‘รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์’ นักวิจัยหญิงผู้สร้างผลงานด้านออร์โธปิดิกส์

‘รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์’ นักวิจัยหญิงผู้สร้างผลงานด้านออร์โธปิดิกส์

ไม่บ่อยครั้งนักที่จะได้มีโอกาสสัมภาษณ์นักวิจัยที่เป็นหัวหน้าภาควิชา ซึ่งนับเป็นโอกาสดีที่ได้สัมภาษณ์ถึงงานวิจัยทาง ด้านกระดูกกับ รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นักวิจัยหญิงผู้มีผลงานวิจัยมากมายหลากหลายด้าน ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ มาโดยตลอด ..ติดตามบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับงานวิจัยที่อาจารย์ได้ทำไว้กันครับ

ทำไมจึงสนใจเรียนแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์

ส่วนตัวชอบเรื่องเครื่องมือทางการแพทย์เป็นอย่างมาก สนใจตั้งแต่เรียนเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ซึ่งในสมัย นั้นที่รามาธิบดีจะมีหมอทางออร์โธปิดิกส์เป็นผู้ชายส่วนใหญ่ นี่ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้เป็นแพทย์ออร์โธปิดิกส์แต่ด้วย เงื่อนไขทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์อยากได้คนที่เรียนทางด้าน วิจัยด้วย จึงไปเรียนปริญญาเอกทางด้านระบาดวิทยาคลินิก โดยทำการวิจัยเฉพาะ ซึ่งทางภาควิชาออร์โธปิดิกส์ก็เลยรับ เป็นแพทย์ประจำบ้าน

แรงบันดาลใจในการเป็นแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์

แรงบันดาลใจมาจากอาจารย์ผู้ใหญ่ในภาควิชาหลาย ท่านที่เป็นแบบอย่างที่ดีและในภาควิชาเองก็มีเครื่องมือ นวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ จึงอยากเรียนทางด้านนี้ ทางบ้าน เองก็ให้การสนับสนุน รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ท้าทายเพราะไม่ค่อย มีผู้หญิงเรียนทางด้านนี้เท่าไรนัก และปัจจุบันก็เป็นหัวหน้า ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ที่เป็นผู้หญิงคนแรก ส่วนตัวมีความ เชี่ยวชาญด้านออร์โธปิดิกส์เด็กดูแลเด็กขาโก่ง ขาเก ขาเบี้ยว ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน แขนผิดรูป กระดูกและข้อผิดปกติกระดูก หัก เป็นต้น

อยากให้เล่าถึงผลงานวิจัย

ผลงานเกี่ยวกับงานวิจัยมีกว่า 50 เรื่อง โดย เกี่ยวข้องกับออร์โธปิดิกส์เด็ก ระบาดวิทยา อุบัติเหตุ จราจร ออร์โธปิดิกส์ทั่วไป และอื่น ๆ ซึ่งผลงานเด่นที่ เป็นออร์โธปิดิกส์เด็กก็จะมีเรื่องกระดูกข้อศอกหัก ซึ่งเป็น Referenceใน TextBook แล้วโดยกระดูกหักจะเป็นอาการ ที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเพราะเล่นตกชิงช้าลื่น ล้ม กระดูกหักได้ ง่าย ในงานวิจัยเองก็ได้เข้าไปทำในเรื่องวิธีการใส่เหล็กยึดตรึงกระดูกว่าควรจะใส่ด้วยวิธีการใด จะใส่เหล็กไขว้กัน หรือจะใส่เหล็กด้านข้าง ผลงานวิจัยก็พบว่า ใส่ด้านข้างจะไม่กระทบ เส้นประสาท การใส่เหล็กไขว้จะไปกระทบเส้นประสาทได้งานวิจัยนี้ใช้ประชากรที่เป็นเด็กจำนวนพันรายและนำงานวิจัยที่มีอยู่แล้วคัดเลือกเด็กตามเกณฑ์ที่เรากำหนดเข้ามาทำวิจัย เช่น เด็กที่มีปัญหากระดูกเคลื่อนแล้วต้องได้รับการผ่าตัด โดยใช้กระบวนการวิจัยและสถิติใช้ระยะเวลาในการทำงานวิจัยราว 6 เดือน

