International White Cane Safety Day: October 15

On Sunday, October 15, 2023, a blind group of professors, staff, and Ph.D. students of the Ratchsuda Institute, the Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, participated in the International White Cane Safety Day organized by the Thailand Association of the Blind. The activity aims to encourage global society to recognize and promote the potential of the blind and visually impaired people.The white cane is a symbol for the blind and persons with visual impairment around the world. The day symbolized the expression of 'freedom' for all visually impaired people.In 2013, the White Cane Journey began at Santiphap Park (Park of Peace) in central Bangkok, walking to the Victory Monument BTS Station, taking the BTS to Mo Chit and going to the underground MRT at Chatuchak. Then, they took the subway to Phahonyothin for check-in according to the activity. After that, they went by subway to Sukhumvit, and changed to the BTS heading to the Victory Monument for a gathering at the Bangkok School for the Blind located nearby as the activity’s destination.

Back to history, President Lyndon B. Johnson's announcement after World War II in 1964 that October 15th of every year was called White Cane Safety Day leading to the subject necessary for blind and visually impaired people which is the course named “Orientation & Mobility (O&M)” that Dr. Richard E. Hoover initiated and developed to prevent hitting obstacles ahead of the blind and to indicate the nature of the surface on walking.

Activities happening today helped raising awareness in society, encouraging persons with disabilities to go out and live their lives. More accessibility, and variety of transportation starting to increase. The fact that the general public sees the group carrying a walking stick, more persons with disabilities go out. This is special as supporting them to have more opportunities in society as well.

Ms. Nuchanat Todee, Head of Blind and Low Vision Academic Service, Rachasuda Institute Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital was interviewed by Thisable Me website, which covers issues concerning disability, society, politics, art and culture and living:“When carrying a walking stick outside, Don't look down on yourself or pity yourself. Why do I have to be like this? Instead, think about the fact that we carry the cane out, giving other people strength. Holding this view rather than worrying if going out would be a burden to others” Nuchanat said.

Source: https://thisable.me/, https://thisable.me/content/2017/10/308

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2566 บุคลากร อาจารย์ และนักศึกษาปริญญาเอกของ สถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นผู้พิการทางการเห็น ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันไม้เท้าขาวโลก (International White Cane Safety Day) จัดขึ้นโดยสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมโลกตระหนักและส่งเสริมศักยภาพของผู้พิการทางการเห็น โดยมีไม้เท้าขาวเป็นสัญลักษณ์ของผู้พิการทางการเห็น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่นำไปสู่การแสดงออกถึง 'อิสรภาพ' สำหรับผู้พิการทุกคน

ในปี 2566 การเดินทางด้วยไม้เท้าขาวเริ่มต้นที่สวนสันติภาพเดินไปที่บีทีเอสอนุสาวรีย์ชัย นั่งรถไฟฟ้าไปลงหมอชิตลงใต้ดินจตุจักร แล้วไปรถใต้ดินขึ้นที่พหลโยธินเพื่อไปเช็คอินตามกิจกรรม แล้วลงรถไฟฟ้าใต้ดินไปสุขุมวิทขึ้นรถไฟฟ้าบีทีเอสไปอนุสาวรีย์ชัย และไปรวมตัวที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพที่สี่แยกตึกชัยอันเป็นจุดหมายสุดท้าย

สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไม้เท้าขาวคือ คำประกาศของประธานาธิบดีลินดอน บี.จอห์นสัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2507 ที่กล่าวให้วันที่ 15 ตุลาคมของทุกปีที่ถูกเรียกเป็นวันไม้เท้าขาวโลก (White Cane Safety Day) จนทำให้เกิดวิชาที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับคนตาบอดในการเคลื่อนไหวและการเดินทางคือวิชาความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวหรือโอแอนด์เอ็ม (Orientation & Mobility: O&M) ที่มี ดร.ริชาร์ด อี ฮูเวอร์ ริเริ่มและพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าผู้ที่กำลังใช้ไม้เท้านั้นตาบอด, ป้องกันการชนสิ่งกีดขวางข้างหน้าและเพื่อบอกลักษณะของพื้นผิวที่กำลังเดินอยู่

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ให้คนพิการได้ออกไปใช้ชีวิตมากขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากขึ้น การขนส่งต่างๆ ก็เริ่มเยอะขึ้น ก็ทำให้ผู้คนทั่วไปเห็นบุคคลกลุ่มนี้ ถือไม้เท้าเดินออกมามากขึ้น ถือเป็นสิ่งที่พิเศษ ที่ทำให้เขาสามารถมีโอกาสในสังคมมากขึ้นด้วย

นางสาวณุชนาฎ โต๊ะดี หัวหน้างานบริการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสถาบันราชสุดา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีให้สัมภาษณ์กับ Thisable Me สื่อที่ทำประเด็นเกี่ยวกับความพิการสังคม การเมือง ศิลปะและวัฒนธรรม และการใช้ชีวิตไว้ว่า

“การที่เราถือไม้เท้าออกไปข้างนอก อย่าดูถูกตัวเองหรือสมเพชตัวเองว่า ทำไมฉันต้องเป็นแบบนี้ แต่ให้คิดว่า การที่เราถือไม้เท้าออกไป นั่นคือการที่ทำให้คนอื่นเขามีพลัง อยากให้มองอย่างนี้มากกว่าที่จะมองว่าพอเราออกไปข้างนอกแล้วจะเป็นภาระให้คนอื่นหรือเปล่า” นุชนาฎกล่าว

Source: https://thisable.me/ , https://thisable.me/content/2017/10/308