อัมพาต
หน้าแรก
ไม่อยากป่วยเป็น “อัมพฤกษ์-อัมพาต” ตอนแก่ ต้องหมั่นดูแลตัวเอง
ไม่อยากป่วยเป็น “อัมพฤกษ์-อัมพาต” ตอนแก่ ต้องหมั่นดูแลตัวเอง

โรคอัมพฤกษ์-อัมพาต เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความพิการแขนขาอ่อนแรง ช่วยเหลือตนเองได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย หากรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต จึงเป็นอาการป่วยที่หลายคนกลัว แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้โดยดูแลตัวเองให้ดีเพื่อลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคลงได้

อัมพฤกษ์-อัมพาต คืออะไร?

อัมพฤกษ์-อัมพาต คือ โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นอาการผิดปกติของระบบประสาทที่เกิดขึ้นทันทีทันใดจากเนื้อสมองขาดเลือด หรือเลือดไปเลี้ยงได้น้อยลงจากหลอดเลือดแดงที่ ตีบ, อุดตัน หรือ แตก ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลาย โดยมีอาการแสดงอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง ส่วนในรายที่มีภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว (transient ischemic attack: TIA) จะมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นชั่วขณะแล้วหายไปเองภายใน 24 ชั่วโมง หรืออาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ซึ่งโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้นจะมีอาการมากหรือน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับตำแหน่งและบริเวณของสมองที่ขาดเลือดไปเลี้ยง

อาการแสดงของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)

อาการของโรคหลอดเลือดสมองที่พบ ได้แก่ หน้าเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก การมองเห็นผิดปกติ  เวียนศีรษะ เดินเซ ซึมลง หรือปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ประเภทและสาเหตุของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) ได้แก่

1.หลอดเลือดสมองตีบ,อุดตัน

คือ หลอดเลือดแดงที่นำเลือดไปเลี้ยงสมองมีการตีบหรือมีการอุดตัน จะส่งผลทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นผลให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น สูงอายุ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง มีภาวะโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ส่วนสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบจะเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

2. หลอดเลือดสมองแตก

คือ อาการที่หลอดเลือดแดงในสมองฉีกขาด ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง  ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น ภาวะความดันโลหิตสูง,หลอดเลือดสมองโป่งพอง, หลอดเลือดผิดปกติแต่กำเนิด เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  1. ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น (มักพบในคนวัย 45 ปีขึ้นไป) พันธุกรรม เพศ (มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง) เชื้อชาติ เป็นต้น
  2. ปัจจัยที่ควบคุมได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน นอนกรน เป็นต้น

การสังเกตเบื้องต้น

อัมพฤกษ์-อัมพาต โรคหลอดเลือดสมองถือเป็นภัยเงียบ เพราะมีผู้ป่วยหลายคนที่กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยก็มีอาการหนักแล้ว ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเอง ว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่ ได้แก่ หน้าเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง พูดไม่ชัด พูดไม่ออก การมองเห็นผิดปกติ  เวียนศีรษะ เดินเซ ซึมลง หรือปวดศีรษะรุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ถ้ามีอาการใดอาการหนึ่งแล้วอย่ารีรอ ควรรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที เพราะ Time is brain  เวลา คือ สมอง มาโรงพยาบาลเร็ว รักษาเร็วช่วยลดความพิการ การเสียชีวิตลงได้

การป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  2. รักษาน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  4. งดดื่มสุรา
  5. งดและเลิกสูบบุหรี่
  6. บริโภคอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม
  7. ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
  8. หากเป็นผู้ป่วยโรคที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหลอดสมอง เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคอ้วน เป็นต้น ต้องรับประทานยาและพบหมอตามนัด
  9. เรียนรู้สัญญาณเตือนของการเกิดอัมพฤกษ์-อัมพาต (โรคหลอดเลือดสมอง)
  10. หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

 

ข้อมูลจาก
พ.ว.นลินรัตน์ ทองนิรันดร์
หัวหน้าหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฝ่ายการพยาบาล
คณะแพทยศาสตร์โงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ทัน “โรคหลอดเลือดสมอง”เพื่อป้องกัน อัมพฤกษ์-อัมพาต : Rama Square ช่วง นัด กับ Nurse” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

5