โรคลมหลับ คืออะไร? อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา
หน้าแรก
ทำความรู้จัก "โรคลมหลับ"

ทำความรู้จัก "โรคลมหลับ"

อาการของ โรคลมหลับ เป็นยังไง? มันคือ

อาการที่เรายืนอยู่ดีๆ แล้วก็เผลอหลับไปเลยไม่รู้ตัว หรือจะเรียกว่า หลับแบบฉับพลันก็ได้ แต่ในบ้านเรานั้นยังพบได้น้อยและยังไม่มีการวินิจฉัยมากนัก โรคลมหลับเกิดจากสารสื่อประสาทไฮโปคริติน (Hypocretin) ในสมองลดน้อยลง ทำให้ความรู้สึกตัวของเราลดน้อยลงตามไป ก่อให้เกิดอาหารหลับแบบฉับพลันดังที่กล่าวข้างต้นได้

การหลับของโรคนี้นั้นไม่ใช่การหลับแบบทำงานอยู่เพลินๆ แล้วเกิดอาการง่วงแล้วหลับ

แต่เป็นอาการที่อยู่ดีๆ แล้วหลับลงไปเลย ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า สาเหตุนั้นมีการสันนิษฐานว่าเกิดจาก พันธุกรรม ส่วนสาเหตุอื่นๆ อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ หรือว่าโรคหลอดเลือดในสมอง แต่ปัจจุบันก็ยังเป็นข้อสันนิษฐานอยู่ ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคลมหลับนี้

อาการของ โรคลมหลับ มีอะไรบ้าง?

  1. อ่อนแรงฉับพลัน อยู่ๆ ก็เผลอหลับไป
  2. กริยาท่าทางหรืออารมณ์เป็นตัวกระตุ้น เช่น หัวเราะ โกรธ แล้วก็เผลอหลับไป
  3. เห็นภาพหลอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น
  4. รู้สึกตัวแต่ไม่สามารถขยับร่างกายได้
  5. ตอนกลางคืนจะนอนหลับเหมือนคนปกติ แต่กลางวันจะมีอาการของโรคลมหลับ

ลักษณะการสังเกตอาการว่าเราเป็นโรคนี้หรือไม่?

จริงๆ แล้วสังเกตได้ค่อนข้างลำบาก เพราะอาการของโรคจะเกิดอย่างเฉียบพลัน แต่พอจะสังเกตได้ดังนี้

  1. มีอาการง่วง เหงา หาว นอนตลอดทั้งวัน
  2. มีอาการหลับอย่างเฉียบพลัน
  3. มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. มีอาการนอนหลับแบบตากระตุก

การรักษา ทำได้โดยต้องมาตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ก่อนเนื่องจากโรคนี้พบได้น้อย ยังไม่มียารักษา และต้องแยกสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการง่วงตลอดได้ เช่น โรคซึมเศร้า การใช้ยาบางตัว เป็นต้น

ส่วนการรักษาเบื้องต้น มีดังนี้

  1. เพิ่มการงีบหลับอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที
  2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  3. จัดตารางการนอนหลับของตัวเองในแต่ละวัน
  4. ออกกำลังกายและรับประทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน งดการสูบบุหรี่
  6. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อันตราย

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update นอนได้ทุกที่ ระวังเป็นโรคลมหลับ” ได้ที่นี่

ติดตาม Rama Channel เพื่อรับข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ 
RAMA Channel

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดข้อเท้าสะสม เสี่ยง! ข้อเท้าเสื่อมก่อนวัย
อาการปวดข้อเท้าเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของข้อเท้าเสื่อมก่อนวัย หากไม่ดูแลอาจกระทบการเดินและการใช้ชีวิต รู้วิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกต้อง
บทความสุขภาพ
30-06-2025

1

หยุด! อาการปวดส้นเท้า
อาการปวดส้นเท้าอาจเกิดจากรองช้ำหรือการใช้งานเท้าหนักเกินไป หากไม่ดูแลอาจเรื้อรัง รู้วิธีป้องกันและบรรเทาอาการอย่างถูกต้อง
บทความสุขภาพ
26-06-2025

3

มะเร็งลำไส้ โรคร้ายที่ไม่เลือกวัย
มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้ทุกวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุ อาการแอบแฝง ตรวจพบเร็วช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิต รู้ทันสัญญาณเตือนและแนวทางป้องกัน
บทความสุขภาพ
25-06-2025

5

Get to know “H. pylori” before becoming a victim of stomach cancer
เชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) อาจดูธรรมดาแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของมะเร็งกระเพาะอาหาร หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาและป้องกันได้ทัน
บทความสุขภาพ
23-06-2025

1

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL