ภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Psychiatric and Mental Health Nursing
ปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ชื่อย่อ: พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)
ชื่อเต็ม: Master of Nursing Science (Psychiatric and Mental Health Nursing)
ชื่อย่อ: M.N.S. (Psychiatric and Mental Health Nursing)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรัชญาของหลักสูตร
การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน วินิจฉัย การดูแลช่วยเหลือ การบำบัดรักษาทางจิต การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพจิต และการสร้างเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยและความสามารถของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยทางจิต สร้างนวตกรรม แนวปฏิบัติ ในการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วยทางจิตเวชในเด็กและวัยรุ่น หรือ ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และทุกระยะของการเจ็บป่วยทั้งรายบุคคล และ กลุ่ม โดยเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับการรู้คิด อารมณ์ ตัวตนกับสุขภาวะ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ภาวะผิดปกติทางจิต ประสาทจิตเวชศาสตร์ จิตเภสัชวิทยา ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ รวมทั้งจริยธรรม จรรยาบรรณ กฏหมาย ศิลปะการพยาบาล และความเข้าใจในประสบการณ์และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดกระบวนการปฏิบัติและเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัว องค์กร และระบบบริการสุขภาพ
การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต สามารถติดตามความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่เสมอ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ ความสามารถ ดังนี้
1. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการและมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
3. สร้างมหาบัณฑิตที่ มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการพัฒนาพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
4. พัฒนามหาบัณฑิตที่มีทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ เป็นผู้นำและผู้ตามกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตนเอง
5. พัฒนามหาบัณฑิตที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและสารสนเทศในการสืบค้นและสื่อสารได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดการตัวเลข ข้อมูลทางการวิจัยและการพยาบาล
6. พัฒนามหาบัณฑิตที่มีทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทางการพยาบาลจิตเวชในการให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาจิตเวชและสุขภาพจิตทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้การปรึกษา/จิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา