บทความ เรื่อง ริดสีดวงทวาร เกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณ ทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก
Home
ริดสีดวงทวาร อาการที่บ่งบอกว่าเป็น !
ริดสีดวงทวาร อาการที่บ่งบอกว่าเป็น !

หากมีอาการเหล่านี้ ! เมื่อเข้าห้องน้ำใช้เวลานานในการขับถ่าย ใช้พลังในการเบ่งอุจจาระ นั่งถ่ายเป็นเวลานาน ทำให้ ทวารหนัก มีอาการเจ็บบ้างก็มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง อาจมีความเสี่ยงเป็น “โรคริดสีดวงทวาร” มาดูกันว่า ริดสีดวงทวาร เกิดจาก อะไร ? รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – โรคยอดฮิตของมนุษย์ทำงาน | โรคริดสีดวงทวารหนัก

ริดสีดวงทวาร คืออะไร ?

ริดสีดวงทวาร อาการเจ็บปวดที่สร้างความกังวลใจให้กับใครหลาย ๆ คนเกิดจากเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักหรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. ริดสีดวงภายใน

    เกิดขึ้นเหนือแนวเส้นประสาททวารหนักขึ้นไปซึ่งจะไม่สามารถคลำได้และโผล่ออกมาให้เห็น ต้องวินิจฉัยโดยการส่องกล้องเท่านั้น หากไม่มีอาการแทรกซ้อนจะไม่มีความเจ็บปวด โดยสามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ
    – ระยะที่ 1 ริดสีดวงมีขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถมองเห็นหรือคลำได้แต่จะมีเลือดออกเวลาขับถ่าย
    – ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ริดสีดวงมีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้นเริ่มเป็นติ่งยื่นออกมาเมื่อทำการเบ่งถ่ายเป็นระยะที่ติ่งริดสีดวงสามารถหดกลับเข้าไปเองได้
    – ระยะที่ 3 ช่วงระยะคล้ายกับระยะที่ 2 แต่ต้องใช้นิ้วดันติ่งริดสีดวงกลับเข้าไป
    – ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ริดสีดวงเริ่มมีขนาดใหญ่เป็นติ่งที่ยื่นออกมาแบบถาวรไม่สามารถหดหรือดันกลับเข้าไปได้ จะมีอาการปวดมาก

  2. ริดสีดวงภายนอก

    เกิดขึ้นบริเวณรอยย่นของทวารหนักมองเห็นและคลำได้ อาจมีอาการเจ็บปวดเนื่องจากจะมีปลายประสาทรับความรู้สึก

บทความ เรื่อง ริดสีดวงทวาร เกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณ ทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก

อาการของริดสีดวงทวาร

  • มีเลือดออกเมื่อเบ่งหรือถ่ายอุจจาระออกมา
  • คันรอบบริเวณปากทวารหนัก
  • เจ็บบริเวณทวารหนัก
  • มีก้อนหรือติ่งเนื้อออกมาจาก ทวารหนัก เมื่อขับถ่าย

บทความ เรื่อง ริดสีดวงทวาร เกิดจาก เส้นเลือดดำบริเวณ ทวารหนัก หรือส่วนปลายของลำไส้ใหญ่มีการบวม ยืดตัว หรือยื่นนูนออกมาจากทางทวารหนัก

วิธีการรักษาริดสีดวงทวาร

วิธีการรักษาสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • รักษาโดยไม่ผ่าตัด

    จะใช้ในการรักษาผู้ป่วยริดสีดวงในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 โดยจะรักษาด้วยวิธีดังนี้

  1. เหน็บยา รักษาริดสีดวงเมื่อมีเลือดออกหรือมีการอักเสบให้อาการดีขึ้น
  2. ฉีดยา เป็นการฉีดยาเข้าไปในตำแหน่งใต้ริดสีดวงเพื่อให้ริดสีดวงยุบลง แพทย์จะฉีดทุก 2-4 สัปดาห์ เพื่อให้อาการดีขึ้น
  3. ใช้ยางรัด บริเวณหัวริดสีดวงที่โผล่ออกมาเพื่อให้ฝ่อและหลุดออก ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์เพราะอาจเสี่ยงเกิดการติดเชื้อและผลข้างเคียงอื่น ๆ ตามมาได้
  • รักษาโดยการผ่าตัด

    เป็นการรักษา ริดสีดวง ภายนอกที่มีการอักเสบ ในช่วงระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการผ่าตัดออกได้ดังนี้

  1. ผ่าตัดแบบมาตรฐาน จะผ่าตัดนำเนื้อเยื่อริดสีดวงที่โตออกและตัดไปถึงขั้วเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวริดสีดวงนั้น ผู้ป่วยสามารถขับถ่ายได้เป็นปกติหลังผ่าตัดและมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้นซ้ำ
  2. ผ่าตัดแบบใช้เครื่องมือตัดเย็บโดยอัตโนมัติ เหมาะสำหรับผู้ป่วยริดสีดวงทวารที่เกิดขึ้นภายในเท่านั้นและมีหัวริดสีดวงหลายหัว
  3. ผ่าตัดแบบเลเซอร์ เหมาะสำหรับริดสีดวงที่ไม่มีอาการรุนแรง ซึ่งทางแพทย์จะใช้แสงเลเซอร์เข้าไปทำลายเส้นเลือดที่หัวริดสีดวงให้ค่อย ๆ ฝ่อลง แต่กรณีริดสีดวงขนาดใหญ่หรือระยะที่ 4 มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นซ้ำได้มากขึ้น

ริดสีดวงทวารสามารถเป็นได้ทุกคน แต่ทราบกันหรือไม่ว่า การรักษาริดสีดวงทวาร ไม่ต้องผ่าตัดก็ได้นะ รับชมความรู้เพิ่มเติมได้ที่ – ริดสีดวงทวาร อย่าอาย รู้ไว้ ไม่ต้องผ่าตัด

นอกจากนี้ยังมีความเชื่อในการรักษาโรคริดสีดวงทวารหนักในรูปแบบอื่น ๆ มาดูกันว่าความเชื่อไหนที่ทำตามได้และทำตามไม่ได้ ได้ที่ – วิธีการรักษาริดสีดวงทวาร ข้อไหนจริง ข้อไหนหลอก ? และ สารพัดวิธีรับมือริดสีดวงทวาร

วิธีป้องกัน

  • ขับถ่ายเป็นเวลา ไม่นั่งนานจนเกินไป
  • รับประทานผลไม้มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มกากใยกระตุ้นให้เกิดการขับถ่าย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอและสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ลำไส้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.พงศศิษฏ์ สิงหทัศน์

สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุและเวชบำบัดวิกฤตศัลยกรรม

ภาควิชาศัลยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Article
17-05-2024

11

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
Article
16-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
ปัญหากลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
Article
15-05-2024

6

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
Article
08-05-2024

7