มนุษย์ชอบมโนบนโลกโซเชี่ยล คือ อาการหลอกตัวเอง หรือไม่?
หน้าแรก
มนุษย์ชอบมโนบนโลกโซเชี่ยล คือการหลอกตัวเองหรือไม่?

มนุษย์ชอบมโนบนโลกโซเชี่ยล คือการหลอกตัวเองหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การหลอกตัวเอง เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อกลุ่มอาการไม่ได้บ่งบอกถึงว่าเป็นโรคอะไร

อาการที่เข้าข่ายว่าเป็นกลุ่ม อาการหลอกตัวเอง ที่เราสังเกตได้คือ

พูดไม่ตรงตามความเป็นจริง เรื่องราวที่พูดมีสีสันเกินจริงเพื่อเรียกร้องความสนใจ จะพูดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ หรือสร้างตัวตนขึ้นมาพรีเซนต์ตัวเองในสื่อโซเชียลมีเดียก็มีให้เห็นได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาประเมินแยกกันอีกที เพราะโดยทั่วไปเราก็จะโพสต์เรื่องจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง สลับกันไปอยู่แล้ว ส่วนคนที่พูดหรือโพสต์เรื่องราวที่ไม่จริงเยอะๆ บ่อยๆ ก็อาจจะต้องมาประเมินด้วยเช่นกันว่าเข้าข่ายเสี่ยงมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยหรือแค่โพสต์เพราะความสนุกเท่านั้น

พฤติกรรมการโกหกหลอกตัวเองเหล่านี้

ปัจจุบันยังมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย แต่พอจะสรุปได้ว่า น่าจะเกิดจากการที่ตัวเองมีชีวิตที่ไม่น่าสนใจ ไม่มีสีสัน อยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็เลยใช้การโกหกขึ้นมาเพื่อให้ชดเชยความรู้สึกเหล่านั้น

การวินิจฉัยในทางการแพทย์

จิตแพทย์จะทำการประเมินว่าการพูดโกหกเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เป็นมานานแค่ไหน และมีสิ่งที่เขาได้ประโยชน์จากการพูดโกหกไหม รวมถึงต้องประเมินโรคทางจิตเวชอย่างอื่นที่เป็นไปได้ด้วย เช่น อาการของโรคหลงผิด ไม่อยู่กับความเป็นจริง เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดโกหกแบบไม่ติดใจสงสัยอะไร หรือโรคบุคลิกภาพผิดปกติบางอย่างที่อาจจะมีการพูดเกินจริงจนเหมือนโกหก ก็ต้องมีการวินิจฉัยแยกโรคอีกทีนึงด้วย

ในระยะยาวคนเหล่านี้หลายๆ คน เมื่อโกหกมากๆ จะเกิดความรู้สึกผิด

รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่ตัวเองทำลงไปเช่นกัน อาจทำให้เกิดภาวะทางจิตเวชได้ โดยจะรักษาได้ด้วยการประเมินสอบถามอย่างที่กล่าวไปข้างต้น และการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดต่างๆ เพื่อให้คนไข้มีจิตใจที่ดีขึ้นเป็นปกติ

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.ธนิดา ตันตระรุ่งโรจน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตาม Rama Channel เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ 
RAMA Channel

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดข้อเท้าสะสม เสี่ยง! ข้อเท้าเสื่อมก่อนวัย
อาการปวดข้อเท้าเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของข้อเท้าเสื่อมก่อนวัย หากไม่ดูแลอาจกระทบการเดินและการใช้ชีวิต รู้วิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง
บทความสุขภาพ
30-06-2025

1

หยุด! อาการปวดส้นเท้า
อาการปวดส้นเท้าอาจเกิดจากรองช้ำหรือการใช้งานเท้าหนักเกินไป หากไม่ดูแลอาจเรื้อรัง รู้วิธีป้องกันและบรรเทาอาการอย่างถูกต้อง
บทความสุขภาพ
26-06-2025

3

มะเร็งลำไส้ โรคร้ายที่ไม่เลือกวัย
มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ทุกวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ อาการแอบแฝง ตรวจพบเร็วช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต รู้ทันสัญญาณเตือนและแนวทางป้องกัน
บทความสุขภาพ
25-06-2025

5

Get to know “H. pylori” before becoming a victim of stomach cancer
เชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) อาจดูธรรมดาแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งกระเพาะอาหาร หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาและป้องกันได้ทัน
บทความสุขภาพ
23-06-2025

1

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL