ขอเชิญร่วมงานประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 1/2564

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 1/2564

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 เวลา 13.00-15.00 น.
สถานที่ : ห้องบรรยาย 621 ชั้น 2 อาคารบริหาร
เรื่อง โภชนาการทางเลือก (Alternative Nutrition)
ผู้บรรยาย นักวิชาการโภชนาการ ทัชชภร มนัสกิจสำราญ

สรุปเนื้อหา                                                                                                                                                  

 

ธงโภชนา คือเครื่องมือที่ช่วยอธิบายและทำความเข้าใจโภชนบัญญัติ 9 ประการ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยทำเป็นภาพ “ธงปลายแหลม” แบ่งสัดส่วนการรับประทานอาหารทั้ง 5 หมู่ตามภาพ
            กลุ่มที่ต้องการพลังงาน 1,600 Kcal คือ เด็ก 6-13 ปี หญิงวัยทำงาน 25-60 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

         กลุ่มที่ต้องการพลังงาน 2,000 Kcal คือ วัยรุ่นหญิง-ชาย 14-25 ปี วัยทำงาน 25-60 ปี

            กลุ่มที่ต้องการพลังงาน 2,400 Kcal คือ หญิง-ชาย ที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น เกษตรกร ผู้ใช้แรงงาน นักกีฬา

ส่วนในกลุ่มของผู้สูงอายุจะแบ่งความต้องการพลังงานตามกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น พลังงาน 1,400 Kcal

ชาย-หญิง กิจกรรมเบามาก แทบไม่ได้ออกกำลังกาย ,พลังงาน 1,600 Kcal ชาย-หญิง กิจกรรมเบา ออกกำลังกาย 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ,1,800 Kcal ชาย-หญิง กิจกรรมปานกลาง ออกกำลังกาย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์

 

Popular Diet Pattern

 1. DASH DIET(Dietary Approaches To Stop Hypertension)

DASH DIET เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โดยปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียม ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม/วัน หรือเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชา ซีอิ๊ว น้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชา

กลุ่มอาหารที่ควรทาน เช่น เน้นผักผลไม้ ข้าวแป้งเม็ดขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวไรท์เบอร์รี่ ธัญพืช ปลา ถั่วเปลือกแข็ง นมไขมันต่ำ รับประทานอาหาร Cholesterol ต่ำ

กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ผักหรือผลไม้กระป๋องหรือผลิตภัณฑ์แปรรูป เนื้อแดง หลีกเลี่ยงน้ำตาลหรือเครื่องดื่มรสหวาน เลี่ยงแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีส่วนผสมของผงฟูเป็นส่วนประกอบ

2. Mediterranean  Diet

คือ การกินอาหารแบบผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น กรีซ อิตาลีตอนใต้ และสเปน เน้นการกินผัก ผลไม้ และธัญพืชเป็นหลัก รวมทั้งอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า อัลมอนด์ วอลนัต ส่วนผลิตภัณฑ์จากนมและชีสจะเลือกกินแบบไขมันต่ำ และไม่กินเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อแดง แต่นิยมกินสัตว์ปีก เช่น ไก่ นก และอาหารทะเลแทน

งานวิจัยปี 2006 พบว่า Mediterranean diet ทำให้ค่าความดันโลหิต ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่ม Low Fat Diet ทำให้ Mediterranean diet มีส่วนช่วยลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

3. Ketogenic Diet

คือ การกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง แต่กินอาหารที่มีไขมันและโปรตีนให้มากขึ้นในอัตราส่วน 70-80 เปอร์เซ็นต์ของอาหารในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะคีโตน (Ketone) สามารถดึงไขมันมาเผาผลาญแทนน้ำตาลและแป้ง ซึ่งจะช่วยลดไขมันสะสมและมีน้ำหนักลดลง

Alternative Proteins

            1. Pulses เป็นกลุ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง Fiber สูง เช่น เมล็ดถั่วต่างๆ

            2. Plant-base meat คือเนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช 95% โดยใช้กระบวนการแปรรูปพืช ให้มีความใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ทั้งผิวสัมผัสและรสชาติ โดยมีโปรตีนสูงเช่นกัน
            3. โปรตีนจากพืช เช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า  แหน ไข่น้ำ สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีน้ำตาล สาหร่ายสีแดง
            4. โปรตีนจากแมลง เช่น ตั๊กแตน  ปาทังกา หนอนไม้ไผ่ จิ้งหรีด
            5. Cultured Meat คือการเลี้ยงเนื้อในห้องแล็บ โดยเริ่มจากการนำสเต็มเซลล์ของสัตว์ต้นแบบมาเพาะเลี้ยงในถังหมัก (bioreactor) ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ด้วยน้ำเลี้ยง (culture medium) ที่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสเต็มเซลล์  สามารถผลิตได้เพียงเนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อหมู และเนื้อปลาทูน่า และทำได้เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเท่านั้น

 

ข้อคิดที่ได้รับ

1.ทราบถึงหลักการรับประทานอาหารในแบบต่างๆ โดยเฉพาะหลักการรับประทานอาหารจากธงโภชนาการ ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติกำหนดสัดส่วนการเลือกรับประทานอาหารของตนเอง และนำไปใช้ในการแนะนำผู้มารับบริการรายอื่นๆ ที่หน่วยตรวจได้

2. ทราบถึงแบบแผนการรับประทานอาหารในแบบต่างๆ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่เป็นสัดส่วนตามหลักธงโภชนาการ ทำให้เข้าใจการรับประทานอาหารในแบบแผนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น Dash Diet, Mediterranean  Diet และ Ketogenic Diet นำไปสู่การให้คำแนะนำผู้รับบริการเบื้องต้นและการเฝ้าระวังผลข้างเคียงบางประการจากการรับประทานอาหารในแบบแผนต่างๆ

3. ทราบถึงแหล่งโปรตีนทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถทดแทนอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนทั่วไป  เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ นม เป็นต้น ทำให้สามารถนำไปใช้แนะนำผู้มารับบริการที่มีข้อจำกัดในการรับประทานโปรตีนหลักบางประเภทได้

ผู้ถอดบทเรียน

1. นางรัตติกาล ธนะสาร พยาบาลประจำหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแพทย์ทางเลือก

2. นางสาวกฤษกาญจน์ ประศิลป์ไชย พยาบาลประจำหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกแพทย์ทางเลือก