ภาวะเป็นพิษจากสัตว์

 


ภาวะเป็นพิษจากสัตว์


 

   


 

สัตว์พิษส่วนใหญ่ มีพิษไว้เพื่อการล่าเหยื่อและป้องกันตัวเองจากศัตรู โดยทั่วไปสัตว์ส่วนใหญ่มักจะพยายามหนีห่างไม่ต่อสู้กับคน นอกจากถูกรังแก หรือรบกวน คนอาจเผลอไปรบกวนสัตว์โดยไม่ได้ระมัดระวัง หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงถูกสัตว์ทำร้าย และถ้าสัตว์นั้นมีพิษคนอาจได้รับพิษนั้น จนเกิดอาการที่เป็นอันตรายขึ้นได้ นอกจากนี้มีสัตว์บางชนิดโดยเฉพาะสัตว์ทะเลที่คนใช้เป็นอาหาร อาจมีพิษได้ในบางสภาวะ และมีสัตว์บางชนิดมีพิษที่ตัว คนได้รับพิษเหล่านี้จากการรับประทานสัตว์ดังกล่าว ในที่นี้ได้แบ่งภาวะพิษจากสัตว์พิษตามวิธีการที่คนได้รับพิษเข้าสู่ร่างกายเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 
 พิษจากการรับประทาน ที่สำคัญได้แก่ ปลาปักเป้า หอยทะเล และปลาทะเลบางชนิด แมงดาทะเล และคางคก
 
 พิษจากการสัมผัส กัด ต่อย ที่สำคัญได้แก่ งูพิษ สัตว์ทะเล แมลงและสัตว์มีระยางเป็นข้อ (arthropod) )

     

เอกสารอ้างอิง

  1. ธงชัย ปภัสภาธร, สุธรรม อารีกุล, สุนิตย์ เจิมศิริวัฒน์, สุรินทร์ พินิจพงษ์. การศึกษาแมลงพิษ จพสท.2504;44:60-81.
  2. บุญเยือน ทุมวิภาต, อนันต์ ตัณมุขยกุล. อุบัติเหตุจากสัตว์กัดและต่อย. สารศิริราช 2526;9:801-808.
  3. ปรียา กุลละวณิชย์. Cercarial dermatitis. วารสารโรคผิวหนัง 2533;1:7-11.
  4. มุกดา ตฤษณานนท์. ปลิงและทาก. แพทยสภาสาร 2519;4:217-220.
  5. สุภัทร สุจริต. กีฎวิทยาการแพทย์. พิศิษฐ์การพิมพ์ มิถุนายน: 2531.
  6. Burnett J. Jelly fish envenomation syndromes. J Am Acad Dermatol 1986;14:100-106.
  7. Coskey RJ. Dermatologic therapy 1990. J Am Acad Dermatol 1991;25:271-80.
  8. Fisher AA. Contact dermatitis 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger 1986.
  9. Fitzpatrick B. Dermatology in general medicine. 3rd ed. Mcgraw Hill 1987.