smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
หน้าแรก
Smiling Depression ยิ้มง่ายแต่ภายในแตกสลาย
Smiling Depression ยิ้มง่ายแต่ภายในแตกสลาย

โรคซึมเศร้า กลายเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่พบได้สูงขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับผลกระทบทางด้านความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม จนทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีสัญญาณบ่งบอกถึงความเศร้า ความคิดเชิงลบต่าง ๆ ที่อยู่ภายในจิตใจ มี รอยยิ้ม บนใบหน้าเหมือนปกติ หรือที่เรียกว่า อาการ Smiling Depression หนึ่งในอาการภาวะซึมเศร้าที่อันตราย 

Smiling Depression เป็นลักษณะอาการอย่างหนึ่งของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่ใช้กล่าวถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีอารมณ์เศร้า ไม่มีความสุข รู้สึกไร้ค่า แต่บางครั้งไม่สามารถแสดงออกมา คิดว่าการเป็น โรคซึมเศร้า นั้นดูอ่อนแอ กลัวว่าตนเองจะเป็นภาระผู้อื่น หรือพยายามที่จะรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ ให้ได้ตามปกติ ให้มี รอยยิ้ม บนใบหน้าแต่ก็ต้องใช้พลังอย่างมาก จึงทำให้ผู้ป่วยที่มีอาการนี้จะฝืน ยิ้ม หรือแสร้งว่าตัวเองมีความสุขต่อหน้าผู้คนหรือบุคคลอื่น ๆ มาดูกันว่าอาการของโรคนี้อันตรายและน่าเป็นห่วงอย่างไรบ้างได้ที่ – Smiling Depression กลไกการป้องกันผู้ป่วยซึมเศร้า

อาการ

  • สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติแต่ข้างในรู้สึกเศร้า
  • หงุดหงิดง่าย กระวนกระวายใจ
  • ไม่อยากทำกิจกรรมที่ชอบ ทำแล้วไม่สนุกเหมือนเคย หรือต้องใช้พลังอย่างมากในการทำ
  • รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ คิดเกี่ยวกับการตาย หรือพยายามทำร้ายตนเอง
  • อ่อนเพลีย
  • ไม่อยากพบเจอผู้คน หรือต้องใช้พลังอย่างมาก
  • ไม่อยากอาหารหรือกินมากเพื่อระบายความเครียด
  • ต้องพึ่งสารเสพติด เช่น บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
  • สมาธิความจำลดลง

สาเหตุของอาการ Smiling Depression

  • ไม่อยากเป็นภาระหรือทำให้คนรอบข้างรู้สึกไม่ดี
  • ถูกคาดหวังจากคนรอบข้างหรือครอบครัวมากเกินไป
  • ไม่ชอบแสดงความรู้สึกของตัวเองให้ผู้อื่นได้รับรู้
  • ไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
  • ถูกตัดสินจากผู้อื่นหรือครอบครัวของตัวเอง
  • ไม่อยากให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อหน้าที่การทำงาน

ภาวะ Smiling Depression อันตรายอย่างไร

Smiling Depression อาการซึมเศร้าที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เลือกที่จะเก็บอารมณ์ ความรู้สึก ความเศร้า ความเครียด หรือความทุกข์ จนทำให้คนรอบข้างอาจไม่ทันสังเกตว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะดังกล่าวอยู่ ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับการรักษาจากทางแพทย์อย่างทันท่วงทีหรือขาดโอกาสที่จะได้รับการช่วยเหลือและนำมาสู่การสูญเสียในที่สุด

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า

เมื่อมีอาการ Smiling Depression ควรปฎิบัติตัวอย่างไร

  • พูดคุยหรือเปิดใจกับคนที่รู้สึกสบายใจ

การบอกเล่าเรื่องราวปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้เครียดหรือทุกข์ใจ เช่น การงาน ครอบครัว หรือเพื่อน ให้กับใครสักคนได้ฟังสามารถทำให้ปัญหานั้นเบาลงได้

  • ออกไปท่องเที่ยว

การเดินทางออกไปท่องเที่ยวเป็นเหมือนการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ช่วยให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้นและลดความเครียดได้

  • ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟินหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารแห่งความสุข ช่วยลดความเครียด และการนอนที่เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยลดอารมณ์ด้านลบได้

  • พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้นควรเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคและเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า

วิธีการดูแล

  • ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจอาการเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเข้าใจ
  • เป็นผู้รับฟังที่ดี ไม่บังคับให้พูดหรือเล่าเรื่องที่ผู้ป่วยไม่อยากพูดถีง
  • รับฟังโดยไม่ตัดสิน
  • คอยสังเกตสัญญาณเตือนหากมีพฤติกรรมแยกตัว
  • ชวนทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อคลายความเครียด

อาการ Smiling Depression นับว่าเป็นอาการของภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยมักเก็บอาการความเศร้า ไม่สบายใจไว้กับตัวเองและแสดงออกให้คนภายนอกเห็นว่ามีความสุข มี รอยยิ้ม จึงต้องสังเกต ให้เวลาพูดคุยกับผู้ป่วยที่มีอาการและแนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.คมสันต์  เกียรติรุ่งฤทธิ์ 

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้างการทำงานของกระดูกข้อต่อ ทำให้มีอาการ ปวดที่ข้อเข่า
ข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้างการทำงานของกระดูกข้อต่อ ทำให้มีอาการปวดที่ข้อเข่า
บทความสุขภาพ
14-06-2024

15

บทความ เรื่อง อาการตกขาว สารคัดหลั่ง ภายในร่างกายของผู้หญิงที่ถูกขับออกจากช่องคลอด เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามรอบเดือน
อาการตกขาว สารคัดหลั่งภายในร่างกายของผู้หญิงที่ถูกขับออกจากช่องคลอด เกิดขึ้นได้ในผู้หญิงที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแตกต่างกันไปตามรอบเดือน
บทความสุขภาพ
13-06-2024

3

บทความ เรื่อง ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็ง ที่พบบ่อย
ปวดท้อง แน่นท้อง เหนื่อย อ่อนเพลีย อุจจาระเป็นเลือด น้ำหนักลดลง อาจเป็นสัญญาณเตือนของ อาการมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งที่พบบ่อย
บทความสุขภาพ
12-06-2024

0

บทความ เรื่อง อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
บทความสุขภาพ
11-06-2024

4