มารู้จักกับ BBS กันเถอะ

 

Bulletin (April - June 1995 Vol.3 No.1)

          ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้จัดให้เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (Thailand Information Technology Year1995) การรณรงค์โดยใช้ปีแห่งเทคโนโลยีนี้ ก็เพื่อต้องการเน้นความ สำคัญของ เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการ
ที่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นคำกว้างครอบคลุมเรื่องต่างๆหลายด้านข้อมูลข่าวสารก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งปัจจุบันข้อมูล
ข่าวสารที่เกิดขึ้นมีอยู่มากมาย การสื่อสารข้อมูลจึงเกิดขึ้น ความหมายโดยทั่วไปของ การสื่อสารข้อมูลหมายถึง  การเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ วิทยุ ดาวเทียม
ฯลฯในปัจจุบันการใช้คอมพิวเตอร์รับ ส่งข้อมูลทำได้หลายวิธี เช่น

  • รับส่งข้อมูลระหว่างกันผ่าน modem ไป ตามสายส่ง

  • รับส่งข้อมูลผ่านระบบ Net work เช่น Local Area Network (LAN)

          Bulletin Board System (BBS) เป็นตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีที่สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ ผ่านสายโทรศัพท์ ข่าวสารที่เผยแพร่ใน BBS อาจเป็นข่าวสารทางการศึกษา ทางการค้า ข้อมูลที่ ต้องการโปรแกรม และการโต้ตอบกับผู้ใช้บริการในเครือข่ายนั้นๆ ซึ่ง ข่าวสารเหล่านั้นเป็นข่าวสารที่ ทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว และเสีย
ค่าใช้จ่ายไม่มาก โดยมี modem เป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนช่วยในการ เชื่อมโยงกับตลาดหลักทรัพย์ บริษัทโบรกเกอร์ ศูนย์ข้อมูลธนาคารที่เปิดบริการ โฮมออฟฟิศแบงกิง ศูนย์ข้อมูลทางการแพทย์และศูนย์ข้อมูลข่าวสารอื่นๆ modem นั้นมาจากคำว่า modulation คือการ แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์กลายเป็นสัญญาณแอนะลอกแล้วส่ง และ demodulation คือการแปลง สัญญาณแอนะลอกที่ได้รับจากสายส่งกลับมาเป็นสัญญาณแล้วส่งให้คอมพิวเตอร์ ความจำเป็นที่ต้องใช้ modem เนื่องจากสัญญาณแอนะลอกมีคุณสมบัติเหมาะที่จะส่งไปไกลๆมากกว่าสัญญาณ
ดิจิตอล เพราะว่าสัญญาณแอนะลอกจะเพี้ยนหรือมีรูปร่างผิดจากเดิมยากกว่าและสูญเสียกำลังในสายส่งน้อยกว่า ทำให้ส่งได้ระยะไกลมากขึ้น นอกจากนี้ราคาสายส่งและ อุปกรณ์เชื่อมต่อของสัญญาณแอนะลอกมี ราคาถูกกว่า
สัญญาณดิจิตอลมาก เราสามารถแบ่ง modem ตามการใช้งานได้เป็น 2แบบ คือ

  • modem ที่ใช้กับสายตรง (Leased Line) การส่งข้อมูลมักจะเป็นกลุ่มและมี software ควบคุม การรับส่งเฉพาะ เรียกว่า การรับส่งแบบ Synchonous modem ชนิดนี้มีข้อดีคือ สามารถรับส่งข้อมูล
    ได้ ด้วยความเร็วสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 9,600 bps) ส่วนมากใช้ในงานส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่นเครือข่าย
     ATM ของธนาคาร แต่มีข้อเสียคือเป็นการติดต่อระหว่างจุดที่ตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนจุดรับข้อมูลไปที่ 
    ต่างๆได้ จึงขาดความคล่องตัว

