หน่วยเภสัชวิทยา วิทยาคลินิกและพิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์

  • หน่วยเภสัชวิทยา วิทยาคลินิกและพิษวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์  ปรับเป็น  ศูนย์พิษวิทยา

 

ประวัติความเป็นมาของหน่วยฯ
ตั้งแต่เปิดคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ในปี พ.ศ.2512ได้จัดตั้งหน่วยเวชศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Medicine) สังกัดภาควิชาอายุรศาสตร์  เพื่อดูแลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากงานในด้านอุตสาหกรรม โดยมีนายแพทย์สมจิตต์  วิริยานนท์  เป็นหัวหน้าหน่วยฯ   หน่วยฯ ได้ดำเนินงานทางด้านการสอนนักศึกษาแพทย์  แพทย์ฝึกหัด  และแพทย์ประจำบ้าน  โดยเน้นทางด้านพิษวิทยาคลินิก และอาชีวเวชศาสตร์ (Occupational Health)     ต่อมาในปี พ.ศ.2522 ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยเป็น “หน่วยเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคลินิก”   เนื่องจากเทคโนโลยีและวิชาการทางด้านการแพทย์ได้เจริญไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ในแต่ละปีมีการนำยาใหม่ๆ เข้ามาใช้ไม่น้อย  ยาเหล่านี้แม้จะมีประสิทธิภาพที่ดี  ในขณะเดียวกันก็อาจมีอาการข้างเคียงของยามาก   นอกจากนั้นต้องมีการปรับยาให้เหมาะสมกับโรคและภาวะของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย  ทางด้านพิษวิทยาจากการที่สารเคมีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน ทำให้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคจากสารพิษมากขึ้น  ทางหน่วยฯ จึงได้พยายามนำวิชาการใหม่ๆ ใน 2 แขนงมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียน การสอน การวิจัย และการบริการ  ต่อมาในปี 2539 ได้ขยายงานของหน่วยฯ เป็น โครงการศูนย์พิษวิทยา จัดตั้งขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้สารเคมีกันอย่างแพร่หลายทั้งภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม  ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอย่างมาก แต่ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีเหล่านี้ยังมีน้อยทำให้ยากและล่าช้าต่อการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษได้ทันท่วงที และปัญหาการได้รับพิษดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นเป็นกรณีฉุกเฉินและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา 

หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน

1. ด้านการเรียนการสอน

                นักศึกษาแพทย์ ทางหน่วยฯ ได้จัดการเรียนการสอนทางด้านเภสัชวิทยาคลินิกให้ต่อเนื่องกับวิชาเภสัชวิทยาปริคลินิก  โดยมีการบรรยาย Clinical Applications of Pharmacology  สำหรับนักศึกษาแพทย์ปีที่ 3  เพื่อเป็นการแนะนำให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงประโยชน์ของวิชานี้เป็นพื้นฐาน ในส่วนชั้นปีที่ 4 หน่วยฯ ได้สอนวิชาเภสัชวิทยาคลินิกและพิษวิทยา ของภาควิชาอายุรศาสตร์ คือ Adverse Drug Reactions  ส่วนทางด้านพิษวิทยาก็มีการบรรยาย Rational Menagement of Poisoning และ Specific Common Poisoning เพื่อให้นักศึกษาสามารถที่จะให้การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยที่ถูกสารพิษได้

                 แพทย์ประจำบ้าน   หน่วยฯ ได้จัดให้มีการบรรยายแก่แพทย์ประจำบ้าน ในวิชาเภสัชวิทยาคลินิก หัวข้อ Principle of Therapeutics,  Emergency in Toxicology และทางหน่วยยังมีแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์ และจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลอื่นๆ หมุนเวียนมาปฎิบัติงานที่หน่วยฯ เป็นการเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ทางด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก

                 นักศึกษาปริญญาเอก-โท   หน่วยฯ ได้ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล,   คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเภสัชศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต  และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดสอนนักศึกษาปริญญาโทสาขาพิษวิทยาและ  Advanced Clinical Pharmacy  โดยการอภิปรายกลุ่มในปัญหาของยาที่อาจจะพบในเวชปฏิบัติ   รวมทั้งรับเชิญไปสอนในมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

2.  ด้านการบริการ

      2.1  การบริการผู้ป่วย

             2.1.1  แผนกผู้ป่วยนอก   แพทย์ที่ปฏิบัติงานในหน่วยฯ ได้ออกตรวจรักษาผู้ป่วย แผนกอายุรกรรมทั่วไป ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ   และรับปรึกษาปัญหาที่เกิดจากสารและสารเคมี  นอกจากนี้ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของยา ตลอดจนดูแลให้การรักษาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ

            2.1.2   แผนกผู้ป่วยใน   หน่วยฯ ได้ร่วมมือกับภาควิชาพยาธิวิทยาเปิดบริการตรวจวัดระดับยาในระหว่างการรักษา เพื่อที่จะให้การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพและหลีกเลี่ยงอาการข้างเคียงที่เกิดจากยา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยหนักที่มีปัญหาการดูดซึมยา  การกระจาย  และการกำจัดยา  เช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย  หรือโรคตับแข็ง     ทางหน่วยฯ ได้จัดให้มีการปรึกษาปัญหาผู้ป่วยที่หอผู้ป่วย  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยา ปัญหาอาการข้างเคียงของยา  และปัญหาปฎิกริยาต่อกันระหว่างยา  และเป็นการเรียนการสอนของทั้งนักศึกษาแพทย์ หรือแพทย์ประจำบ้านที่อยู่ตามหอผู้ป่วย     สำหรับผู้ปวยที่เป็นโรคที่เกิดจากสารพิษ   ทางหน่วยฯ ก็ให้การดูแลรักษาโดยตรง

          2.1.3  ด้านการบริการทางพิษวิทยาและเภสัชวิทยาคลินิก  ให้บริการทางการแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร และตอบคำถามทางด้านสารพิษและยา วิธีการวินิจฉัยและบำบัดรักษาภาวะเป็นพิษเฉียบพลัน

1.ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยา เช่น ข้อบ่งชี้ในการรักษา  ฤทธิ์ทางเภสัช วิทยา  การ ปรับขนาดยา ปฏิกริยาต่อกันระหว่างยา  และอาการข้างเคียง การปรับระดับยาในเลือดที่ให้ผลในการรักษาโรคต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและความรู้ใหม่ๆ ทางด้านยา

2. รับโอนย้ายผู้ป่วยหนักเนื่องจากได้รับสารพิษหรือเกิดพิษจากยาเพื่อการรักษาต่อเนื่อง

3. ให้บริการตรวจวิเคราะห์สารพิษ และวัดระดับยาทางห้องปฏิบัต

4.รวบรวมข้อมูล  สถิติและปัญหาทางด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยา เพื่อนำไปสู่การวางแผนในการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

 2.2  ด้านการบริการสังคม

            2.2.1   บริการตอบคำถามให้คำปรึกษา คำแนะนำในการวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยภาวะเป็นพิษจากยา และสารเคมี   ทางโทรศัพท์  โทรสาร  จดหมาย และ Internet

            2.2.2   เผยแพร่ข้อมูลทางด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยา โดยจัดทำจุลสารพิษวิทยา

(Poison &   Drug Information Bulletin)   ซึ่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยา กำหนดออกทุก 3 เดือน จัดส่งให้แก่โรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ และสมาชิกแพทย์บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจประมาณปีละ 4,800 ฉบับ

           2.2.3    ให้บริการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ    เป็นการตรวจสารตัวอย่างในชีววัตถุ (Biological specimen) จากโรงงานอุตสาหกรรม  ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลตลอดจนโครงการวิจัยต่างๆ ที่ขอความร่วมมือมา รวมทั้งติดต่อประสานงานกับห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีปริมาณงานปีละประมาณ 4,000-5,000 ตัวอย่าง

          2.2.4   งานให้บริการข้อมูลทาง Internet โดยมี

                Website คือ

                 1.  www.i.spectrum.com/poisonra

                 2.  www.ra.mahidol.ac.th/poisoncenter

              Email  : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  

3.  ด้านการวิจัย   หน่วยฯ ทำการศึกษาวิจัย โดยเน้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพิษวิทยาทางด้านยา สารเคมี และสิ่งแวดล้อม  เพื่อนำไปสู่การวางแผนป้องกัน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง  เนื่องจากปัญหาเรื่องข้อมูลเกิดพิษต่างๆ ในคนไทยมีอยู่น้อยมาก        นอกจากนี้ทางหน่วยฯ ยังได้สนับสนุนงานวิจัยทางด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยา ทั้งของบุคลากรภายในหน่วยฯ และได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันเช่น

                 1. การใช้ขนาดยาควินินที่เหมาะสมในผู้ป่วยมาลาเรียที่มีภาวะตับและไตวาย

                 2. การสืบค้นชื่อยาโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

                 3. การวิจัยปัญหาการแพร่ระบาดของยาบ้าในประเทศไทย

                 4. Lead level profile in workers at a battery foactroy : an eleven years study

                 5. Factor associatd with meternal blood lead levels.

                 6. Biological monitoring of cadmium, chromium and lead among the non-occupationally expose population.

                 7. Blood lead in a high risk occupational group

                8. Urinary chromium excretion of subjects with and without Diabetes Mellitus.

                9. การศึกษาระดับแคดเมียมและโครเมียมในเลือดและปัสสาวะของกลุ่มคนสุขภาพแข็งแรงที่ไม่ได้ทำงานสัมผัสกับโลหะหนัก (ทุนวิจัยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม)

              10. การศึกษาปริมาณสารปรอทในเลือดและปัสสาวะของกลุ่มคนปกติและกลุ่มเสี่ยง  (ทุนอุดหนุนการวิจัย เงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2544มหาวิทยาลัยมหิดล)

              11. การศึกษาระดับปรอทในเลือดและปัสสาวะของกลุ่มคนสุขภาพแข็งแรงที่ไม่ได้

สัมผัสกับปรอท  (ทุนอุดหนุนการวิจัย รายได้คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   ประจำปีงบประมาณ 2544  ประเภทการวิจัยประยุกต์และการวิจัยทางคลินิก)

             12. The RamathibodiPoisonCenter Toxic Exposure Surveillance System May

2000-April 2001 (ทุนสนับสนุนจาก Royal Thai Government-World Health Organization Collaborative Program)

             13. Non-Occupational Delerminants of Cadmium and Lead in Blood and Urine Among General Population in Thailand. 

ผลงานที่สำคัญของหน่วยฯ

1.  งานวิจัย

              1.1  ด้านเภสัชวิทยาคลินิก    ได้มีผลงานวิจัยอย่างกว้างขวาง   โดยเฉพาะปัญหาที่พบในประเทศไทย เช่น ปัญหาของการเลือกใช้ยาชื่อการค้า และชื่อสามัญ  โดยได้เสนอแนวทางการศึกษา Bioavailability และมีผลงานวิจัยต่อเนื่อง  ในเรื่อง Adverse Drug dreactions,  Therapeutic Drug Monitoring       นอกจากนี้ยังจัดให้มี lecture tour โรงพยาบาลตามต่างจังหวัด  ร่วมกับภาควิชาเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ในหัวข้อต่างๆ ทางเภสัชวิทยา  เป็นการประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ากับปัญหาทางคลินิก  และได้เผยแพร่ความรู้ดังกล่าวให้แก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์

             1.2  ด้านพิษวิทยาคลินิก   ได้มีการศึกษาวิจัยถึงการเป็นพิษที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เช่น เห็ดพิษ,  พิษจากแมงดาทะเล,  พิษจากตะกั่ว,  พิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์   ปัญหายาบ้าและอื่นๆ    นอกจากนี้ยังได้รวบรวมปัญหาทางพิษวิทยาและเภสัชวิทยา จัดพิมพ์เป็นหนังสือตำราพิษวิทยา 2 เล่มคือ  หนังสือเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และคาร์บาเบท พ.ศ.  2540   และหนังสือการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นพิษ พ.ศ.2541   

แนวทางการพัฒนาหน่วยในอนาคต

                หน่วยฯได้พัฒนางานทางด้านพิษวิทยาและเภสัชวิทยาให้เป็นที่รู้จักของแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป เพื่อกระตุ้นเตือนให้ตระหนักถึงอันตรายของยาและสารเคมีต่างๆ มีการวางแผนแก้ไข ป้องกัน การเกิดปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อให้อุบัติการณ์การเกิดพิษจากสารเคมีลดลง   ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินและยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อีกด้วย  นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาในด้านการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางพิษวิทยา และเภสัชวิทยาทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเน้นมุ่งพัฒนาโครงการศูนย์พิษวิทยาให้เป็นศูนย์พิษวิทยาแห่งชาติ 

ประโยชน์ของหน่วยฯ ศูนย์พิษวิทยาแก่วงการแพทย์และการสาธารณสุข

1. เป็นแหล่งให้คำปรึกษา คำแนะนำเมื่อมีผู้ได้รับพิษจากสารเคมี ยา พืชพิษและสัตว์พิษ  โดยสามารถวินิจฉัย บ่งชี้ถึงความรุนแรงของภาวะการเกิดพิษ   และกรองแยกผู้ที่ได้รับพิษที่ถูกต้อง  เหมาะสม  ศูนย์พิษวิทยาจึงสามารถ

ลดความรุนแรงของภาวะพิษ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่ต้องใช้ในการรักษาพยาบาล เช่น ค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยจะต้องเสียที่ห้องฉุกเฉิน  ค่ารถพยาบาล ค่ารักษาและตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกินความจำเป็น  รวมทั้งค่าเสียเวลาของผู้ป่วย ญาติและบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ 
2. เป็นแหล่งให้ข้อมูลกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในกรณีที่มีอุบัติภัยทางสารเคมี ให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ   ป้องกันการเกิดปัญหาที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน และป้องกันการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีในอนาคต    เช่น กรณีมีการรั่วไหลของก๊าซฟอสจีน,  สารอะคริโลไนไตรล์ 

3. มีบทบาทในการวางแผน กระตุ้นเตือนประชาชนทุกครั้งที่มีการระบาดของสารพิษเกิดขึ้น โดยผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จุลสาร และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ   นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเป็นพิษ ยกตัวอย่าง เช่น ไวน์มรณะ, พิษจากแมงดาทะเล, พิษจากปลาปักเป้า และพิษจากเห็ดพิษ เป็นต้น

4. เป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่ทันสมัยในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษ เป็นสถานที่ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้าน  เภสัชกร พยาบาล บุคลกรทางการแพทย์และนักศึกษา ทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน จากในประเทศและต่างประเทศ

5. เป็นแหล่งองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร โดยได้ผลิตตำรา และเป็นผู้ร่วมเขียนตำราและเอกสารทางวิชาการ  เพื่อใช้ในการค้นคว้า และวิจัยทางด้านพิษวิทยา ผลงานเป็นที่ยอมรับและแพร่หลายของศูนย์พิษวิทยา นอกจากจุลสารพิษวิทยาแล้วยังมี 

หนังสือตำราพิษวิทยา “หลักการวินิจฉัยและรักษาภาวะเป็นพิษ”  
หนังสือเกณฑ์มาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมท  ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา    กระทรวงสาธารณสุข 
หนังสือแนวทางการวินิจฉัย การปฐมพยาบาล และการดูแลรักษา ภาวะเป็นพิษจากพาราควอท 
 Assistant editor of Poisindex, Computerized Information System for Medicine and Industry, Micromedex, Inc., Colorado, U.S.A.
Editorial Board of INTOX Project, International Programme on Chemical Safety.  Collaboration by United Nations  Environment  Programme, International Labour Organization and World Health  Organization.
Management of Poisoning, A handbook for health care workers, Published by the World Health Organization in collaboration with the United Nations Environment Programme and the International Labour Organisation.
The Journal of Toxicological Sciences, Official Journal of The Japanese Society of Toxicology (Previous name: The Japanese Society of Toxicological Sciences) 
ผลงานเป็นที่ประจักษ์และดีเด่น                

1.   เป็นที่ยอมรับของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยได้รับอนุมัติให้จัดตั้งศูนย์พิษวิทยาขึ้น และมีที่ทำการเป็นของตนเองโดยเฉพาะ  พร้อมทั้งสนับสนุนในเรื่องบุคลากร  งบประมาณและกิจกรรมต่างๆของศูนย์ฯ

2.  เป็นที่ยอมรับของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลทั่วประเทศเมื่อมีปัญหาทางด้านสารพิษ

3.  เป็นที่ยอมรับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ซึ่งเป็นองค์กรที่สานต่อนโยบายรัฐบาลในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมประชาชนคนไทยทุกคน ให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ  โดยร่วมกับศูนย์พิษวิทยาในการพัฒนาระบบบริการให้คำปรึกษาเพื่อให้การดูแลรักษาผู้ที่ได้รับพิษครอบคลุมได้ทั่วประเทศ  ในการนี้ สปสช. กับ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำบันทึกข้อตกลงเรื่องการพัฒนาระบบพิษสารสนเทศและบริการให้คำปรึกษาเพื่อการควบคุมพิษ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป

ความคาดหวังในอนาคต

                ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับศูนย์พิษวิทยาในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการติดต่อขอรับบริการส่วนใหญ่จะเป็นจากประชาชน (ตารางที่ ๓, แผนภูมิที่ ๓ และ ๔) ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้แหล่งทรัพยากรจากศูนย์พิษวิทยา ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองเมื่อมีปัญหาทางด้านสารพิษได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น

 ผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์  หน่วยเภสัชวิทยาคลินิกและพิษวิทยา

1.Jintana  Sirivarasai, Sming  Kaojarern, Winia  Wananukul,  Preera  Srisomrarn.  Blood Cadmium and Cigarette Smoking in Non-occupationally Exposed People.  J Med Tech Phy Ther. 2003;15: 8-16.

2.Jintana  Sirivarasai, Sming Kaojarern, Chromium and Its Effects on Health.  Rama Med J 2003;26:61-7.

3.  Sirivarasai J, Kaojarern S, Wananukul W, Deechakwan W, Srisomerarn P.  Non-occupational lead and cadmium exposure and blood pressure in Thai men.  Asia Pac J Public Health, 2004;16:133-137.

4.  วงศ์วิวัฒน์  ทัศนียกุล, สุดา  วรรณประสาท, สุพัตรา  ปรศุพัฒนา, ปราโมทย์  มหคุณากร,วินัย  วนานุกูล (บรรณาธิการ), จารุวรรณ  ศรีอาภา.  หนังสือสาระพิษวิทยา และภาวะเป็นพิษในประเทศไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 2  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ตุลาคม 2548 หน้า 254-266.

5.   J Sirivarasai, S Kaojarern, K Yoovathaworn,  T Sura: Effect of organophosphate pesticide exposure on cholinesterase cativity and health impact among Thai agricultural workers. Chin J Pharmacol Toxicol 2006 June 20(3) p.195-196.

6. Winai  Wananukul.  Neurotoxicity of botulinum toxin and antitoxin therapy.  Chin J Pharmacol Toxicol 2006 June 20(3) p.184.

7.  Arthit  Sripirom. M.Sc., Winai  Wananukul, M.D.,  Thanyachai  Sura, M.D., Krongtong  Yoovathaworn, Ph.D.  A stugy on the Genetic Polymorphism of Paraoxonase 1 in Thai Population.  Mahidol University 2006.  (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท)

8.  Wanaukul W, Sriapha C, Tongpoo A, Sadabthammarak U, Wongvisakorn S, Kaojarern S.  Human poisoning in Thailand: The Ramathibodi Poison Center’s experience (2001-2004). Clinical Toxicology 2007;45:582-588.

9.  Sirivarasai J, Kaojarern S, voovathaworn K, Thanyachai S.  Paraoxonase ( PON1) polymorphism and activity as the determinanats of sensitibity to sensitivity to organophosphates in human subjects.  Chemico-Biological Interactions 2007;168:184-192. 

บทความทางวิชาการ  หน่วยเภสัชวิทยาคลินิกและพิษวิทยา
 1. จารุวรรณ  ศรีอาภา, อัจฉรา  ทองภู, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, สมิง  เก่าเจริญ. Chemical Weapons: Nerve agents. Poison & Drug Information Bullentin. 2546;1:3-5.
 2. อัจฉรา  ทองภู, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, สมิง  เก่าเจริญ,ธวัชชัย  ชินวิเศษวงศ์.  หน้ากากป้องกันอันตรายจากสารพิษ. Poison & Drug Information Bullentin. 2546;1: 6-10.

3. อัจฉรา  ทองภู, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, สมิง  เก่าเจริญ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products) ผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุง, ยาจุดกันยุง, และผลิตภัณฑ์กันยุงใช้กับเครื่องไฟฟ้า .Poison & Drug Information Bullentin. 2546;1:11-12.

4. อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อัจฉรา ทองภู, สมิง  เก่าเจริญ. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products)  ผลิตภัณฑ์กำจัดสัตว์กัดแทะ/หนู (Rodenticides) Poison & Drug Information Bullentin. 2546;2:21-21-23.

5. สมิง   เก่าเจริญ, วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference ไวน์ปลอมมรณะ  Poison & Drug Information Bullentin. 2546;3:33-34.

6. อัจฉรา  ทองภู, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products)    ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก (Miticide) Poison & Drug Information  Bullentin. 2546;3:35-36.

7. สมิง  เก่าเจริญ.  Solvent and Hydrocarbons. Poison & Drug Information Bullentin.2546;4:39-42.

8. จารุวรรณ  ศรีอาภา. พิษจาก Solvent และ Hydrocarbon ที่พบบ่อย Poison & Drug Information Bullentin. 2546;4:43-46.

9. สมิง  เก่าเจริญ.  Solvents and hydrocarbons: Volatile subtanfe abuse. Poison & Drug Information Bullentin. 2547;1:3-5.

10. สมิง  เก่าเจริญ, อัจฉรา  ทองภู.  ToxCase Conference. Poison & Drug Information Bullentin. 2547;1:6-7.

11. อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, จารุวรรณ  ศรีอาภา.  อันตรายจากสัตว์พิษในทะเล.Poison & Drug Information Bullentin. 2547;1:8-12.

12. อัจฉรา ทองภู,จารุวรรณ  ศรีอาภา.  พิษจากแมลงอันตรายใกล้ตัว. Poison & Drug Information Bullentin. 2547;2:15-20.

13. วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference .  Poison &Drug Information Bullentin. 2547;2:21-22.

14. จารุวรรณ  ศรีอาภา, อัจฉรา  ทองภู, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products)    ผลิตภัณฑ์ไล่แมลง (Insect Repellents)  Poison & Drug Information  Bullentin. 2547;2:23-24.

15. วินัย  วนานุกูล.  ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์จากสารเสพติดที่เป็นปัญหาปัจจุบัน(1). Poison & Drug Information Bullentin. 2547;3:27-29.

16. วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference .Poison & Drug Information Bullentin. 2547;3:30-31.

17. จารุวรรณ ศรีอาภา. เตือนอันตรายจากการบริหารยา cefotaxime เข้าทางหลอดเลือดดำเร็วเกินไป. Poison & Drug Information Bullentin. 2547;3:32.

 18. อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อัจฉรา  ทองภู.  ToxCase Conference. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บ หมัด เหาและไร Poison & Drug Information Bullentin. 2547;3:33-36.

19. วินัย วนานุกูล.  ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ สารเสพติดที่เป็นปัญหาในปัจจบัน (2).  Poison & Drug Information Bullentin. 2547;4:

20. สมิง  เก่าเจริญ, สุรจิต  สุนทรธรรม.  ToxCase Conference . Poison & Drug Information Bullentin. 2547;4:42.

21. สมิง  เก่าเจริญ. Heat Stroke (โรคลมความร้อน). Poison &Drug Information Bullentin. 2547;4:43-46.

22. อัจฉรา  ทองภู, จารุวรรณ  ศรีอาภา, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์. ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products)    ผลิตภัณฑ์กัดลาย และเช็ดทำความสะอาดกระจก.  Poison & Drug Information  Bullentin. 2547;4:47-48.

23. วินัย  วนานุกูล.  ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์จากสารเสพติดที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน (3). Poison & Drug Information Bullentin. 2548;1:3-5.

24. จิรรุจน์  ชมเชย, ชวศักดิ์  กนกกันฑพงษ์, วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference .Poison & Drug Information Bullentin. 2548;1:6-8.

25. สมิง  เก่าเจริญ.  Heat Stroke (โรคลมความร้อน) (ต่อ) . Poison & Drug Information Bullentin. 2548;1:9-10.

26. อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, จารุวรรณ  ศรีอาภา,อัจฉรา ทองภู.  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household Products)    ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องเงิน-เครืองทอง (Silver/gold polishing agents) Poison & Drug Information Bullentin. 2548;1:11-12.

27. วินัย  วนานุกูล.  ภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์จากสารเสพติดที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน (4). Poison & Drug Information Bullentin. 2548;2:15-16.

28. สมิง  เก่าเจริญ.  ภาวะเป็นพิษจาก Paraquat .Poison & Drug Information Bullentin. 2548;2:17-19.

29. วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference .Poison & Drug Information Bullentin. 2548;2:20-22.

30. จารุวรรณ  ศรีอาภา, อัจฉรา  ทองภู,อุมาพร  สดับธรรมรักษ์.  ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน ผลิตภัณฑ์สำหรับผม. Poison & Drug Information Bullentin. 2548;2:23-24.

31.สมยศ วงศกรพัฒนา,วินัย วนานุกูล.ToxCase Conference Acute orphenadrin poisoning. Poison & Drug Information Bullentin. 2548;3:27-29.

32. สมยศ  วงศกรพัฒนา, วินัย วนานุกูล.  Cytochronme P450 Drug Interaction Table (Update June 2005).  Poison & Drug Information Bullentin. 2548;3:30-32.

