ทำความรู้จักยาพาราเซตามอล (paracetamol)
ยาพาราเซตามอล (paracetamol) เป็นยาที่มีฤทธิ์แก้ปวดลดไข้ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถใช้ได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตรเมื่อใช้ในขนาดที่เหมาะสม
รับประทานอย่างไร
ขนาดยาพาราเซตามอลที่เหมาะสมคือ 10 – 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยรับประทานทุก 4-6 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการ ดังนั้นการรับประทานยาจึงควรให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว
เช่น น้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรรับประทานเท่ากับ 500 – 750 มิลลิกรัม (ก็คือพาราเซมอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 1 เม็ดนั่นเอง)
เด็กไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน ผู้ใหญ่ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 10 วันผู้ที่เป็นไข้ (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ไม่ควรทานติดต่อกันเกิน 3 วัน
การรับประทานยามากเกินไป (overdose) จะเกิดอะไรขึ้น
การได้รับยามากเกินไป ไม่ได้ช่วยให้ได้ผลการรักษามากขึ้น แต่กลับเป็นการทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากขึ้น สำหรับยาพาราเซตามอลหากได้รับเกินขนาด (150 มก./กก. ของน้ำหนักตัว ภายในครั้งเดียว หรือรับประทานต่อเนื่องเกิน 150 มก./กก.ของน้ำหนักตัว ภายใน 1-2 วัน หรือ เกิน 100 มก./กก.ของน้ำหนักตัว ภายใน 3วัน) อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึมลง ความดันลดลง หรือในบางรายที่กินเกินขนาดมากๆ อาจส่งผลให้การทำงานของตับและไตเสียได้
ข้อควรระวังในการใช้ยา
- ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรใช้ยา
- ผู้ที่ดื่มเหล้าเป็นประจำ อาจเกิดพิษต่อตับจากยาได้มากขึ้น
- ผู้ที่แพ้ยาพาราเซตามอลเกิดผื่น คัน แดง หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบไปพบแพทย์
ยา paracetamol ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย
ในประเทศไทยมียาพาราเซตามอลหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งยาน้ำสำหรับเด็ก ยาเม็ด และยาเม็ดรวมแก้ไข้หวัดที่มีตัวยาพาราเซตามอลผสมอยู่ เนื่องจากเป็นยาที่ผู้คนหาซื้อได้ง่าย และส่วนมากมักซื้อทานเอง จึงควรทำความรู้จักยาเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสม และไม่ให้เกิดการรับประทานซ้ำซ้อน ซึ่งรายการมีดังแสดงต่อไปนี้
ยาน้ำสำหรับเด็ก มีความเข้มข้นต่างๆ ดังนี้
**ทั้งนี้ให้คิดตามน้ำหนักตัวของเด็กแต่ละคน เพราะบางทีเด็กที่อายุน้อย อาจน้ำหนักตัวมาก ซึ่งการกินยาในความเข้มข้นน้อยเพียง 1 ช้อนชา อาจไม่สารมารถรักษาอาการได้ดังนั้นให้คำนวณขนาดยาให้ได้ประมาณ 10 – 15 มก./กก. ของน้ำหนักตัวเด็ก |
ยาเม็ดสำหรับผู้ใหญ่ และเด็กที่สามารถทานยาเม็ดได้และมีน้ำหนักตัว 40 กก. ขึ้นไป มีความเข้มข้นต่างๆ ดังนี้
|
ยาเม็ดรวมแก้ไข้หวัดที่มีตัวยาพาราเซตามอลผสมอยู่ ได้แก่
|
ปัญหาที่พบได้จากการใช้ยา
- ลืมรับทานยาต้องทำอย่างไร
ให้ทานทันทีที่นึกได้ และทานเม็ดต่อไปหลังจากนั้น 4 – 6 ชั่วโมง โดยไม่ต้องทานทีเดียว 2 เท่า
เพื่อชดเชยที่ลืม
- ได้รับยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม
ตัวอย่างที่ 1: ผู้ปกครองมีลูก 2 คน อายุ 4ปี และ 9ปี ทั้ง 2คน มีอาการปวดหัว ตัวร้อนพร้อมๆกัน จึงซื้อยาน้ำพาราเซตามอลสีชมพูมา 1 ขวด โดยให้ลูกทั้ง 2 คนทานในปริมาณ 1 ช้อนชาเท่ากัน
จากตัวอย่างนี้ยาน้ำพาราเซตามอลสีชมพู (รสสตรอเบอร์รี่) มีตัวยาพาราเซตามอล250 มก./ช้อนชา การให้ยานี้แก้เด็ก 4 ปี จะทำให้เด็กได้ยาในปริมาณที่มากเกินไปและหากรับประทานติดต่อกันหลายวันอาจส่งผลให้เกิดพิษต่อตับของเด็กได้ ตัวอย่างที่ 2: หมอจ่ายยายาน้ำพาราเซตามอลเป็นรสส้ม แต่ลูกไม่ชอบรสชาติ จึงไปซื้อเองที่ร้านยาเป็นรสสตรอเบอรี่
จากตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าลักษณะยาเหมือนกัน แต่ปริมาณยาในแต่ละสูตรไม่เท่ากัน โดยยาน้ำพาราเซตามอลรสสตรอเบอร์รี่มีตัวยาพาราเซตามอล250 มก./ช้อนชาส่วนยาน้ำพาราเซตามอลรสส้มมีตัวยาพาราเซตามอล120มก./ช้อนชาดังนั้นการทานในปริมาณเท่ากัน เด็กก็ได้รับปริมาณของตัวยาไม่เท่ากัน
- ทานยาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ตัว
มักเกิดเมื่อผู้ป่วยซื้อยาแก้ไข้หวัดแบบเม็ดรวม เช่น Decolgen®หรือ Tiffy®มาทาน และทานพาราเซตามอลร่วมด้วย โดยที่ไม่รู้ว่าในยาเม็ดรวมนั้นก็มียาพาราเซตามอลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงทำให้ผู้ป่วยได้รับยามากเกินความจำเป็น และอาจเพิ่มโอกาสเกิดพิษจากการใช้ยาได้
หลังจากรู้จักยาพาราเซตามอลทั้งหมดแล้ว เราควรเลือกใช้ยาให้ถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา “โรคหาย พิษภัยไม่มี” นะคะ☺
สิ่งใดก็ตามล้วนมีพิษ แม้กระทั่งน้ำบริสุทธิ์ มันขึ้นอยู่กับว่าเรากินมากกินน้อย
-Paracelsus-
เอกสารอ้างอิง:
- Erwin K, Steven K, Rivard R, Teri H, Ranee M, Wendy L, et al. Drug fact and comparison. 53rd ed. St. Louis, USA; 1999. p.1449-55
- เภสัชกรสมเฮง นรเศรษฐีกุล. ยาแก้ปวดลดไข้. คู่มือประกอบการฝึกปฏิบัติงานเภสัชกรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร; 2556. หน้า1-3
- Paracetamol 500mg tablets [online]. 2014 [cited 2014 Jul 1] Available from: http://www.medicines.org.uk/emc/medicine/18127/PIL
- Leong WF, Judi C, Leean JA, Ghia T, Corazon SH, Zharmaine JN. Tiffy [online]. 2014[cited 2014 Jun 29] Available from: http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Tiffy/tiffy%20tablet-tiffy%20dey-...
- Leong WF, Judi C, Leean JA, Ghia T, Corazon SH, Zharmaine JN. Decolgen [online]. 2014[cited 2014 Jun 29] Available from: http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Decolgen/decolgen-decolgen%20prin...