ภัยจากอาวุธพิษ และอุบัติภัยหมู่จากสารพิษ

 

ภัยจากอาวุธพิษ และอุบัติภัยหมู่จากสารพิษ

    

อาวุธพิษ หมายถึง อาวุธที่ประกอบด้วยสารซึ่งได้จากกระบวนการทางเคมี หรือชีววิทยาเช่น จุลินทรีย์, รา หรือสิ่งมีชีวิตอื่น มีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพ หรือผลต่อชีวิตมนุษย์, สัตว์, พืช และยุทโธปกรณ์ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อม

มนุษย์ได้มีการใช้สารพิษเป็นอาวุธมา ตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น จีนใช้ควันกำมะถัน, อินเดียใช้สารรมให้สลบ แต่ก็ไม่ได้ผลมากนัก อังกฤษเป็นชาติแรกที่นำอาวุธพิษมาใช้ในการรบได้แก่ การใช้หมอกควันกำมะถัน ที่เมืองชีบาสโตโบล ในสงครามแหลมไครเมียเมื่อ พ.ศ. 2437 และเมื่อ พ.ศ. 2443-2445 ได้ใช้ picric acid บรรจุกระสุนปืนใหญ่ในการทำสงครามกับพวกมัวร์ เป็นต้น
                   

วันที่ 27 เดือนเมษายน พ.ศ. 2458 ถือได้ว่าเป็นวันประวัติศาสตร์ของการใช้สารพิษในการสงคราม เนื่องจากเยอรมันได้นำอาวุธพิษมาใช้ในสงครามขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก โดยปล่อยแก๊สคลอรีนจำนวนหกพันท่อบรรจุ ไปยังแนวระวังของทหารฝ่ายพันธมิตร ซึ่งตั้งรับอยู่ที่เมืองเลเปอร์ ทหารฝ่ายพันธมิตรซึ่งไม่เคยเรียนรู้ และไม่มีระบบป้องกัน เสียชีวิตทันทีถึง 5,000 คน และในสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการใช้อาวุธพิษอย่างกว้างขวาง ประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากอาวุธพิษถึง 100,000 คน และได้รับบาดเจ็บประมาณ 1,200,000 คน        จากประสบการณ์นี้ทำให้นานาประเทศร่วมมือกันสร้างสนธิสัญญาต่างๆ ขึ้นมา เพื่อกำจัดและขัดขวางการสร้าง, การสะสม และการใช้อาวุธพิษ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งได้มีบางประเทศฝ่าฝืนข้อตกลงดังกล่าว แต่ก็เป็นสงครามขนาดเล็ก และพิธีสารเมืองเจนีวา พ.ศ. 2468 ไม่มีข้อห้ามการใช้อาวุธเพลิง และสารทำลายพืช นอกจากนี้สหรัฐอเมริกาและชาติอื่นๆ ไม่ถือว่าสารปราบจลาจลเป็นอาวุธที่ห้ามใช้ เพราะมิได้ทำอันตรายร้ายแรงต่อผู้ที่ได้รับและมีการใช้ในการปฏิบัติงานของตำรวจอยู่เป็นประจำ
                 

 จากการพิสูจน์ทราบของผู้เชี่ยวชาญจากสหประชาชาติและชาติที่เป็นกลาง ได้พบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า ได้มีการนำอาวุธพิษมาใช้กันอีกเช่น การบุกยึดครองอาฟริกานิสถานของโซเวียตในปี พ.ศ. 2522 และในสงครามระหว่างอิรัก-อิหร่าน ก็มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ทำให้ต้องตระหนักถึงภัยของอาวุธพิษเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกรณีการเกิดอุบัติภัยหมู่จากสารพิษ
ถ้ามีการใช้อาวุธพิษ ในสงครามที่จะเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้นี้จะแตกต่างจากในสงครามโลกครั้งที่ 1 อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากได้มีการสร้างและสะสมสารพิษชนิดใหม่ ๆ เช่น สารพิษทำลายประสาท, สารพิษจากเชื้อรา เป็นต้น รวมทั้งระบบการโจมตีด้วยอาวุธในปัจจุบันนั้น มีความรุนแรงของการโจมตี ทั้งในด้านปริมาณและระยะ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อฝ่ายที่ไม่มีระบบป้องกัน, ไม่มีความรู้ และไม่มีความพร้อม อาวุธพิษมีหลายชนิด อาจแบ่งเป็นกลุ่มตามจุดประสงค์การใช้ ดังนี้

สารปราบจลาจล (Riot control agents)

สารก่อความไร้สมรรถภาพ (Incapacitating agents)

สารสังหาร (Lethal agents)

สารพิษชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้ในการบ่อนทำลาย และก่อวินาศภัย
 

 เอกสารอ้างอิง
  1. Abstract and proceeding of the first world congress: new compound in biological and chemical warfare. Ghent, May;21-3: 1984.
  2. Abstract and proceeding of the second world congress: new compound in biological and chemical warfare. Ghent, August;24-7: 1986.
  3. Siedell FR. What to do in case of an unthinkable chemical warfare attack or accident. วารสารแพทย์หลังปริญญา, กุมภาพันธ์; 2534.
  4. French association for the development of nuclear biological chemical equipment, defense NBC. Paris; 1987.
  5. Martha Windholz et al. The Merck Index, Merck & Co. Inc., Rathway, NJ. USA; 1983.
  6. The US army medical reserach institute of chemical defense, Medical management of chemical causalties; 1984.