บทความรามา ก.ย._๑๗๐๙๐๘_0009
หน้าแรก
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรดูแลอย่างไร
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรดูแลอย่างไร

ในผู้ป่วยโรคหัวใจหากป่วยเริ่มต้นมักไม่มีอาการแสดง แต่เมื่ออาการหนักขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับทรวงอกเยื้องไปทางด้านซ้าย บางรายอาจแน่นร้าวไปยังบริเวณอื่น เช่น ร้าวไปถึงหัวไหล่ แขน หรือรู้สึกจุกแน่นที่คอ จุกแน่นที่กรามด้านซ้าย รวมถึงอาการจุกแน่นตรงยอดอกบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย

เช่น เหนื่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บแน่นหน้าอก ประกอบกับมีภาวะปัจจัยเสี่ยง สิ่งที่ควรทำอย่างแรกเลยคือรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ซักประวัติ หรือตรวจวินัจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีทางการแพทย์ เช่น การเดินสายพาน เพื่อเช็คสมรรถภาพของหลอดเลือดหัวใจ การตรวจเอ็กซเรย์ การใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อตรวจดูการบีบตัวของหัวใจ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อดูเงาของหลอดเลือด

โดยทั้งหมดนี้คือวิธีการตรวจทางการแพทย์ที่ช่วยในการวินัจฉัยโรคได้โดยไม่จำเป็นต้องสวนหัวใจ

สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ

โดยทั่วไปสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติ รวมถึงสามารถเล่นกีฬาได้เหมือนคนทั่วไป ยกเว้นในกรณีที่คนไข้มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบอุดตันเฉียบพลัน หรือในคนไข้ที่มีภาวะหัวใจโต หัวใจล้มเหลว การออกกำลังกายควรอยู่ภายใต้การควบคุมของนักกายภาพบำบัดที่ดูแลเกี่ยวกับโรคหัวใจอย่างใกล้ชิด

 

ข้อมูลจาก
รศ. นพ. ทศพล ลิ้มพิจารณ์กิจ
สาขาวิชาโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เกร็ดความรู้ ชุดโรคเรื้อรัง ตอน การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด” ได้ที่นี่