หากเป็นงานวิจัยที่เป็น Paper เลยก็จะเป็นงานวิจัย ที่ทำชิ้นแรก ๆ กลุ่มตัวอย่างก็จะเป็นผู้สูงอายุอีกทั้งเมื่อก่อน ได้ทำเกี่ยวกับระบาดวิทยา ก็ทำ hit fracture เรื่องกระดูก สะโพกหักในผู้สูงอายุ แล้วก็ดูว่าปัจจัยเสี่ยงใดที่ทำให้กระดูก สะโพกหัก โดยทำเป็น Series เลย มีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ ศ. นพ.ไพบูลย์สุริยะวงศ์ไพศาล หลังจากนั้นก็ได้ทำเรื่อง อุบัติเหตุจราจร และปัจจัยเสี่ยงของยาและสารออกฤทธิ์ทาง จิตประสาท เช่น ยาที่แพทย์สั่ง ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ อาการปวดบางชนิดที่ทำให้มึนงง ข้อมูลที่พบก็คือ หากดื่ม แอลกอฮอล์จะเกิดอุบัติเหตุได้มากถึง 60 เท่า แต่ถ้าเป็นยาที่ แพทย์สั่งจำพวกออกฤทธิ์ทางจิตประสาทก็จะมีโอกาสเสี่ยงได้ 2-3 เท่า ซึ่งน้อยกว่า แต่ก็จะมียาแก้หวัดบางตัวที่กินแล้วง่วง เมื่อขับรถก็อาจเกิดอุบัติเหตุได้

ส่วนงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยาก็จะมีเรื่องกระดูก สะโพกหักส่วนเรื่องอุบัติเหตุก็จะพบว่าการขับขี่จักรยานยนต์ ไม่ถูกต้องก็จะเกิดอุบัติเหตุได้จึงร่วมมือกับบริษัท HONDA ใน การใช้ศูนย์ฝึกขับจักรยานยนต์จำลองในการวิจัยก็พบว่าหาก ขับขี่ปลอดภัย โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็จะน้อยกว่า

‘รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์’ นักวิจัยหญิงผู้สร้างผลงานด้านออร์โธปิดิกส์

กระบวนการคิดในการทำงานวิจัย

อันดับแรกต้องเป็นปัญหาสังคม ตัวอย่างเช่น เรื่อง อุบัติเหตุจราจร อันดับถัดมาเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง จึงคิดว่า ทางกระดูกเด็กเรามีปัญหาอะไรบ้าง จนได้ทำวิจัยเกี่ยวกับ ปัญหาโรคหัวกระดูกสะโพกตายขาดเลือดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่ง เราพยายามหาสาเหตุว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้าง เช่น กลไกใน การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติมีเส้นเลือดอุดตันหรือไม่แม้จะ พบโรคนี้ได้น้อยมากแต่เมื่อเป็นแล้วอาจจะทุพพลภาพ เดินได้ ลำบาก หัวกระดูกสะโพกผิดรูปได้เมื่ออายุมากขึ้นข้อสะโพก ก็จะเปลี่ยนรูป ทำให้เกิดอาการเจ็บ ต้องมาเปลี่ยนข้อสะโพก ก็ไม่อยากให้เด็กต้องมาทุกข์ทรมาน พอเราไปตรวจสอบเรื่อง การแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติก็พบว่าจะพบอาการได้มากกว่า ในคนปกติเพราะปกติหัวกระดูกสะโพกจะมีเส้นเลือดไปเลี้ยง พอการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติหรืออุดตัน เส้นเลือดก็ไม่ไป เลี้ยง หัวก็ขาดเลือดและตายไป หากเราตรวจหาสาเหตุได้ก่อน ก็จะสามารถพยากรณ์โรคได้

