แอลกอฮอล์เป็นพิษ,แพ้แอลกอฮอล์,ดื่มแอลกอฮอล์
หน้าแรก
แอลกอฮอล์เป็นพิษ อย่าสนุกจนลืมระวัง
แอลกอฮอล์เป็นพิษ อย่าสนุกจนลืมระวัง

งานปาร์ตี้หรือการเฉลิมฉลองไม่ว่าจะเทศกาลไหน เครื่องดื่มคู่ใจคงหนีไม่พ้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นตัวช่วยทำให้บรรยากาศสนุกมากขึ้น แต่อันตรายที่แฝงตัวอยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกจากจะทำให้เมาไม่มีสติแล้ว อาจเกิดภาวะที่เรียกว่า แอลกอฮอล์เป็นพิษ ซึ่งมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

แอลกอฮอล์เป็นพิษ,แพ้แอลกอฮอล์,ดื่มแอลกอฮอล์,แอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์เป็นพิษ คืออะไร ?

ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ (alcohol poisoning) คือ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในปริมาณมากและดื่มแบบรวดเร็วในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้ตับไม่สามารถขับสารนี้ออกจากเลือดได้ทัน ระบบการทำงานของร่างกายรวนจนเกิดภาวะช็อกที่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้

สาเหตุของภาวะ แอลกอฮอล์เป็นพิษ

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดจนมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังนี้

  • การดูดซึมสารในร่างกายของแต่ละบุคคล
  • ปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในแต่ละชนิดของเครื่องดื่ม
  • เพศหญิงจะมีปฏิกิริยาต่อแอลกอฮอล์ได้ไวกว่าผู้ชาย

แอลกอฮอล์เป็นพิษ,แพ้แอลกอฮอล์,ดื่มแอลกอฮอล์,แอลกอฮอล์

อาการของภาวะ แอลกอฮอล์เป็นพิษ

  • สับสน
  • พูดไม่ชัด พูดไม่รู้เรื่อง
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ไม่สามารถทรงตัวได้
  • ง่วงซึม นอนหลับเยอะกว่าปกติ
  • อาเจียน
  • หายใจผิดปกติ
  • เกิดอาการชัก
  • การเคลื่อนไหวของดวงตาเร็วกว่าปกติ
  • ตัวเย็นจัด
  • ผิวหนังซีด กลายเป็นสีม่วง
  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
  • เกิดภาวะกึ่งโคม่า ร่างกายไม่สามารถตอบสนองได้
  • หัวใจวายเฉียบพลัน
  • หยุดหายใจ

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  1. รีบโทรแจ้งหน่วยกู้ชีพ 1669 หรือโทรแจ้งตำรวจ 191 เพื่อขอความช่วยเหลือ
  2. ปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
  3. หากยังดื่มน้ำได้ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่า
  4. หากผู้ป่วยหมดสติ ให้จับนอนตะแคงหรืออยู่ในท่าพักฟื้น คอยดูว่าผู้ป่วยยังหายใจอยู่หรือไม่
  5. หากพบว่าหยุดหายใจให้ทำการช่วยหายใจ หรือหากพบหัวใจหยุดเต้นให้เริ่มการกู้ชีพ CPR
  6. ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น
  7. คอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมา
  8. อย่าให้ผู้ป่วยหลับ
  9. ห้ามอาบน้ำให้ผู้ป่วย

การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากในระยะเวลาที่สั้นและเร็ว ทำให้ตับขับแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือดไม่ทันจนเกิดภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

แอลกอฮอล์เป็นพิษ,แพ้แอลกอฮอล์,ดื่มแอลกอฮอล์,แอลกอฮอล์

ลักษณะอาการที่อาจพบและระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (หน่วยเป็น มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

20 – 49 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อารมณ์ดี ผ่อนคลาย และการตัดสินใจช้าลงเล็กน้อย

50 – 99 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เริ่มเสียการทรงตัว ควบคุมตัวเองได้น้อยลง และตอบสนองช้าลง

100 – 199 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เดินเซ กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กัน

200 – 299 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง และจำเหตุการณ์ไม่ได้

300 – 399 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หมดสติ ชีพจรลดลง และอุณหภูมิร่างกายลดลง

มากกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโอกาสหยุดหายใจและเสียชีวิตได้

การตอบสนองต่อระดับแอลกอฮอล์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล แม้ระดับจะน้อยกว่า 400 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ก็อาจเสี่ยงจะเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือการนอนหลับลึกในท่าผิดปกติที่อุดกั้นทางเดินหายใจได้ เช่น การนอนคอพาดกับระเบียงจนกดทางเดินหายใจ

ผลกระทบต่อร่างกายจากการดื่มแอลกอฮอล์

  1. หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ไม่แข็งแรง เกิดหัวใจวายได้ง่าย
  2. ตับ เกิดโรคตับแข็ง ตับที่ถูกทำลายจากแอลกอฮอล์จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดี เช่น การย่อยสลายสารอาหารหรือการเปลี่ยนแปลงของยาที่รับประทานเข้าไป บางรายอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรืออาเจียนเป็นเลือด
  3. ผิวหน้า หลอดเลือดขยายตัว ผิวหน้าจะเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนออกจากทางผิวหน้า บางครั้งอาจเกิดอาการหนาวสั่นหรือเกิดโรคปอดบวมได้ง่ายในฤดูหนาว
  4. สมอง แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดการทำงานของสมองจะทำให้ความจำเสื่อม การตัดสินใจไม่ดี สมาธิเสีย โกรธง่าย พูดช้าลง สายตาพร่ามัว และเสียการทรงตัว
  5. กระเพาะอาหารอักเสบฉับพลันบางครั้งทำให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  6. ระบบสืบพันธุ์
    – เพศชายเกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
    – 
    ผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีผลต่อทารกทั้งทางร่างกายและจิตใจ
  7. เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ และมะเร็งเต้านม

ดื่มอย่างไรถึงจะปลอดภัย

  1. กินอาหารรองท้องก่อนดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมได้เร็วเมื่อท้องว่าง
  2. ไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแบบแก้วต่อแก้วหรือดื่มครั้งละมาก ๆ
  4. เมื่อเริ่มมีอาการมึนหัวให้ลดปริมาณการดื่มหรือหยุดดื่มทันที
  5. อย่าดื่มจนเมาเกินไป

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยเพิ่มความสุข สนุกสนาน แต่ข้อเสียของมันก็ส่งผลเสียร้ายแรงต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นควรดื่มแต่พอประมาณ พอดี ไม่หักโหมจนเกินไปเพื่อป้องกันการเกิดอันตรายร้ายแรงที่อาจถึงแก่ชีวิตได้

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ 

สาขาวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคลินิก 

ภาควิชาอายุรศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
07-05-2024

4

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
02-05-2024

2

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
บทความสุขภาพ
01-05-2024

11

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
บทความสุขภาพ
26-04-2024

7