภัยต่อผิวหนัง ครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับครีมรักษาฝ้าและวิธีการเลือกใช้ให้เหมาะสม รวมถึงผลกระทบของครีมอันตรายที่หลายท่านอาจไม่เคยทราบ

ครีมทาฝ้าและยารักษาฝ้าต่างกันอย่างไร?

  1. ครีมรักษาฝ้าที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา จะมีสารออกฤทธิ์คล้ายยาทาฝ้า แต่มีความความเข้มข้นที่จำกัด เพื่อให้ปลอดภัยต่อการซื้อใช้เอง ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาน้อยกว่ายารักษาฝ้า
  2. ครีมรักษาฝ้า สามารถซื้อใช้ได้เอง แต่ยารักษาฝ้าต้องใช้ตามแพทย์สั่งและมีการตรวจติดตามอาการและผลข้างเคียง จึงจะปลอดภัย
  3. ครีมรักษาฝ้าชนิดที่ไม่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา อาจมีสารออกฤทธิ์คล้ายตัวยาความเข้มข้นสูง หรือมีสารต้องห้าม เช่น ปรอท สเตียรอยด์ เป็นต้น เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจมีผลข้างเคียงต่อผิวหนังได้

ครีมทาฝ้าที่ผ่าน อย.

ครีมรักษาฝ้าที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา มีคุณสมบัติช่วยลดการสร้างเม็ดสีได้ โดยทางองค์การอาหารและยาจะกำหนดความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ไว้ไม่ให้เป็นอันตราย จึงสามารถซื้อใช้ได้เองอย่างปลอดภัยเป็นระยะเวลานาน จัดเป็นกลุ่มเครื่องสำอาง โดยผลการรักษาจะไม่ดีเท่ากับตัวยารักษาฝ้าที่จ่ายโดยแพทย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้แล้วได้ผลบ้าง แต่ไม่ได้ผลดีที่สุด

ครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย.

ครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย. คือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านการรับรองโดย อย. ทำให้ส่วนผสมที่อยู่ในตัวครีมอาจเป็นอันตรายได้ เช่น การผสมตัวยาเข้าไปในครีม หรือการใช้สารต้องห้ามผสมลงไปไดั เป็นต้น  การทาครีมดังกล่าวเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนังได้

อันตรายของครีมทาฝ้าที่ไม่ผ่าน อย

  • เพิ่มโอกาสการติดเชื้อของผิวหนัง เช่น รา แบคทีเรีย ไวรัส เป็นต้น
  • ผิวบางจนเห็นเส้นเลือดชัดเจน
  • สีผิวขาวเกินในบางบริเวณ ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ
  • เกิดรอยดำถาวร

ข้อควรปฏิบัติในผู้ที่เป็นฝ้า

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดด และปกป้องผิวหนังจากแสงแดด เช่น กางร่ม สวมหมวก การทาสารกันแดด เป็นต้น
  2. อาจดูแลเบื้องต้นโดยการทาครีมรักษาฝ้าที่ผ่าน อย.
  3. พบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ครีมที่ไม่ผ่าน อย.

 

ข้อมูลโดย
รศ. นพ.วาสนภ วชิรมน
ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “โรคฝ้ากับการรักษาที่ไม่มีวันจบ : พบหมอรามา ช่วง Meet The Expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

6

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

6

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
บทความสุขภาพ
25-04-2024

6

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

5