จากแรงบันดาลใจ...สู่ก้าวใหม่การเป็นอาจารย์แพทย์ CNMI
“ตอนนี้ทีมงานก็ประชุมกันตลอด
ฉะนั้นเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น
เพราะไม่ต้องการให้มองว่าสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์เป็นอีกที่หนึ่ง
แต่ที่นั่นก็คือรามาธิบดีเหมือนกันซึ่งเป็นสถานที่เพิ่มศักยภาพ
ในด้านการเรียนการสอนและบริการให้มากขึ้น เราจะต้องทให้สเร็จ”
นี่คือคำบอกเล่าจากอาจารย์นายแพทย์สิทธาคม ผู้สันติ หนึ่งในแพทย์จากทีมงานสถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์ผู้มีความตั้งใจในการวางรากฐานการเรียนการสอนด้านการแพทย์และสร้างต้นแบบโรงเรียนแพทย์ ที่ดีไม่ใช่เพื่อตนเองหรือเพื่อรามาธิบดีเพียงอย่างเดียว แต่เพื่อให้นักเรียนที่จะเข้ามาศึกษาได้เป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ ในอนาคตตามแผนที่วางไว้นั่นเอง
[จากอดีตนักเรียนแพทย์ สู่การเป็นอาจารย์แพทย์]
งานวิจัยนี้ได้ใช้เครื่อง Motion Analysis ซึ่งจะมี ค่าอ้างอิงจากต่างประเทศว่า ขารูปแบบใดจึงจะปกติ ค่างอเข้า-งอออกเท่าใด ค่าในคนไทยเท่ากันกับที่ต่างชาติทำ หรือไม่ เมื่อเราได้เครื่องมาก็มาทำการตั้งค่าใหม่โดยใช้จำนวน ประชากร 400 คน เน้นที่ประชากรทั่วไปที่ค่อนข้างปกติไร้ การบาดเจ็บ งานวิจัยวิเคราะห์การเดินนี้ได้ทำมาระยะหนึ่งแล้ว พอจะได้ข้อมูลว่า คนไทยค่อนข้างจะมีข้อสะโพกหุบเข้าในมากกว่าในคนต่างชาติแต่มีหน้าแข้งปัดออก จึงทำให้เกิด การสมดุลขึ้นของขา ผลที่ได้ก็กำลังหาสมมติฐานอยู่ว่า จริง ๆ แล้วเรานั่งพับเพียบกันเป็นส่วนมาก จึงทำให้สะโพกเราหุบ เข้าใน และเรานั่งขัดสมาธิด้วย หากทำงานวิจัยนี้เสร็จแล้วก็มี ความสนใจที่จะตีพิมพ์ออกไปให้ได้รับทราบกันว่าขาของคน ไทยเป็นแบบใดทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
ที่เลือกกลับมาเรียนต่อยอดก็เพราะต้องการทำงาน ด้านการศึกษา ระหว่างนั้นก็ได้ทราบว่าคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีจะมีการก่อสร้างสถาบันการแพทย์แห่งใหม่ คือสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ซึ่งทาง รศ. พญ.โฉมศรีโฆษิต ชัยวัฒน์หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์และรศ. นพ.อาทิตย์อังกานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคเลือด ท่านก็ได้มาเชิญชวนให้มา ทำงานที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
[เพราะที่นี่...คือการเปลี่ยนแปลงที่ดี]
ในตอนนั้นก็เริ่มหาข้อมูลก็เห็นว่าที่นั่นมีแนวคิดที่ดีมากซึ่งจากที่ผมได้เรียนรู้และเห็นช่องว่างของระบบการเรียน การสอนที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีอีกทั้งกรณีศึกษาผู้ป่วยก็มีความซับซ้อนมากขึ้นสำหรับนักศึกษาแพทย์ ที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์จึงเป็นสถานที่ส่งเสริมการเรียนรู้การสร้างพื้นที่สีเขียวการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้เช่น ห้องสมุด 24 ชั่วโมง ศูนย์กีฬาครบวงจรและการคัดเลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยที่เหมาะสมสำหรับ การเรียนการสอน ปัจจัยทั้งหมดนี้ก็เพื่อการผลิตแพทย์ที่ตอบโจทย์ของประเทศและก้าวไปสู่การเป็น Transformative Leader ผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะเราเชื่อว่า ทุกคนมีพหุศักยภาพ คือทุกคนมีความสามารถหลากหลาย
[วางแผนงานกันเข้มข้น...ตั้งแต่เริ่มต้น]
ทีมงานมีการประชุมกันอยู่ตลอดฉะนั้นเราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดเป็นรูปร่างชัดเจนขึ้น เพราะไม่ต้องการ ให้มองว่าสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์เป็นอีกที่หนึ่ง เพราะคือรามาธิบดีเหมือนกันซึ่งเป็นสถานที่เพิ่มศักยภาพในด้าน การเรียนการสอนและการบริการให้มากขึ้น เราจะต้องทำให้สำเร็จ
[ขอให้มั่นใจในสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์]
ทุกการเปลี่ยนแปลง เราจะเกิดความกลัวว่าจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่ที่สถาบันการแพทย์ จักรีนฤบดินทร์เป็นสถานที่ใหม่ที่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้มากขึ้น ขอให้นักเรียนและผู้ปกครอง มั่นใจได้ว่า ถ้าได้มาเรียนที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์น้อง ๆ จะไม่เพียงแต่เป็นแพทย์ที่เก่ง แต่จะเป็นคนที่มีการ พัฒนาพหุศักยภาพ พัฒนาในสิ่งที่ตนเองสนใจ สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้ดีขึ้นได้จะมีชมรมต่าง ๆ มีการสร้าง เสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายที่อาคารนันทนาการที่มีความสะดวกและอุปกรณ์ครบครันเป็นอย่างมากครับ รับรอง ว่าจะมีความสุขและสนุกกับทุก ๆ วันแน่นอน
ผู้เขียน : ทิพย์สุดา ตันเติมเกียรติ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่