มีงานวิจัยใดที่ได้รับรางวัลมา

งานวิจัยเกี่ยวกับการบริการเรื่อง SupraPanela ทำ ร่วมกับอาจารย์ชนิกา เคยได้รับรางวัลมาและได้ไป ประกวด ผลงานได้รับรางวัลที่หนึ่งจากราชวิทยาลัยออร์โธปิดิกส์แห่ง ประเทศไทย และได้รางวัลระดับ International ทั้งยังได้รับ รางวัลจาก HA 5 ดาวทอง จากผลงานเรื่องติดเชื้อในระหว่างผ่าตัดของโรคทางออร์โธปิดิกส์ 1,600 รายซึ่งเราอยากทราบว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อ เราก็พบว่า คนไข้ ที่มีโปรตีนในเลือดต่ำหรือได้รับการผ่าตัดกระดูดสันหลังจะมี โอกาสติดเชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ก็จะช่วยลดปัญหาการติดเชื้อลงได้

รางวัลที่เพิ่งได้รับมาก็เป็นรางวัลนวัตกรรมของ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โดยคิดเครื่องมือขึ้นมาร่วมกับอาจารย์ ชูศักดิ์ ในตอนนั้นทำเรื่องเอ็นไขว้หน้ากระดูกขาด ซึ่งเครื่อง มือนี้ได้ใช้ในการแก้ปัญหาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง นำเอ็นส่วน อื่นมาใส่แทน และต้องใช้เครื่องมือที่มีสองแกนทางแนวตั้งและ แนวนอนในการช่วยประคอง ทำให้เราผ่าตัดสมดุลได้ดีขึ้น จึง ผลิตเครื่องมือนี้ขึ้นมา และอาจได้ใช้ภายใน 2 ปี

งานวิจัยที่ถนัดกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่

งานวิจัยที่ถนัดที่สุดคือ งานวิจัยทางคลินิก และงานวิจัยทางระบาดวิทยา ซึ่งขณะนี้ก็เป็น Mentor ให้กับนักวิจัย รุ่นใหม่ และช่วยดูงานวิจัยให้ทุกหน่วยในภาควิชา ส่วนงาน วิจัยที่กำลังทำอยู่คือ งานวิจัยเกี่ยวกับหัวกระดูกสะโพกตาย ขาดเลือดไม่ทราบสาเหตุ

‘รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์’ นักวิจัยหญิงผู้สร้างผลงานด้านออร์โธปิดิกส์

งานวิจัยวิเคราะห์การเดิน

งานวิจัยนี้ได้ใช้เครื่อง Motion Analysis ซึ่งจะมี ค่าอ้างอิงจากต่างประเทศว่า ขารูปแบบใดจึงจะปกติ ค่างอเข้า-งอออกเท่าใด ค่าในคนไทยเท่ากันกับที่ต่างชาติทำ หรือไม่ เมื่อเราได้เครื่องมาก็มาทำการตั้งค่าใหม่โดยใช้จำนวน ประชากร 400 คน เน้นที่ประชากรทั่วไปที่ค่อนข้างปกติไร้ การบาดเจ็บ งานวิจัยวิเคราะห์การเดินนี้ได้ทำมาระยะหนึ่งแล้ว พอจะได้ข้อมูลว่า คนไทยค่อนข้างจะมีข้อสะโพกหุบเข้าในมากกว่าในคนต่างชาติแต่มีหน้าแข้งปัดออก จึงทำให้เกิด การสมดุลขึ้นของขา ผลที่ได้ก็กำลังหาสมมติฐานอยู่ว่า จริง ๆ แล้วเรานั่งพับเพียบกันเป็นส่วนมาก จึงทำให้สะโพกเราหุบ เข้าใน และเรานั่งขัดสมาธิด้วย หากทำงานวิจัยนี้เสร็จแล้วก็มี ความสนใจที่จะตีพิมพ์ออกไปให้ได้รับทราบกันว่าขาของคน ไทยเป็นแบบใดทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

ที่มาของการใช้งานใน Gait Lab

ที่สหรัฐอเมริกามีการใช้ Motion Analysis บันทึก วิดีโอในคนไข้โรคสมองพิการที่มีการเดินผิดปกติมีกล้ามเนื้อ เกร็งข้อติดแล้วก็ทำการรักษา พอทำหลายปีก็ใช้ Gait Analysis ทำการวัดข้อและกล้ามเนื้อซึ่งได้รับความสนใจมากจึงคิด ว่าในประเทศไทยเองก็น่าจะมีแต่เราไม่ได้มี GaitLab ใช้เป็น เรื่องเป็นราวมากนัก ที่มีอยู่จะมีแค่ใช้บางส่วนหรือใช้ในการกีฬา ไม่ได้ใช้ในทางคลินิกมากเท่าใด หรืออาจใช้ดูแรงกดเท้าเท่านั้น ไม่ได้ใช้ทั้งตัวแบบที่รามาธิบดีใช้อยู่ จึงคิดว่าจะเป็นประโยชน์มากที่สุดในคนไข้ของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไข้ สมองพิการ คนไข้ผ่าตัดเนื้องอกบริเวณขา เข่าเสื่อม สะโพก เสื่อม คนไข้ที่เป็นเส้นเลือดในสมองแตก-เส้นเลือดในสมองตีบ เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคนไข้จะสวมรองเท้าแบบใดดี

การใช้งาน Gait Lab ก่อนอื่นต้องมาพบแพทย์เพื่อ ประเมินการตรวจก่อน ทั้งการเดิน ดูรูปเท้า สะโพก กล้าม เนื้อ ซึ่งท่านใดสนใจจะเข้าร่วมโครงการวิจัยจำนวน 400 ราย ก็สามารถติดต่อมาได้ที่ 02-201-0412 เรามีความมุ่งหวังใน การนำค่าวิจัยอ้างอิงไปใช้ในประชากรไทยได้ทุกวัย ตั้งแต่ 2 ขวบถึง 60 ปี

ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่

ช่วงแรกของการทำวิจัย ก็ขอให้นักวิจัยมีกำลังใจคิดเชิงบวกหาทางแก้ไขปัญหา มีความสุขกับการทำงานวิจัยให้มาก คิดซะว่าเหมือน เจ.เค.โรว์ลิ่ง ที่เมื่อรู้สึก Failed เหมือนเขาอยู่ก้นเหวยังไงก็ไม่มีแย่ไปกว่านี้แต่ละวันจะต้องดีขึ้นกว่า นี้ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคคิดหาหนทางแก้ไขปัญหา มีความร่วม มือและอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดีขอให้ทำวิจัยในสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่ เราถนัด จะทำให้เราทำได้ดี

“แรงบันดาลใจ

การเป็นแพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์

มาจากอาจารย์ผู้ใหญ่

ในภาควิชาหลายท่านที่เป็นแบบอย่างที่ดี

และในภาควิชาเองก็มีเครื่องมือ

นวัตกรรมใหม่ที่น่าสนใจ

จึงอยากเรียนทางด้านนี้

ทางบ้านเองก็ให้การสนับสนุน

รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ท้าทาย

เพราะไม่ค่อยมีผู้หญิงเรียน

ทางด้านนี้เท่าไรนัก

และปัจจุบันก็เป็นหัวหน้าภาควิชา

ออร์โธปิดิกส์ที่เป็นผู้หญิงคนแรก”

***************************************************************

รศ. ดร. พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์

ผู้เขียน :  ดนัย อังควัฒนวิทย์ ภาพ : กุสุมา ภักดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ติดตามข้อมูลสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่

นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ @Rama ฉบับที่ 31 คลิก

AtRama.mahidol.ac.th