โรคที่มากับนกพิราบ
หน้าแรก
โรคที่มากับนกพิราบ อันตรายร้ายแรงถึงสมอง
โรคที่มากับนกพิราบ อันตรายร้ายแรงถึงสมอง

จากข่าวที่กำลังเป็นกระแสร้อนแรง เมื่อมีเจ้าของบ้านหลังหนึ่งค่อยให้อาหารนกพิราบอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีนกพิราบบินมาหาอาหารที่บ้านหลังนี้เป็นประจำทั้งยังทิ้งมูลเอาไว้เกลื่อนกลาด ส่งกลิ่นเหม็นและสร้างความเดือดร้อนให้กับเพื่อนบ้านอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้นโรคพิราบยังเป็นพาหะนำโรคบางอย่างมาสู่คนได้อีกด้วย ซึ่งทางเราก็ได้นำเอาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมาให้ทุกคนได้ทำการศึกษาร่วมกันแล้ว ดังนี้

โรคที่มากับนกพิราบนั้นมาจาก

เชื้อราที่อยู่ในมูลของนกพิราบ เรียกเชื้อราชนิดนี้ว่า “เชื้อคริปโตคอคคัส” เชื้อดังกล่าวเป็นที่มาของโรคต่างๆ มากมาย และสามารถติดเชื้อในคนได้โดยการสัมผัสมูลนกพิราบ หรือจากการหายใจและสูดดมเชื้อ ดังกล่าวเข้าไปในร่างกาย เมื่อเกิดการสัมผัสเชื้อราคริปโตคอคคัสจะเกิดการฟุ้งกระจาย และหากสูดดมเข้าไปในร่างกายจะทำให้ติดเชื้อที่ปอด ทั้งยังสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น สมอง ได้ด้วย  โดยส่วนมากเชื้อชนิดนี้จะติดต่อในคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือในคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอตั้งแต่กำเนิด ขณะเดียวกันในคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน แต่เพราะมีภูมิต้านทานโรคที่สมบูรณ์ก็อาจช่วยควบคุมไม่ให้เกิดโรคได้ นอกจากนี้ในนกพิราบยังมีแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “คลามัยเดีย” ที่ทำให้เกิดอาการปอดบวมได้ด้วย

ข้อควรระวังการติดเชื้อในนกพิราบ

ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ได้รับยากดภูมิ หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอมาแต่กำเนิด ไม่ควรเข้าไปใกล้นกพิราบ เพราะอาจได้รับเชื้อในมูลเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ได้ตั้งใจ สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การเข้าใกล้นกพิราบควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันเชื้อโรค

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.นพพร อภิวัฒนากุล
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “สื่อสาร 05 09 59 ภัยร้ายอันตรายจากนกพิราบ” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5