  • modem ที่ใช้กับสายโทรศัพท์ (Dial Up Line) ชนิดนี้รับส่งข้อมูลด้วยความเร็วตั้งแต่ 300-9,600 bps การรับส่งข้อมูลจะเป็นการรับส่งทีละตัวอักษร ไม่ส่งเป็นกลุ่มเรียกว่ารับส่งแบบ Asynchonous modem ที่ใช้อยู่ตามศูนย์ข้อมูล หรือ BBS ในประเทศไทยขณะนี้ จะใช้ modem แบบนี้ ในการทำงานและมีความเร็ว
    ในการรับส่งข้อมูล 1,200-2,400 bps แต่ศูนย์ข้อมูลใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น จะใช้ modem ที่มีความเร็วสูงมาก
    ขึ้นมาอีกคือ 9,600 bps ซึ่งถือว่าเป็นความเร็วสูงสุดที่เชื่อถือได้สำหรับ คุณภาพสายโทรศัพท์ในบ้านเรา
    ข้อดีของ modem ชนิดนี้คือ มีความคล่องตัวสูง สามารถรับส่งข้อมูล ไปยังที่ต่างๆ ได้ไม่จำกัด ข้อเสียคือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่า modem แบบสายตรง โดยเฉพาะ การรับส่งข้อมูลจำนวนมากไปยัง
    จุดปลายทางจุดเดียวในระยะทางไกลๆ เป็นประจำค่าโทรศัพท์อาจแพง กว่าการเช่าวงจรสายตรงมาใช้

          สำหรับ BBS เป็นศูนย์บริการข้อมูลต่างๆ โดยผ่าน ทางคอมพิวเตอร์และสายโทรศัพท์หลายแห่ง เปิดบริการ 
24 ชั่วโมงและหลายแห่งเปิดบริการแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่ต้องเสียค่าสมาชิก เราสามารถรับ และส่งข่าวสารต่างๆ 
กับ BBS ได้ หลักการสั้นๆ ของระบบ BBS มี :

  1. คอมพิวเตอร์ของศูนย์ที่เก็บข้อมูลเรียกว่า System operator (SysOp))

  2. คอมพิวเตอร์ของผู้ติดต่อเข้ามาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลเรียกว่า Userr

  3. การติดต่อเข้ามายัง BBS เรียกว่า remote login โดยอาศัย communication software เป็นตัวติดต่อ 
    ผ่าน modem และสายโทรศัพท์

  4. User สามารถใช้ข้อมูลบน BBS ได้โดยตรงจากการอ่านหน้าจอ

อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการติดต่อเข้ามายัง BBS

  1. microcomputer IBM/PC หรือ compatible รุ่นใดๆ ก็ได้

  2. modem

  3. communication softwares เช่น Telix, PC anyware

  4. คู่สายโทรศัพท์ 1 เลขหมาย สำหรับเชื่อมระหว่าง BBS และคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องการใช้ข้อมูล

          อย่างไรก็ตามการติดต่อกับ BBS นั้น เมื่อ modem ของเราติดต่อกับ BBS ได้แล้ว ในฐานะสมาชิก ใหม่ 
(New user) จะต้องตอบแบบสอบถามต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อน เพื่อเก็บเป็นประวัติไว้ใช้ในการติดต่อ ครั้งต่อไป 
ซึ่งรวมถึง password หรือรหัสผ่านที่เราจะต้องกำหนดไว้ด้วย การใช้งานจะถูกจำกัดด้วยระยะ เวลาที่ BBS ให้เราไว้ในแต่ละวัน เช่น สมาชิกใหม่อาจได้เวลาเพียงวันละ 15 นาที เป็นต้น ดังนั้นเราจึงต้องมีการ เตรียมตัว
ที่ดีก่อนที่จะติดต่อกับ BBS เพื่อใช้เวลาน้อยที่สุด เป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกคนอื่นได้ใช้ มากขึ้นด้วย เมื่อตอบคำถาม
เรียบร้อยแล้วก็สามารถเข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ใน BBS ได้ตาม ข้อกำหนดของ BBS แห่งนั้น การใช้บริการของ 
BBS จะสะดวกมากเนื่องจากจะมีเมนูให้เลือก แต่ก่อน อื่นใดทั้งหมดเราควรจะรู้ถึงวิธีใช้งาน communication software ที่เรามีอยู่ให้ดีเสียก่อน

เอกสารอ้างอิง:

  1. สมพงษ์ บุญธรรมจินดา. คู่มือติดตั้งและการใช้งาน โมเด็ม/แฟกส์โมเด็มด้วยตนเอง. ซีเอ็ดยูเคชั่น (มหาชน), 2537

  2. สุพจน์ ปุณณชัยยะ. Modem. ด่านสุทธาการพิมพ์ (พิมพ์ครั้งที่ 2), 2535

  3. The simple Modem Book. USA: Bill Potts, 1993