Sarin

 

Bulletin (April - June 1995 Vol.3 No.1)

          กรณีการก่อวินาศกรรมลอบวางแก๊สพิษที่สถานีรถไฟและขบวนรถไฟใต้ดินหลายแห่งในกรุงโตเกียว 

ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเช้าวันที่ 20 มีนาคม 2538นั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ศพ และเจ็บป่วยนับพันคน Sarin ถูกระบุว่า เป็นแก๊สพิษที่ผู้ก่อการร้ายใช้ในการก่อเหตุสะเทือนขวัญในครั้งนี้
             
           Sarin เป็นอาวุธพิษ (Warfare agent) ตัวหนึ่งในกลุ่มสารพิษต่อระบบประสาท (Nerve agents) 
ซึ่งใน กลุ่มนี้ยังรวมถึงสาร Tabun, Soman, VX อาวุธพิษดังกล่าวนี้ ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้ง
ที่ 1 และ 2 ทั้งหมดเป็นสาร Organophosphates เช่นเดียวกับที่ใช้เป็นสารเคมีกำจัดแมลง แต่มีพิษร้ายแรง
กว่าและเกิดรวดเร็วกว่ามาก โดยถูกดูดซึมได้ดีทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว โดย hepatic microsomal enzymes เปลี่ยน sulfur ให้เป็น oxygen สารที่เกิดขึ้นจะจับกับ Acetylcholinesterase enzyme (AChE) แบบ irreversible ทำให้ทำงานไม่ได้ ปกติ Acetylcholine 
(ACh) เป็น neurotransmitter พบที่ sympathetic ganglion, parasympathetic postganglion, neuromuscular junction และ central nervous system (CNS) เมื่อ AChE ทำงานไม่ได้ทำให้มี ACh มากเกิน จึงเกิดอาการจำเพาะจากการกระตุ้นระบบประสาทนั้นๆ คือ
  • muscarinic effects ได้แก่ increased salivation, increased sweating, bronchial constriction, nausia, vomiting, diarrhea
  • nicotinic effects ได้แก่ pallor, tachycardia, elevation of blood pressure
  • neuromuscular junction ได้แก่ muscular twitching, fasciculation, weakness including muscles of respiration
  • CNS effect ได้แก่ anxiety, restlessness, generalized weakness, coma, cyanosis, fall in blood pressure
          สาเหตุการตายที่สำคัญคือ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต และการกดศูนย์ควบคุมการหายใจ อย่างไรก็ตาม อาการและความรุนแรงของการเกิดพิษขึ้นอยู่กับ route of exposure ถ้าได้รับทางผิวหนังใน lethal dose ใช้เวลาในการดูดซึมประมาณ 2นาที และอาจตายในเวลา 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าได้รับทางการหายใจอาจตายได้ในเวลาไม่ถึง 15 นาที ขณะที่การได้รับทางปาก อาการจะเกิดประมาณ 30-60 นาที
             Sarin อาจอยู่ในรูปของเหลว หรือ vapor ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีชื่อทางเคมีว่า Isopropyl methylphosphonofluridate ซึ่งเป็นสารที่เกือบจะเป็น pure anticholinesterase agent ในรูปหยดของเหลวเล็กๆ บนผิวหนัง ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นความเร็วในการล้างพิษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่น ถ้าสามารถล้างพิษออกได้ภายใน 2 นาที จะมีโอกาสรอดชีวิต 80% ถ้าล้างพิษออกใน 5 นาทีโอกาสรอด 5% แต่ถ้าล้างพิษออกหลัง 10 นาที จะไม่มีโอกาสรอดชีวิต ส่วนยาต้านพิษ คือ pralidoxime และ atropine ยัง controversial
 
เรียบเรียงจาก:
 
  1. POISINDEX: Clinical Computerized Information System "Sarin" Vol. 83, March 1995
  2. สุรจิต สุนทรธรรม. ภัยจากอาวุธพิษ และ อุบัติภัยหมู่จากสารพิษ ตำราพิษวิทยา. (ระหว่างจัดพิมพ์)
  3. สมิง เก่าเจริญ. ภาวะเป็นพิษจาก organophosphates และ carbamates ตำราพิษวิทยา. (ระหว่างจัดพิมพ์)