อาชีวเวชศาสตร์ (ตอนที่ 3)

 

Bulletin (Octuber - December 1997 Vol.5 No.4)

  อาชีวเวชศาสตร์ (ตอนที่ 3)




การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคที่เกิดจากการทำงาน


โรคจากการทำงานเกิดจากอะไรบ้าง ?
ความเป็นพิษ (toxicity) คือความสามารถของสิ่งหนึ่งสิ่งใดใน การที่จะทำให้เกิดอันตราย (hazard) คือ โอกาสที่จะเกิดอันตรายจาก การใช้สิ่งหนึ่งสิ่งใดในสภาพแวดล้อมหนึ่งๆ

ในทางอาชีวเวชศาสตร์ ปัจจัยที่อาจเป็นอันตรายในขณะทำงาน สามารถแบ่งเป็น 4 แบบคือ

  1. อันตรายทางกายภาพ (physical hazard) ได้แก่ ความสั่นสะเทือน (vibration), ความร้อน (heat), เสียง (noise), รังสี (radiation) และการบาดเจ็บ (trauma)
  2. อันตรายจากชีววัตถุ (biological hazard) ได้แก่ การติดเชื้อโรค เช่น โรคไวรัสลงตับ, โรคเอดส์ และวัณโรค เป็นต้น
  3. อันตรายจากสารเคมี (chemical hazard) เกิดจากการสัมผัสกับสารละลาย (solvent), ผงฝุ่น (dust), ไอ (vapor) หรือก๊าซ
  4. ผลกระทบต่อจิตใจ (psychological hazard) ได้แก่ ความเครียด (stress) และปัญหาเกี่ยวข้องกับกะงาน (work shift)

การซักประวัติผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคจากการทำงาน

การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการทำงานนั้น จะต้องซักประวัติ อาการของโรคอย่างละเอียดเหมือนกับผู้ป่วยโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ดี แพทย์จะต้องซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานดังนี้
ประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการทำงาน
ประวัติปัจจุบัน
  1. อาการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทำงานหรือไม่ ? ดีขึ้นระหว่าง สุดสัปดาห์หรือพักร้อนไหม ? เลวลงเมื่อกลับมาทำงานไหม ?
  2. ผู้ป่วยเคยสัมผัสกับวัตถุอันตราย สิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายโดย ตรงหรือไม่ ?
  3. มีคนงานอื่นๆ ป่วยเป็นแบบเดียวกันหรือไม่ ?

ประวัติอดีต

  1. ประวัติการทำงานในอดีต
  2. ประวัติการสัมผัสกับวัตถุอันตรายหรือสิ่งที่ก่อให้เกิด อันตรายในอดีต
  3. ประวัติการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากการทำงานในอดีต

การซักประวัติตามระบบ

เหมือนกับการซักประวัติตามระบบโดยทั่วไป แต่ควรเน้นเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์และปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ

ประวัติการทำงาน

  1. บรรยายลักษณะงานที่ทำ และสภาพของที่ทำงานโดยละเอียด
  2. ระบบการไหลเวียนอากาศในที่ทำงาน
  3. การใช้เครื่องป้องกันอันตรายต่างๆ
  4. สุขอนามัยส่วนบุคคลเช่น สถานที่รับประทานอาหาร ที่ที่สูบบุหรี่ การล้างมือ หรืออาบน้ำหลังเลิกงาน
  5. การทำงานนอกเวลา
  6. การขาดงาน
  7. การตรวจร่างกายก่อนเข้างานและการตรวจประจำ
  8. ผลการตรวจน้ำหรืออากาศในโรงงาน ตามหลักเกณฑ์ของสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (industrial hygiene)

ประวัติสิ่งแวดล้อม

  1. สภาพแวดล้อมที่บ้าน โรงงานที่อยู่ใกล้เคียง หรือสภาพ แวดล้อมโดยทั่วไป
  2. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่นที่อาจเกี่ยวข้องได้แก่ งานอดิเรก อาชีพของคู่สมรส พฤติกรรมหรือสุขภาพของสัตว์เลี้ยง

การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการทำงาน

แพทย์ควรตรวจผู้ป่วยดังกล่าวเป็นระบบโดยละเอียดเหมือนกับผู้ป่วยโดยทั่วไป อย่างไรก็ดี แพทย์จะต้องเน้นการตรวจหารอยโรคที่อาจเกี่ยวข้องกับภาวะโรคที่เกิดจากการทำงานตามระบบต่างๆ ดังนี้