Lithium

 

 

Lithium


 

Lithium เป็นโลหะหนักที่ใช้เป็นยาในรูปของ lithium carbonate รักษาโรค mania นอกจากนั้นพบได้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และ alloy ผู้ป่วยที่เกิดเป็นพิษจาก lithium ทางคลินิกพบแบบเรื้อรังจากการใช้ยา lithium carbonate มากกว่าภาวะเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่ได้รับ lithium จากการทำงานหรืออุตสาหกรรมพบได้น้อยมาก

เภสัชจลนศาสตร์และพิษวิทยา

Lithium เป็นธาตุที่มีคุณสมบัติคล้าย sodium หรือ potassium สามารถกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ดี มีค่า volume of distribution เท่ากับปริมาณน้ำในร่างกาย (0.6 L/kg) มีการกำจัดออกทางไตที่เดียว โดยผ่าน glomerular filtration และมี reabsorption ที่ proximal renal tubules 60-70% ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงขบวนการ reabsorption ที่ renal tubules จะทำให้ระดับของยาในร่างกายเปลี่ยนแปลงได้เช่น การเกิด volume depletion, hyponatremia และ alkaline urine กลไกการออกฤทธิ์ของ lithium ยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อว่าจะเข้าแทนที่ potassium หรือ sodium ในเซลล์ แล้วมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด neural electrical excitation และ synaptic transmission นอกจากอาการทางสมองแล้วยังทำให้ antidiuretic hormone (ADH) ไม่หลั่งมาตอบสนองกับภาวะขาดน้ำของร่างกาย และยังมีผลให้เกิดภาวะ renal tubular acidosis, nephrogenic diabetes insipidus และ natriuresis LD50 ของ lithium ในภาวะเฉียบพลันเท่ากับ 40 mg/kg ในกรณีของเรื้อรังมักจะเกิดเมื่อผู้ป่วยที่ได้รับยาแล้วมีภาวะกรดด่าง หรือ hydration หรือมี drug interaction (ตารางที่ 1) เนื่องจาก lithium เป็นยาที่มี therapeutic index แคบ

อาการทางคลินิก
ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่รับประทาน lithium มากกว่า 40 mg/kg ในระยะแรกจะเกิดอาการเพียงคลื่นไส้ อาเจียนเท่านั้น อาการทาง systemic จะเกิดหลังจากได้รับยาไปอีกหลายชั่วโมง ซึ่งเหมือนภาวะเรื้อรัง ระยะเรื้อรัง อาการทางระบบประสาทส่วนกลางจะพบได้ในผู้ป่วยเกือบทุกราย ลักษณะเป็นแบบกลุ่มอาการของ acute encephalopathy หรือมีอาการของ parkinsonism ร่วมด้วย จากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อยเนื่องจากเกิดภาวะ diabetes insipidus ขึ้น ในระยะยาวผู้ป่วยอาจจะมีอาการของระบบประสาทส่วนกลางหลงเหลือจากภาวะเป็นพิษเรื้อรัง ซึ่งมี cerebellum degeneration และhypothyroid lithium ยังอาจมีผลเป็น teratogenics เช่น เป็น Ebstein's abnomaly และ congenital diabetes insipidus (ตารางที่ 2)

การรักษา
การรักษาแบบประคับประคอง แก้ไขภาวะ dehydration, electrolyte disturbance และไข้ที่เกิดในผู้ป่วย การทำให้อาเจียน ต้องระวังในผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง เพราะอาจจะชักหรือหมดสติได้ การให้ activated charcoal ไม่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยกรณีนี้ 

การรักษาเฉพาะ การทำ hemodialysis ช่วยให้การกำจัดยาออกได้มากขึ้น ข้อบ่งชี้ในการทำเมื่อผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง หรือการทำงานของไตเสื่อม หรือมีระดับ lithium ในเลือดเป็น 2.5 และ 4.0 mEq/L ในกรณีของภาวะเป็นพิษแบบเรื้อรังและเฉียบพลันตามลำดับ อาจจะต้องทำ hemoperfusion ซ้ำเมื่อระดับยาหลังจากทำ hemoperfusion เท่ากับ 7 mEq/L หรือ 0.1 mEq/L ในกรณีน้ำไขสันหลัง หรือในกรณีที่การรักษาด้วยวิธี force diuresis หรือ hemoperfusion ไม่ได้ผล

     

เอกสารอ้างอิง
  1. Amdisen A. Clinical features and management of lithium poisoning. Med Toxicol 1988;3:18-32.
  2. Hansen SE, Amdisen A. Lithium intoxication: report of 23 cases and review of 100 cases from the lithium. Q J Med 1978;47:123-44.