พิษจากเหล็ก |
เหล็ก เป็นโลหะหนักที่มีการใช้เป็นยามากที่สุดในเวชปฏิบัติ โดยเป็นยารักษาภาวะซีดจากการขาดเหล็ก ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของเกลือเช่น ferrous gluconate, ferrous sulfate และ ferrous fumarate โดยจะมี สัดส่วนของ elemental iron ต่างกันออกไปคือ 12%, 20%, และ 35% ตามลำดับ เนื่องจาก เป็นยา ที่หาได้ง่าย การสั่งยาแก่ผู้ป่วยมักจะเป็นจำนวนครั้งละมากๆ ประกอบกับรูปแบบของ เม็ดยามักเป็นรูปของ เม็ดเคลือบน้ำตาล สีต่างๆ ทำ ให้เกิดภาวะเป็นพิษได้บ่อยในเด็กโดยเข้าใจว่าเป็นลูกอม เภสัชจลนศาสตร์และพิษวิทยา เหล็กในปริมาณสูงมีฤทธิ์แบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ - Local effects โดยจะระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เกิดเป็น gastritis มี bleeding หรือ perforation ได้ - Systemic effects เหล็กเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะจับกับ transferrin เมื่อมี iron ที่เหลือใช้แล้วจะถูกเก็บสะสมใน รูปของ ferritin และ hemosiderin ในที่สุด ในระยะเฉียบพลัน ferritin ปริมาณสูงจะกระตุ้นให้มีการหลั่งสาร histamine และ serotonin ทำให้มีการเพิ่ม venous permeability vascular damage ร่วมกับ ferritin มีฤทธิ์เป็น vasodilator เกิดภาวะช็อคขึ้น Ferrous ion ที่มีปริมาณสูงบน membrane ของ mitochondria จะมีฤทธิ์ขัดขวาการทำงานของ lipid peroxidase enzyme ทำให้ membrane ถูกทำลาย ขบวนการ electron transport และphospho อาการทางคลินิก ภาวะเฉียบพลัน
การวินิจฉัย ขึ้นกับประวัติเป็นสำคัญ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ x-ray ท้องเพื่อดูเม็ดยาภายใน 2 ชั่วโมงแรกช่วยยืนยันว่าผู้ป่วยรับประทานยาจริง การตรวจที่ช่วยยืนยันการวินิจฉัยและบอกถึงความรุนแรงของโรคคือ TIBC (total iron-binding capacity) และ serum iron ที่ระหว่าง 2-4 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน การแปลผลแสดงในตารางที่ 1 การรักษา การรักษาแบบประคับประคอง ระวังและรักษาภาวะช็อค ซึ่งอาจเกิดจากการเสียเลือดและสารน้ำ ด้วยการให้เลือดหรือ crystalloid แก้ไขภาวะ metabolic acidosis ชัก และ coma การรักษาจำเพาะ - Decontamination การล้างท้อง หรือทำให้อาเจียนแก่ผู้ป่วยทุกราย ส่วนการล้างท้องด้วยสารละลายที่มี sodium bicarbonate หรือ deferoxamine ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปถึงประสิทธิภาพ - Antidotes คือ deferoxamine เป็น specific antidote สามารถใช้ได้ทั้งในภาวะเฉียบพลันและเรื้อรัง โดย deferoxamine จะจับกับ iron ที่อยู่ใน tissue แต่ไม่รบกวนต่อส่วนที่จับกับ hemoglobin หรือ transferrin ได้เป็นสารประกอบใหม่ระหว่าง iron-deferoxamine คือ ferriosamineซึ่งมีสีแดงอ่อนและสามารถ ถูกขับ ออกทางไต ข้อบ่งชี้ในการให้ deferoxamine เมื่อผู้ป่วยมีอาการของ iron toxicity หรือ serum iron มากกว่า 500 mcg/dl - Enhance elimination โดยการทำ hemodialysis มีข้อบ่งชี้เมื่อผู้ป่วยมีภาวะ renal failure และได้รับ deferoxamine การทำ hemodialysis หรือ hemoperfusion เพียงลำพังไม่มีผลในการช่วยเพิ่มการขับ free iron ออกจากร่างกาย ส่วน exchange tranfusion มีการใช้รักษาบ้างในผู้ป่วยเด็ก แต่ประสิทธิภาพการรักษายังไม่เป็นที่ยืนยัน ตารางที่ 1 Serum iron TIBC ยืนยันว่ามี free iron ในกระแสเลือด
|
|||
|