33. สุดา วรรณประสาท.  General Priniple of Drug Interaction . Poison & Drug Information Bullentin. 2548;3:33-36.

34. วินัย วนานุกูล.  Abamectin สารเคมีกำจัดแมลงตัวใหม่ที่ควรรู้จัก.  Poison & Drug Information Bullentin. 2548;4:39-42.

35. อรพิน  ธนพันธ์พาณิชย์, สุชัย  สุเทพารักษ์,  ToxCase Conference.  Poison & Drug Information Bullentin. 2548;4:43-45

36.อุมาพร  สดับธรรมรักษ์, จารุวรรณ  ศรีอาภา,อัจฉรา  ทองภู ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใน

บ้านเรือน (Household Products)    อันตรายจากน้ำหมึก (Ink Toxicity).  Poison & Drug Information  Bullentin. 2548;4:46-48.

37. วินัย  วนานุกูล.  สารพิษบอทูลินั่มจากหน่อไม้ปี๊บ.Poison &Drug InformationBullentin. 2549;1
38. วินัย  วนานุกูล,  ToxCase Conference.  Poison & Drug Information Bullentin. 2549;1:8-9.
39. สุนันท์  วงศ์วิศวะกร, จารุวรรณ   ศรีอาภา, อัจฉรา   ทองภู, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์,ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ (Automotive Products) .Poison & Drug Information Bullentin. 2549;1:10-12.
40. สุวัฒน์  ดำนิล, ธีระ  กลลดาเรืองไกร, ประพันธ์  เชิดชูงาม, ศุภชัย  รัตนมณีฉัตร. พิษภัยของ Glutaraldehyde ในโรงพยาบาล .Poison &Drug Information Bullentin. 2549;2:15-17.
41. กัมพล  อำนวยพัฒนพล, วินัย  วนานุกูล.  ToxCase Conference.  Poison & Drug Information Bullentin. 2549;2:18-20
42. สุนันท์  วงศ์วิศวะกร, จารุวรรณ   ศรีอาภา, อัจฉรา   ทองภู, อุมาพร  สดับธรรมรักษ์,น้ำยาหล่อเย็นและผลิตภัณฑ์ป้องกันการแข็งตัวของหม้อน้ำ (Antigfreeze and coolant) .Poison & Drug Information Bullentin. 2549;2:21-24. 
43. สุดา  วรรณประสาท.  พิษจากสารหนู (Arsenic Poisoning) .Poison & Drug Information Bullentin. 2549;3:27-32.

44. สุดา  วรรณประสาท.  ToxCase Conference (1).  Poison & Drug Information  Bullentin. 2549;3:33-34.

45. วินัย  วนานุกูล ToxCase Conference (2).  Poison & Drug Information  Bullentin. 2549;3:35-36.

46. พงศกร  อธิกเศวกพฤทธิ์, วินัย  วนานุกูล.  ภาวะเป็นพิษจากยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม Tricyclic (Tricyclic Antidepressant Toxicity).Poison & Drug Information Bullentin. 2549;4:39-43.

47. อารักษ์  วิบุลผลประเสริฐ, วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference  ภาวะเป็นพิษจากกรดกัดลายกระจก. Poison &Drug Information Bullentin. 2549;4:44-48.

48. สมิง  เก่าเจริญ, ข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับสาร Ephedrine.  Poison &Drug Information Bullentin. 2550;1:3.

49. อิศเรศ  พละเสถียร, วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference  Sertindole overdose Poison &Drug Information Bullentin. 2550;1:4-6.

50. ประพิมพ์พร  ฉันทวศินกุล, สุชัย  สุเทพารักษ์. ToxCase Conference  Metabolic acidosis with blindness. Poison &Drug Information Bullentin. 2550;1:7-8.

51. สรสิทธิ์  บุณยะวิโรจ, วินัย  วนานุกูล.  ToxCase Conference  Serotonin Syndrome. Poison &Drug Information Bullentin. 2550;1:9-12.

52. ปณิธาน  กวางวโรภาส, วินัย  วนานุกูล. Methemoglobinemia.  Poison &Drug Information Bullentin. 2550;2:15-17.

53. วินัย  วนานุกูล, จารุวรรณ  ศรีอาภา. ToxCase Conference Mushroom Poisoning Poison &Drug Information Bullentin. 2550;2:18.

54. วีระวรรณ  รัตนพิบูลย์, วินัย  วนานุกูล.Methanol intoxication. Poison &Drug Information Bullentin. 2550;2:19-24.

55. วินัย  วนานุกูล, จารุวรรณ  ศรีอาภา.  ToxCase Conference  Pyrethroids. Poison &Drug Information Bullentin. 2550;3:27-29.

56. Cytochrome P450 Drug Interaction Table (update August 2007)  Poison &Drug Information Bullentin. 2550;3:30-32.

57. วริต  คุปต์กาญจนากุล, วินัย  วนานุกูล.  พิษจากปลาปักเป้า (Puffy fish). Poison &Drug Information Bullentin. 2550;3:33-36.

58. ธานินทร์  โลเกศกระวี, วินัย  วนานกุล. พิษจากมะเขือบ้า. Poison &Drug Information Bullentin. 2550;4:39-41.

59. ดิสวิน  ภู่วุฒิกุล, วินัย  วนานกูล Scorpion envenomation (พิษจากแมงป่อง). Poison &Drug Information Bullentin. 2550;4:42-45.

60.สุดา วรรณประสาท.สารกำจัดวัชพืช ไกลโฟเสท(Glyphosate)พิษจากปลาปักเป้า(Puffy fish).Poison &Drug Information Bullentin.2550;4:46-48.

61. ทัศนวุฒิ  เธียรปัญญา, วินัย  วนานุกูล.  พิษจากตะขาบ. Poison &Drug Information Bullentin. 2551;1:3-4.

62. พลศร  ตริยาวธัญญา, วินัย  วนานุกูล. ยาที่ใช้ในการล่วงละเมิดทางเพศ. Poison &Drug Information Bullentin. 2551;1:5-7.

63.ชัยพฤกษ์  ศรีประพันธ์, วินัย  วนานุกูล. ToxCase Conference  พิษจากสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน. Poison &Drug Information Bullentin. 2551;1:8-12.

64. สมิง  เก่าเจริญ. พิษจากการรับประทานเครื่องในปลาคาร์ฟดิบ. Poison &Drug Information Bullentin. 2551;2:27-28.

65. อเนก  หล้าเพชร, สุดา  วรรณประสาท. เหตุเพราะเห็ดพิษ Poison &Drug Information Bullentin. 2551;2:29-32.

66. สลิตา  ศรีหนา, วินัย  วนานุกูล.  Hymenoptera (Bees, Wasps, Hornets) ผึ้ง ต่อ แตน Poison &Drug Information Bullentin. 2551;2:33-36.  

คณะผู้ดำเนินงานศูนย์พิษวิทยา  (หน่วยเภสัชวิทยาคลินิกและพิษวิทยา)
             ๑.   นายแพทย์สมิง  เก่าเจริญ   ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐

             ๒.  นายแพทย์วินัย  วนานุกูล  รองศาสตราจารย์ ระดับ ๙

             ๓.  นางสาวจารุวรรณ  ศรีอาภา   นักวิทยาศาสตร์ (ชำนาญการ) ระดับ ๘

             ๔.  ดร.นางสาวจินตนา  ศิริวราศัย      นักวิทยาศาสตร์ (ชำนาญการ) ระดับ ๘

             ๕.  นางสาวอัจฉรา  ทองภู   นักวิทยาศาสตร์ (พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน)

             ๖.  นางสาวสุนันท์  วงศ์วิศวะกร   นักวิทยาศาสตร์ (พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้คณะฯ)

             ๗.  นางสาวภาณี  ฤทธิเลิศ  นักวิทยาศาสตร์ (พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้คณะฯ)

             ๘.  นางนิตยา  กล่อมจิต  ผู้ปฏิบัติงานบริหาร ระดับ ๖

             ๙.  นายพีระ  ศรีสำราญ  เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับ ๓

             ๑๐.  นางโสพิน  อามาตรทัศน์  ลูกจ้างเงินนอกงบประมาณ 

ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาของศูนย์วิทยา

             ๑.  ศ.ดร.อำนวย  ถิฐาพันธ์  ที่ปรึกษาคณบดี ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

             ๒. ผศ.นพ.สุชัย สุเทพารักษ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

             ๓. พ.อ.นพ.สุรจิต สุนทรธรรม  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

             ๔. รศ.พญ.สุดา  วรรณประสาท  ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น

             ๕. ผศ.นพ.ธีระ  กลลดาเรืองไกร   ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

             ๖.  ผศ.นพ.สัมมน  โฉมฉาย   ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

             ๗.  ผศ.พญ.จุฬธิดา  โฉมฉาย  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล