คลินิกใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (PEG)

คลินิกใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง
Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG)

ศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและห้องปฏิบัติการประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว เปิดให้บริการคลินิกใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 ซึ่งให้บริการผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการใส่สายอาหารทางหน้าท้อง โดยมีการใช้หลักการป้องกันโรค Prophylaxis เพื่อป้องกันภาวะบกพร่องทางโภชนาการในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพ หรือข้อจำกัดในการรับประทานอาหารด้วยตนเอง ทำให้การรักษาสามารถดำเนินได้ครบถ้วนส่งผลที่ดีในการรักษา

สายให้อาหารทางหน้าท้อง คืออะไร

Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG) คือ การใส่สายอาหารทางหน้าท้องโดยใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารใส่เข้าทางปากผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารแล้วเจาะผนังหน้าท้องเพื่อใส่สายอาหาร วิธีการนีี้ง่ายสะดวก ปลอดภัย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกเพียงเล็กน้อย การใส่สายอาหารทางหน้าท้อง เป็นการให้อาหารกับผู้ป่วยในระยะยาวและได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องส่วนใหญ่ มีพยาธิสภาพของโรคบริเวณช่องปาก ลำคอ และหลอดอาหาร บางรายเป็นผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพทางสมอง ดังนั้นการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อปรึกษาหรือพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหาร เพื่อให้ได้รับการวางแผนและดูแลการใส่สายให้อาหารทางห้าท้องอย่างถูกต้อง จะใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมงในการพบแพทย์เพื่อกำหนด วัดนัดทำหัตถการ การจองเตียงนอน และการเตรียมผู้ป่วยก่อนทำหัตถการ

ดังนั้น ทางศูนย์ส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและห้องปฏิบัติการประสาททางเดินอาหารและการเคลื่อนไหว จึงริเริ่มเปิดการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว One-Stop Service ประสานกับสหสาขาวิชาชีพ เช่น Nutrition, หน่วยพยาบาลเยี่ยมบ้าน เป็นต้น เพื่อลดขั้นตอนการติดต่อให้รวมเร็วขึ้น มีการให้ความรู้ และเพิ่มทักษะในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและญาติก่อนได้รับการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้องและการดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล

วิธีการทำความสะอาดแผล

  1. ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
  2. ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกหลังใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง ควรทำความสะอาดแผลทุกวันด้วยวิธีปราศจากเชื้อ โดยใช้น้ำยาเช็ดแผล 2% Chlorhexidine และปิดผ้าก๊อซปราศจากเชื้อ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลอย่างเคร่งครัด
  3. ในระยะต่อมาเมื่อแผลหายติดดี ไม่มีอาการอักเสบบวมแดง ควรปฏิบัติ ดังนี้
    - ก่อนอาบน้ำให้ปิดปลายสายให้อาหารให้สนิท เอาผ้าก๊อซออก ทำความสะอาดแผลโดยใช้น้ำเกลือหรือน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดทำความสะอาดและเช็ดให้แห้งทันที

การดูแลแผลบริเวณรอบสายให้อาหารทางหน้าท้อง

  • อุปกรณ์
  • 2% Chlorhexidine 
  • ชุดทำแผลที่ปราศจากเชื้อ (Set-Dressing)
  • พลาสเตอร์
  • ภาชนะสำหรับทิ้ง

ลักษณะแผลที่ควรระวัง

  1. มั่นสังเกตอาการบวมแดงและรอบๆ สาย ซึ่งเป็นอาการบ่งบอกถึงการติดเชื้อ
  2. หากมีตุ่มหนาๆ ขึ้นบริเวณรอบๆ สายทำให้มีเลือดหรือสารคัดหลั่งซึมออกมาได้ให้ติดต่อแจ้งอาการพยาบาลประจำศูนย์ส่องกล้องฯ 02-201-4461 ถึง 2 ในเวลาราชการ
  3. ในกรณีที่สายให้อาหารทางหน้าท้องหลุด ปิดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาดและติดต่อพบแพทย์ใกล้บ้านภายใน 4 ถึง 6 ชั่วโมง

ชนิดของอาหารที่ให้ทางสายอาหารทางหน้าท้องแบ่งเป็น 2 ประเภท

  • นมสำเร็จรูปพร้อมใช้ หรือนมผสมที่ชงเอง
  • อาหารปั่นเหลวที่แนะนำโดยนักโภชนาการของโรงพยาบาลหรือแพทย์ ในปริมาณที่เหมาะสม

การจัดท่าผู้ป่วยขณะให้อาหาร

ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือถ้าผู้ป่วยติดเตียงให้นอน และควรให้อยู่ในท่ายกศรีษะสูง 45 องศา หลังให้อาหารเสร็จ อย่างน้อย 30 ถึง 60 นาที

วิธีการให้อาหารแบบให้ปริมาณทั้งหมดในเวลาสั้นๆ 

  1. ล้างมือให้สะอาดแล้วเช็ดให้แห้ง
  2. เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม ประกอบด้วย นมหรืออาหารปั่นเหลว กระบอกฉีดยาพร้อมลูกสูบ (ไซรินจ์) ขนาด 50CC สำหรับใส่อาหารหรือน้ำสะอาด
  3. นำกระบอกฉีดยาต่อเข้ากับช่องให้อาหารตรงปลายสาย
  4. ตรวจสอบปริมาณอาหารที่เหลือค้างอยู่ในกระเพาะก่อนให้อาหารมื้อใหม่ ถ้าเหลือมากกว่า 50CC ให้เลื่อนเวลาให้อาหารไป 30 ถึง 60 นาที
  5. เริ่มต้นให้อาหารโดยการปิดสายให้อาหารด้วยตัวหนีบ (Clamp) เพื่อป้องกันอาหารเก่าไหลย้อนออกมา (หากถ้าไม่มีตัวหนีบให้ใช้นิ้วพับสายไว้แทน) หลังจากนั้น เทอาหารเหลวใส่กระบอกโดยเอาแกนในออกในปริมาณที่ต้องการ ปลดตัวหนีบ อาหารจะไหลเข้าไปในกระเพาะอาหาร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อลดระยะเวลาการเข้ารับบริการในการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง
  2. เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการดูแลผู้ป่วยใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง
  3. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการรับบริการของผู้ป่วยและญาติ
  4. เพื่อเพิ่มความพึงพอใจในการลดภาระงานของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง
  5. เพื่อลดระยะเวลาการพักฟื้นในโรงพยาบาล

คลินิกใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง Percutaneous Endoscopic Gastrostomy (PEG) คือการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง โดยการใช้กล้องส่องกระเพาะอาหารทางปาก และผ่านหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะอาหาร แล้วจึงเจาะผนังทางหน้าท้องเพื่อใส่สายให้อาหาร ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมถึงผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงในการผ่าตัด

สายให้อาหารทางหน้าท้อง มีจุดประสงค์เพื่อให้อาหารสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดภาวะขาดโภชนาการ 

การดูแลสายให้อาหารทางหน้าท้อง

  1. ข้อควรระวังอย่างยิ่งในการดูแลสายให้อาหารทางหน้าท้อง คือ การป้องกันการอุดตันของสาย สาเหตุของการอุดตัน ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเศษอาหารตกค้างในสายให้อาหาร เนื่องจากการล้างสายด้วยน้ำตามหลังการให้อาหารยังไม่สะอาด หรืออาจเกิดจากการให้อาหารที่ข้นเหนียวเกินไป หรือการให้ยาที่บดไม่ละเอียด และไม่ได้ให้น้ำตามหลังการให้ยา

การป้องกันการอุดตันของสาย

สามารถทำได้โดยให้น้ำหลังให้อาหารหรือนมทุกครั้ง ปริมาณอย่างน้อย 30 ถึง 50 CC 

- ให้น้ำ ก่อนและหลังให้ยาทุกครั้ง

- ควรให้น้ำ อย่างน้อยทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง

  • ให้น้ำทุกครั้งหลังจากการตรวจสอบปริมาณอาหารที่เหลือในกระเพาะอาหาร โดยไม่ได้ให้อาหารหรือนมต่อ
  • ถ้าสงสัยว่าสายอุดตันให้ลองใช้กระบอกฉีดยาใส่น้ำอุ่นเข้าไปในสายแล้วค่อยๆ ล้าง
  1. ไม่ควรหักหรือพับงอสายนานเกินไป อาจทำให้สายแตกหัก พับงอหรืออุดตันได้
  2. ระวังอย่าให้สายแกว่งไปมามากเกินไป เพราะอาจทำให้แผลรูเปิดขยายใหญ่ขึ้นและเจ็บแผลได้
  3. ควรหมั่นตรวจสอบตำแหน่งของสายว่าอยู่ในตำแหน่งถูกต้อง โดยการตรวจสอบตัวเลขบนสายเหนือผิวหนังว่ามีการวางตัวเลขผิดตำแหน่งหรือไม่ และควรบันทึกตำแหน่งของสายให้อาหาร
  4. การเติมอาหารเพิ่มในกระบอกฉีดยา ควรเติมเมื่ออาหารเหลืออย่างน้อย ประมาณ 10 CC ระวังอย่าให้อาหารหมดจนกระบอกว่างเปล่า เพราะทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร ท้องอืดได้
  5. เมื่อให้อาหารครบถ้วนตามปริมาณที่ต้องการแล้วให้ยาหลังอาหาร (ถ้ามี) แล้วให้น้ำตามอย่างน้อย 30 - 50 CC
  6. ปลดกระบอกออก ปิดสายให้เรียบร้อย
  7. ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ให้อาหารทั้งหมดทันที