พิษจากสาร Organochlorine
|
||||||
สาร organochlorine เป็นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพสูงกลุ่มแรก DDT เป็นสารตัวแรกในกลุ่มนี้ ที่เรียกกันจนติดปากในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีการห้ามจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตาม นอกจาก DDT สารในกลุ่มนี้ยังมีจำหน่ายในรูปสารเคมีกำจัดแมลงเพื่อการเกษตร สารเคมีกำจัดปลวก (Aldrin, Dieldrin, Chlordane, Hepatochlor) และสารเคมีทารักษาโรคหิด (Lindane)
เภสัชศาสตร์และฤทธิ์วิทยา
สาร organochlorines ถูกดูดซึมได้ดีทั้งทางระบบทางเดินอาหารและผิวหนัง เนื่องจากเป็นสารที่ละลายในไขมันได้ดี จึงมีการสะสมในชั้นไขมันได้ดี ทำให้มี half-life ค่อนข้างยาวเป็นหลายๆวันถึงเป็นปี organochlorines ยังเป็นสารที่ผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์มารดา และขับออกทางน้ำนมได้ดี
สาร organochlorines ทำให้การส่งต่อสัญญาณในระบบประสาททำงานผิดปกติ โดยเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากนั้นยังมีผลให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความไวต่อสารพวก catecholamines นอกจากนั้นยังเชื่อว่าเป็นสารก่อมะเร็งด้วย ความเป็นพิษของสาร organochlorines แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม (ตารางที่ 1)
อาการทางคลินิก
หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสาร organochlorinesมักจะมีอาการกระสับกระส่าย วิงเวียน ataxia และสับสน ในรายที่มีอาการรุนแรงจะเกิดภาวะชักแบบ status epilepticus และหยุดหายใจ เนื่องจากการกดศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองได้ ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงมักเสียชีวิตในช่วงนี้ ในรายที่รอดชีวิตจะมีภาวะตับอักเสบ rhabdomyolysis ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน รวมถึง aspiration pneumonia และ noncardiogenic pulmonary edema ได้
หลังจากผู้ป่วยฟื้นจากภาวะวิกฤติเฉียบพลันในช่วงแรก ผู้ป่วยบางรายจะเริ่มมี อาการสั่น (tremor) ตกใจง่าย กระสับกระส่าย หัวใจเต้นเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาอาการเหล่านี้จะคงอยู่เป็นเวลานานหลายเดือนจนถึงเป็นปี
การได้รับสาร organochlorinesเป็นเวลานานพบว่าทำให้ porphyrin metabolism ผิดปกติเกิดเป็น cutaneous porphyria ในสัตว์ทดลองพบว่า organochlorines เป็น carcinogen ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติ เป็นตัวกระตุ้น P450 enzyme นอกจากนั้น organochlorines อาจเป็นสาเหตุ ของการคลอดก่อนกำหนดของหญิงมีครรภ์ และทำให้มี sperm ในผู้ชายลดลง เนื่องจากมีฤทธิ์คล้าย estrogen
การตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างง่ายทำได้เมื่อผู้ป่วยรับประทานสาร organochlorines มาใหม่ๆ โดยนำน้ำล้างกระเพาะตรวจหาสาร organochlorines (ดูรายละเอียดเรื่องการตรวจทางห้องปฏิบัติการ) ในรายที่เป็น subacute หรือเรื้อรังต้องตรวจหาระดับสารในไขมัน
การรักษา
การกระตุ้นให้อาเจียนด้วย ipecac ไม่ควรทำเพราะสารเหล่านี้มักมีสารพวก hydrocarbon เป็นตัวทำละลาย ทำให้มีโอกาสเกิดเป็น chemical pneumonia และผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอาการชักได้ง่าย การใส่สายล้างท้องเองก็ต้องคำนึงถึงภาวะเหล่านี้ อาจจะต้องพิจารณาใส่ endotracheal tube ก่อน status epilepticus, respiratory failure, rhabdomyolysis เป็นภาวะสำคัญที่จะต้องระวังและให้การรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อผู้ป่วยฟื้นขึ้นอาจจะต้องให้ยาเพื่อลดอาการกระวนกระวาย ถ้าผู้ป่วยมีอาการของระยะหลังร่วมด้วย Cholestyramine รับประทานขนาด 4 g วันละ 3-4 ครั้ง มีรายงานว่าช่วยให้สาร organochlorines ถูกกำจัดออกจากร่างกายเร็วขึ้น แต่จะต้องรับประทานเป็นเวลานาน
ตารางที่ 1 สาร organochlorines ที่พบได้บ่อย
|
||||||
เอกสารอ้างอิง
1. Chan TY, Tomlinson B, Tse LK, Chan JC, Chan WW, Critchley JA. Aconitine Poisoning due to Chinese Herbal Medicines: A review. Vet Hum toxicol 1994; 36(5): 452-5.
2. Dickens P, Tai YS, But PP, Tomlinson B, Ng HK, Yan KW. Fatal Accidental Aconitine Poisoning Following Ingestion of Chinese Herbal Medicines: A report of two cases. Forensic Sci Int 1994; 67(1): 55-8. 3. But PP, Tai YT, Young K. Three Fatal Cases of Herbal Aconitine Poisoning. Vet Hum Toxicol 1994; 36(3): 212-5. 4. Chan TY, Tomlinson B, Crit- chley JA, Cockram CS. Herbnduced Aconitine Poisoning Presenting as Tetraplegia. Vet Hum Toxicol 1994; 36(2): 133-4. 5. Chan TY. The Prevalence Use and Harmful Potential of some Chinese Herbal Medicines in babies and children. Vet Hum Toxicol 1994; 36(3): 238-40. 6. The Centers of Disease Control and Prevention: Jin Bu Huan Toxicity in Adults-Los Angeles 1993. JAMA 1994; 27(6): 423-4. 7. Chan TY, Critchley JA. The Spectrum of Poisoning in Hong Kong: An overview. Vet Hum Toxicol 1994; 36(2): 135-7. |
||||||