รู้จักเลเซอร์ และคำแนะนำก่อนการเลือกใช้

รู้จักเลเซอร์ และคำแนะนำก่อนการเลือกใช้

ฉบับที่แล้วได้กล่าวค้างไว้ถึงเรื่องข้อจําากัดของเลเซอร์ในแง่การกระตุ้นผิวชั้นลึก เช่น ผิวหย่อนคล้อย ปัญหาร่องแก้ม คางเป็นสองชั้น หนังตาเริ่มตก ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเลเซอร์ แต่ในปัจจุบันนี้ ได้มีการคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถกระตุ้นผิวชั้นลึกได้สําเร็จแล้ว วิธีการที่ที่ได้ยินกันบ่อยๆ จนคุ้นหู ได้แก่ วิธีการใช้คลื่นวิทยุหรือที่เรียกสั้นๆ กันติดปากว่า เครื่องอาร์เอฟ (RF) ซึ่งเป็นเครื่องที่ช่วยยกกระชับผิวหน้าและคอที่ให้ผลดีมาก หลักการทํางานของเครื่องนี้ จะทําการปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุเพื่อกระตุ้นให้เกิดการหดกระชับของเนื้อเยื่อคอลลาเจน ทําให้ผิวแข็งแรงและเต่งตึงนอกจากนี้ยังมีเครื่องที่เรียกว่า อัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)  ที่สามารถรักษาเรื่องความหย่อนคล้อยได้ดีไม่แพ้กันเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา ถือเป็นวันทันตสาธารณสุขและวันพยาบาลแห่งชาติ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงได้จัดงานเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพโดยมุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับดูแลตนเองอย่างง่ายมากมายหลายงาน หนึ่งในงานที่มีผู้ให้ความสนใจกันมากนั่นคือ งานบรรยายเรื่องรักษ์ฟัน ณ  หอประชุมอารี วัลยะเสวี ได้มีการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฟันที่ทุกคนควรต้องรู้จักดูแลกัน

ทั้งสองวิธีนี้เหมาะกับผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการหรือยังเป็นไม่มาก และยังเหมาะสําหรับผู้ที่กลัวการผ่าตัด เพราะไม่มีแผล สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังรักษา

แต่สําหรับเครื่องมือยอดนิยมที่จะแนะนําให้รู้จักคือ IPL (Intense Pulsed Light) “ไอพีแอล หรือ อินเทนซ์ เพลาซ์ ไลท์” แปลตรงตัวก็คือ แสงความเข้มสูง ซึ่งคนส่วนมากจะเข้าใจผิดว่าคือเลเซอร์

เครื่องนี้จะมีหลักการทํางานโดยการปล่อยคลื่นแสงในช่วงคลื่น 500-1,200 นาโนเมตร ข้อดีของเครื่องนี้คือ เครื่องปล่อยแสงเป็นวงกว้าง ทําให้สามารถแก้ปัญหาผิวได้หลายชนิดด้วยเครื่องตัวเดียว เช่น รอยดํา รอยแดง ทําให้ใบหน้าขาวใสขึ้นนอกจากนี้ยังใช้กําจัดขนได้ด้วย เนื่องจากแสงค่อนข้างกระจัดกระจาย ซึ่งแตกต่างจากเลเซอร์ ดังนั้น จึงมีข้อจําากัดในการรักษา โดยเราจะพบได้บ่อยว่าไปทําไอพีแอลรักษารอยดํามาเป็นสิบครั้งเหมือนจะจางลงช่วง 1-2 ครั้งแรก แต่หลังจากนั้นทําไมรอยดําไม่จางลง หรือไปถอนขนมาหลายครั้ง ครั้งแรกๆ เหมือนจะดี แต่ทําไปเรื่อยๆ แล้วไม่ค่อยเห็นผล นั่นเป็นเพราะคลื่นแสงที่ออกมาจากเครื่องยังไม่จําเพาะเจาะจงมากพอเมื่อเทียบกับเลเซอร์

เราจึงมาคุยกันเรื่องโทษหรือข้อจํากัดของการใช้เลเซอร์เพื่อความงามกันดีกว่า

แม้การใช้เลเซอร์เพื่อรักษาในเรื่องความงามจะให้ผลรักษาที่ค่อนข้างดี  แต่หลักการทํางานของเลเซอร์คือทําให้เกิดความร้อนที่ผิวหนัง ดังนั้น อาจมีผลกระทบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ทําาให้เกิดอาการแดง ดํา หรือรอยด่าง ซึ่งส่วนมากจะเป็นชั่วคราว และจะค่อยๆ หายไปได้เอง

อย่างไรก็ตามถ้าเลือกวิธีใช้อย่างไม่ถูกวิธีก็อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาได้อีกมาก ดังเช่น

  1. การใช้เลเซอร์ที่ไม่เหมาะสมกับโรค เช่น เป็นกระลึก แต่เลือกใช้เลเซอร์ชนิดลอกหน้าทําให้เกิดรอยไหม้หรือแผลเป็นได้ หรือเลือกใช้ไอพีแอลก็จะทําให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยเปล่าประโยชน์เพราะไม่หาย
  2. การรักษาโดยขาดความชํานาญจากแพทย์ในสาขาผิวหนังเฉพาะ ทําให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น เกิดรอยดํา เกิดรอยแผลเป็น ดังนั้น หากต้องการรับการรักษาความงามด้วยเลเซอร์ สิ่งที่ควรคํานึงถึงเสมอคือ ต้องแน่ใจว่าแพทย์ที่ให้การรักษานั้น เป็นแพทย์เฉพาะทางบอร์ดผิวหนัง (ตจวิทยา) และมีความชํานาญในการใช้เลเซอร์ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์เฉพาะทางบอร์ดผิวหนังได้ที่เว็บไซต์ของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย www.dst.or.th
  3. การโฆษณาแอบอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น มีการโฆษณาสรรพคุณว่าสามารถใช้เลเซอร์พลังงานต่ำ ไม่เจ็บในการลบรอยหย่อนคล้อยได้ ซึ่งจะพบได้ตามสถานเสริมความงามและคลินิกบางแห่ง โดยในทางทฤษฎีแล้ว มีความเป็นไปได้น้อยมาก เพราะว่าการกระตุ้นคอลลาเจนต้องใช้พลังงานที่สูงพอ ดังนั้น ก่อนใช้บริการจึงควรพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของสรรพคุณที่แท้จริง

ในการเลือกใช้เลเซอร์เพื่อความงามนั้น หากเราทราบข้อมูลที่ดีไว้ และศึกษาคําแนะนําต่างๆ ไว้ก่อน ก็ยิ่งช่วยทําให้การตัดสินใจต่างๆ ทําได้ง่ายขึ้น ดังนั้น จึงขอคําแนะนําในการพิจารณาก่อนการตัดสินใจใช้เลเซอร์เพื่อความงาม ดังนี้

1)  สิ่งที่สําคัญลําดับแรกสําหรับการตัดสินใจเลือกรักษาด้วยเลเซอร์คือ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจําเป็นหรือไม่ บางภาวะอาจไม่จําเป็นต้องรักษา บางกรณีอาจรักษาได้ด้วยการใช้ยาโดยที่ไม่จําเป็นต้องทําเลเซอร์

2) หากต้องทําการรักษาด้วยเลเซอร์ควรรับการรักษากับแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทางด้านผิวหนังและเลเซอร์ เพราะรู้จักโรคและสภาพปัญหา เช่น กระเนื้อเกิดขึ้นที่ชั้นหนังกําพร้า ถ้าแพทย์ไม่ชํานาญอาจยิงเลเซอร์ลึกเกินไปจนทําาให้เกิดรอยแผลเป็นได้

3) ก่อนทําเลเซอร์บางชนิดไม่ควรตากแดดจัด หลังทําเลเซอร์ควรทายาหลังเลเซอร์ ครีมบํารุงผิวและกันแดดตามระยะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งการปฏิบัติตนหลังทําเลเซอร์ เช่น ไม่ควรโดนนํา หลีกเลี่ยงแสงแดด ซึ่งอยู่ขึ้นกับชนิดของเลเซอร์ที่ใช้รักษา

ผู้เขียน : ผศ.นพ.วาสนภ วชิรมน แผนกผิวหนังและเลเซอร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 16 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th