มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer)

 

ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้

(Risk of Colorectal cancer)

         มะเร็งลำไส้(Colorectal cancer) เป็นมะเร็งที่พบเป็นลำดับที่ 4 ในสหรัฐอเมริกา และในปี 2016 ประมาณการว่าพบผู้ป่วยใหม่ ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 95,270 ราย/ปี และลำไส้ตรง 39,220 ราย/ปี และในปีเดียวกันพบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิตถึง 49,190 ราย จากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
         สำหรับประเทศไทย มะเร็งลำไส้ อุบัติการณ์ของการเกิด มะเร็งลำไส้มากเป็นลำดับที่ 4 เช่นกัน หรือพบผู้ป่วยรายใหม่ 11,496 ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต 6,845 ราย/ปี รองจาก มะเร็งตับ, มะเร็งปอด และ มะเร็งเต้านม, ตามลำดับ ซึ่งอัตราการตายในมะเร็งลำไส้นั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อมีการตรวจคัดกรองและป้องกันการเกิดด้วยการตัดติ่งเนื้อ(Polypectomy)ตั้งแต่อาการเริ่มแรกของตัวโรคเริ่มเกิดขึ้น ดังนั้น การทราบถึงปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค จึงเป็นประโยชน์ ในการที่ทราบถึงกลุ่มเสี่ยง แง่ของการตรวจคัดกรองในกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย

 

ตาม ได้แบ่งกลุ่มเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ออกเป็น 2 กลุ่ม โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงที่ต่างกันโดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

1.    ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)
2.    ปัจจัยความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม (Environmental risk factors) 

 

1.    ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล (Non-modifiable risk factors)
     
     
-    อายุ (Age)
          พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอายุมากกว่า 50 ปี โดย ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้มากกว่า ร้อยละ 90 มีอายุมากกว่า 50 ปี และยิ่งในช่วงอายุ 60-79 ปีพบว่า มีโอกาสเสี่ยงมากถึง 50 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน พบผู้ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ ในกลุ่มคนอายุ 20-49 ปี เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
 

     -    ประวัติการเกิดมะเร็งลำไส้ในครอบครัว(Family history of colorectal cancer) 
          แม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ส่วนใหญ่จะเกิดในคนที่ครอบครัวไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งลำไส้ในครอบครัว แต่ทว่า พบว่ามีโอกาส มากกว่าร้อยละ 20 ในการป่วยเป็นมะเร็งลำไส้ของคนที่มีประวัติมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ในครอบครัว สำหรับเหตุผลยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าอาจเกิดจาการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และ สิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเหมือนกัน ร่วมกันหลายปัจจัย

     -    การถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Inherited Genetic Risk)
          ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 5-10 ของมะเร็งลำไส้เป็นผู้ป่วยที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ได้แก่ Familial adenomatous polyposis (FAP), Hereditary nonpolyposis colorectal cancer (HNPCC) หรือ Lynch syndromeในผู้ป่วย FAP ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1 ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ทั้งหมด สาเหตุเกิดจากการ mutation ของ APC tumor suppressor gene ถ่ายทอดผ่าน Autosomal dominant manner  โดย มาปรากฏด้วยอาการติ่งเนื้อในลำไส้มากกว่า 100 เม็ดขึ้นไป มักปรากฏตั้งแต่อายุยังน้อย และกลายเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อย หากอายุ 40 ปีขึ้นไปโดยมากมักกลายเป็นมะเร็งลำไส้เกือบทั้งหมดหากไม่ได้รับการผ่าตัด  ฉะนั้นการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ตั้งครรภ์ จึงจำเป็นในกรณีที่สามีภรรยา มีประวัติเป็น FAP และต้องการมีบุตร

          ในส่วนของ ผู้ป่วย HNPCC หรือ Lynch syndrome คิดเป็นร้อยละ 2-6 ของมะเร็งลำไส้ สาเหตุเกิดจากการ mutation ใน MLH1 และ MLH2 gene DNA repair pathway  ตลอดช่วงชีวิตมีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ สูงถึง ร้อยละ 70-80 และอายุเฉลี่ยของการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่ที่ประมาณ 40-50 ปี และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อื่นๆได้อีก เช่น มดลูก, กระเพาะ, ลำไส้เล็ก, ตับอ่อน, ไต, ท่อทางเดินปัสสาวะ ได้

ในส่วนของ ผู้ป่วย HNPCC หรือ Lynch syndrome คิดเป็นร้อยละ 2-6 ของมะเร็งลำไส้ สาเหตุเกิดจากการ mutation ใน MLH1 และ MLH2 gene DNA repair pathway  ตลอดช่วงชีวิตมีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ สูงถึง ร้อยละ 70-80 และอายุเฉลี่ยของการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่ที่ประมาณ 40-50 ปี และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อื่นๆได้อีก เช่น มดลูก, กระเพาะ, ลำไส้เล็ก, ตับอ่อน, ไต, ท่อทางเดินปัสสาวะ ได้

 

     -    ประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (Personal history of Adenomatous polyp)

          ประวัติติ่งเนื้อในลำไส้ที่เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ Neoplastic polyp อันได้แก่ tubular และ villous adenomas ซึ่งเป็นรอยโรคที่สามารถกลายเป็นมะเร็งลำไส้ได้ในอนาคต  ผลสำรวจในสหรัฐอเมริกาพบว่าในช่วงชีวิต มีโอกาสที่จะเกิดติ่งเนื้อได้ ร้อยละ 19 และ ร้อยละ 95 ของ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้แบบ Sporadic มีการเกิดจาก adenomatous polyp สำหรับการพัฒนาการเกิดมะเร็งลำไส้จากติ่งเนื้อนั้น ใช้ระยะเวลา 5-10 ปี ดังนั้นหากเราตรวจพบและรักษาตั้งแต่ติ่งเนื้อจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ แต่อย่างไรก็ตามการมีประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้แบบ Neoplastic polyp ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ในตำแหน่งอื่น ๆ ของลำไส้เพิ่มขึ้นด้วย

             -    ประวัติการเกิดลำไส้อักเสบ(Personal history of Inflammatory bowel disease)
          ลำไส้อักเสบเรื้อรัง(Inflammatory bowel disease)สามารถแบ่งเป็นโรคได้สองโรค คือ Ulcerative colitis และ Crohn disease ในส่วนของ  Ulcerative colitis สาเหตุเกิดจากการอักเสบ ในส่วนของ mucosa ของลำไส้ แต่สำหรับ Crohn disease สาเหตุเกิดจาก การอักเสบตลอดชั้นของลำไส้ บางส่วนเกิดการอักเสบได้ที่ปากและทวารหนัก ซึ่งการเกิดการอักเสบของลำไส้ทั้งสองโรคนี้เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น 4-20 เท่า ดังนั้นในผู้ป่วยที่ป่วยเป็นลำไส้อักเสบเรื้อรังจึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคถี่ขึ้นเป็นพิเศษ

 

2.    Environmental risk factor

          มะเร็งลำไส้ มี ความเสี่ยงหลายปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่นมีการเก็บข้อมูลของผู้ย้ายถิ่นฐานจากประเทศที่ มีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ต่ำไปยังประเทศที่มีอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้สูง พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นตามกลุ่มคนที่อยู่ในประเทศนั้นด้วย ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมต่างมีดังต่อไปนี้

          -    อาหาร (Nutritional Practices)

          อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญหนึ่งในการเกิดมะเร็งลำไส้ การกินอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์ เป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยการ degrade ตัว bile salt ด้วย แบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ องค์ประกอบของ N-nitroso compound การบริโภคเนื้อสัตว์ สัตว์เนื้อแดง ในปริมาณสูง เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยการ ย่อยสลาย Heme iron ในเนื้อแดง นอกจากนี้ การปรุงอาหารด้วยอุณหภูมิสูง เช่น การปิ้งย่าง เป็นผลทำให้เกิด heterocyclic amines และ poly aromatic hydrocarbon ซึ่งสารประกอบทั้งคู่ ล้วนมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง มีบางงานวิจัยพบว่าในคนที่กินผักผลไม้น้อยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ เพิ่มการ transit time ทำให้อุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานขึ้น

          -    การออกกำลังกายและน้ำหนักเกิน (Physical activity and obesity)

          มีรายงาน การออกกำลังกายและน้ำหนักมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของ มะเร็งลำไส้ เมื่อออกกำลังกายและการเพิ่ม Metabolic rate จะส่งผลให้ ลำไส้มีการทำงานมากขึ้น เคลื่อนตัวมากขึ้น มีการเพิ่มการใช้งาน ออกซิเจน  ผลในระยะยาวจะทำให้ ความดันในร่ายกายลดลง insulin resistant ลดลง และ ยังส่งผลในเรื่องของน้ำหนักตัวที่ลดลงด้วย ผลที่ตามมาจากการที่นำหนักตัวลดลง ทำให้ Estrogen ในเลือดลดลงจากการที่ซึ่ง Estrogen เชื่อว่าการมีในระดับสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งขึ้น

 


   

          -    การสูบบุหรี่ (Cigarette smoking)

          ความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ กับ มะเร็งปอด นั้นมีรายงานออกมาชัดเจน และ ในส่วนของมะเร็งลำไส้นั้นพบว่า ร้อยละ 12 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้นั้นสูบบุหรี่ พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดและเจริญเติบโตขึ้นของ Adenomatous polyp การสูบบุหรี่ในระยะยาวพบว่า มีความสัมพันธ์กับ Adenomatous polyp ขนาดใหญ่

 

          -    การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ (Heavy alcohol consumption)

          การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้เช่นกันกับการสูบบุหรี่ ผลลัพท์ที่ได้จากการย่อยสลาย แอลกอฮอล์ คือ Acetaldehyde ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง ซึ่งการบริโภคแอลกอฮอล์ร่วมกับการสูบบุหรี่ จะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมากขึ้น โดย บุหรี่จะกระตุ้นให้เกิดการ mutation ของ DNA และ แอลกฮอล์จะไปยับยั้งกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ทำให้ทำงานได้ไม่ดี อีกทั้งแอลกฮอล์เป็นตัวทำละลายสามารถเข้าสู่เซลล์ ได้ง่ายและเป็นตัวกระตุ้นก่อให้เกิดมะเร็ง และยังทำให้เพิ่มการสร้าง Prostaglandins, Lipid peroxidation และ เพิ่ม Free radical oxygen อีกด้วย

 

         การทราบถึงปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ ช่วยในการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง อีกทั้งช่วยในการเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีความเสี่ยง และ การเริ่มการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง ดังนั้นการออกกำลังการการกินอาหาร และการระวังไม่ให้น้ำหนักเกิน จึงเป็นสิ่งที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิด และช่วยลดอัตตราตายและผลกระทบที่เกิดจากมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย