15-01
หน้าแรก
มนุษย์ชอบมโนบนโลกโซเชี่ยล คือการหลอกตัวเองหรือไม่?
มนุษย์ชอบมโนบนโลกโซเชี่ยล คือการหลอกตัวเองหรือไม่?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า การหลอกตัวเอง เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อกลุ่มอาการไม่ได้บ่งบอกถึงว่าเป็นโรคอะไร

อาการที่เข้าข่ายว่าเป็นกลุ่มอาการหลอกตัวเองที่เราสังเกตได้คือ

พูดไม่ตรงตามความเป็นจริง เรื่องราวที่พูดมีสีสันเกินจริงเพื่อเรียกร้องความสนใจ จะพูดเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ หน้าที่การงาน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ หรือสร้างตัวตนขึ้นมาพรีเซนต์ตัวเองในสื่อโซเชียลมีเดียก็มีให้เห็นได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมาประเมินแยกกันอีกที เพราะโดยทั่วไปเราก็จะโพสต์เรื่องจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง สลับกันไปอยู่แล้ว ส่วนคนที่พูดหรือโพสต์เรื่องราวที่ไม่จริงเยอะๆ บ่อยๆ ก็อาจจะต้องมาประเมินด้วยเช่นกันว่าเข้าข่ายเสี่ยงมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วยหรือแค่โพสต์เพราะความสนุกเท่านั้น

พฤติกรรมการโกหกหลอกตัวเองเหล่านี้

ปัจจุบันยังมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย แต่พอจะสรุปได้ว่า น่าจะเกิดจากการที่ตัวเองมีชีวิตที่ไม่น่าสนใจ ไม่มีสีสัน อยากเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็เลยใช้การโกหกขึ้นมาเพื่อให้ชดเชยความรู้สึกเหล่านั้น

การวินิจฉัยในทางการแพทย์

จิตแพทย์จะทำการประเมินว่าการพูดโกหกเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เป็นมานานแค่ไหน และมีสิ่งที่เขาได้ประโยชน์จากการพูดโกหกไหม รวมถึงต้องประเมินโรคทางจิตเวชอย่างอื่นที่เป็นไปได้ด้วย เช่น อาการของโรคหลงผิด ไม่อยู่กับความเป็นจริง เชื่อในสิ่งที่ตัวเองพูดโกหกแบบไม่ติดใจสงสัยอะไร หรือโรคบุคลิกภาพผิดปกติบางอย่างที่อาจจะมีการพูดเกินจริงจนเหมือนโกหก ก็ต้องมีการวินิจฉัยแยกโรคอีกทีนึงด้วย

ในระยะยาวคนเหล่านี้หลายๆ คน เมื่อโกหกมากๆ จะเกิดความรู้สึกผิด

รู้สึกไม่ดีกับสิ่งที่ตัวเองทำลงไปเช่นกัน อาจทำให้เกิดภาวะทางจิตเวชได้ โดยจะรักษาได้ด้วยการประเมินสอบถามอย่างที่กล่าวไปข้างต้น และการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดต่างๆ เพื่อให้คนไข้มีจิตใจที่ดีขึ้นเป็นปกติ

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.ธนิดา ตันตระรุ่งโรจน์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5