06
หน้าแรก
เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ?

เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ?

ความเชื่อว่าการเก็บยาไว้ในอุณหภูมิต่ำๆ จะทำให้รักษาความคงตัวของยาได้นานขึ้น หรืออาจเข้าใจว่าจะสามารถยืดวันหมดอายุของยาให้นานขึ้นได้ หลายคนจึงนิยมนำยาเก็บไว้ในตู้เย็นแทบทุกชนิด แต่รู้หรือไม่ว่าการเก็บยาไว้ในตู้เย็นนั้นอาจทำให้การคงตัวของยาเสียไปได้

เนื่องจากความชิ้นและอุณหภูมิอาจไม่เหมาะสมกับยาบางชนิด เช่น หากนำยาแขวนตะกอนหรือยาน้ำเชื่อมบางประเภทมาแช่เย็น ก็อาจจะทำให้เกิดการตกตะกอนได้ หรือยาแคปซูลบางชนิดที่มีการเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีความชิ้นสูง มักจะทำให้แคปซูลเยิ้มจนติดกันได้

การแช่ยาบางชนิดในตู้เย็น นอกจากอาจจะทำให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญแล้ว ยังทำให้เกิดสารพิษขึ้นได้ด้วย เช่น

การแช่ยาเม็ดแอสไพรินในตู้เย็นที่มีความชิ้นสูงจะทำให้เกิดการสลายตัวเป็นกรดซาลิไซลิกและกรดอะซิติก ซึ่งจะทำให้ยาไม่มีผลในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด รวมทั้งยังทำให้เกิดพิษ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ชัก และหมดสติได้เมื่อรับในปริมาณสูง

ดังนั้น การเก็บยาไว้ในตู้เย็น จึงไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป

ควรอ่านฉลากยาหรือรายละเอียดบนกล่องยาเพื่อศึกษาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษายาอย่างถูกต้องดีกว่า

 

ข้อมูลจาก
ภก.อนุชิต ตุงธนบดี
งานเภสัชกรรมคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama” เก็บยาทุกชนิดไว้ในตู้เย็น ดีจริงหรือ?

RAMA Channel

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ โรคร้ายที่ไม่เลือกวัย
มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ทุกวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ อาการแอบแฝง ตรวจพบเร็วช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต รู้ทันสัญญาณเตือนและแนวทางป้องกัน
บทความสุขภาพ
25-06-2025

1

Get to know “H. pylori” before becoming a victim of stomach cancer
เชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) อาจดูธรรมดาแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งกระเพาะอาหาร หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาและป้องกันได้ทัน
บทความสุขภาพ
23-06-2025

0

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้เกิดอาการปวดหน้าเท้า
อาการปวดหน้าเท้าอาจเกิดจากรองเท้าไม่พอดี น้ำหนักตัว หรือการใช้งานเท้าเกินพอดี รู้วิธีป้องกันและบรรเทาอาการอย่างถูกต้อง
บทความสุขภาพ
19-06-2025

4

กระเพาะทะลุ อาการโหดที่ไม่ควรมองข้าม รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องทนเจ็บ!
กระเพาะทะลุเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตราย เจ็บท้องเฉียบพลัน แน่นท้อง คลื่นไส้ ต้องรีบรักษาโดยเร็ว รู้ทันอาการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง
บทความสุขภาพ
13-06-2025

5

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL