ลดน้ำหนัก
หน้าแรก
ลดน้ำหนักด้วยวิธี “ผ่าตัดกระเพาะ” ทำได้จริงหรือ?
ลดน้ำหนักด้วยวิธี “ผ่าตัดกระเพาะ” ทำได้จริงหรือ?

โรคอ้วนเป็นอีกหนึ่งโรคที่ก่อให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา ถือเป็นปัญหาสุขภาพลำดับต้นๆ ที่หลายคนพยายามรักษาด้วยวิธีการต่างๆเพื่อสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี โดยปัจจุบันนี้การลดน้ำหนักยังสามารถทำได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกาย รวมไปถึงการผ่าตัดกระเพาะอาหารที่หลายคนกำลังให้ความสนใจ

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

เป็นอีกหนึ่งวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผล แต่ต้องอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ ซึ่งผู้ที่เข้ารับการรักษาจะต้องเป็นโรคอ้วนและมีคุณลักษณะตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ วัดจากค่า BMI เป็นหลัก สามารถทำได้จริงและเป็นวิธีการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพอีกหนึ่งวิธี กระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งก่อนหน้าที่จะเข้ารับการผ่าตัดคนไข้จะต้องอยู่ในระบบการลดน้ำหนักภายใต้การดูแลของแพทย์มาก่อน กล่าวคือคนไข้ที่จะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้นั้น จะต้องผ่านการลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหารหรือการออกกำลังกายภายใต้การดูแลอย่างเป็นระบบของแพทย์แล้วแต่ไม่เป็นผล จึงจะสามารถเข้ารับการผ่าตัดกระเพาะอาหารได้

เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการผ่าตัด

คือผู้ป่วยที่มีค่า BMI เกิน 37 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีอายุอยู่ในช่วง 16-60 ปีโดยประมาณ ซึ่งเป็นช่วงอายุที่คนไข้มีแนวโน้มว่าจะได้ประโยชน์จากการผ่าตัด และคนไข้จะต้องผ่านการลดน้ำหนักด้วยตนเองมาแล้วแต่ไม่เป็นผล โดยในการลดน้ำหนักด้วยตนเองคือการลดน้ำหนักตามระบบที่อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เป็นระยะเวลา 6 เดือน จึงจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า ทั้งนี้ยังต้องพิจารณาอีกว่าคนไข้มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เพราะบางโรคที่เป็นอยู่ก่อนแล้วอาจไม่เหมาะสมต่อการเข้ารับการผ่าตัด

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ปรีดา สัมฤทธิ์ประดิษฐ์
สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤตทางศัลยกรรม ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การผ่าตัดกระเพาะอาหารรักษาโรคอ้วน : พบหมอรามา ช่วง Meet The expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5