บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
Home
กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ !
กลิ่นปาก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ !

ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจดูไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่สามารถส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นคือปัญหากลิ่นปากยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่รุนแรงได้

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย

สาเหตุของ กลิ่นปาก

แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. สาเหตุภายนอก เกิดจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับช่องปากโดยตรง เช่น ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น หรือระบบทางเดินอาหารมีปัญหา เช่น ลําไส้อุดตัน กรดไหลย้อน
  2. สาเหตุภายใน เกิดจากปัญหาในช่องปาก เช่น ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง มีเศษอาหารติดตามซอกฟัน เหงือกอักเสบ ฟันผุ หรือมะเร็งในช่องปาก 

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีกลิ่นปาก

ปัญหากลิ่นปากเป็นปัญหาที่หลายคนไม่รู้ตัวจนกว่าจะมีคนใกล้ชิดช่วยบอก โดยปกติช่องปากของคนเรามีกลิ่นปากอยู่แล้ว แต่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละคน

5 ความเชื่อเรื่อง กลิ่นปาก

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่แชร์กันมาถึงพฤติกรรมบางอย่างที่ว่ากันว่าเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก หรือวิธีแก้ปัญหากลิ่นปากที่ได้ผล ความเชื่อเหล่านี้เรื่องไหนจริงหรือหลอก

ความเชื่อที่ 1 มีกลิ่นปากเพราะดื่มน้ำน้อย 

ความเชื่อนี้จริงบางส่วน เพราะน้ำลายมีความสําคัญต่อการชะล้างสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมถึงเศษอาหารในช่องปาก การดื่มน้ำน้อยทําให้เรามีน้ำลายน้อยลง เมื่อน้ำลายน้อย เศษอาหารจึงมีแนวโน้มที่จะสะสมได้มากขึ้น เกิดการหมักหมม และเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปากได้

ความเชื่อที่ 2 มีกลิ่นปากเพราะใส่ฟันปลอมผิดขนาด 

ความเชื่อนี้จริง การใส่ฟันปลอมที่ผิดขนาดทำให้ไม่พอดีกับช่องปาก ฟันปลอมจึงสามารถขยับได้ เมื่อรับประทานอาหารจะเกิดการสะสมของเศษอาหารใต้ฟันปลอมจนเกิดกลิ่นปาก ผู้ที่ใส่ฟันปลอมมานานแล้วเริ่มรู้สึกว่ามีปัญหานี้ เป็นไปได้ว่าฟันปลอมอาจมีขนาดไม่พอดี ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจวัดขนาดฟันปลอมใหม่

ความเชื่อที่ 3 มีกลิ่นปาก ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ 3 เวลา

ความเชื่อนี้จริงบางส่วน เนื่องจากน้ำเกลือมีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคได้บางส่วน และช่วยบรรเทาอาการเหงือกอักเสบ แต่การบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่ได้แปรงฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่สะสมอยู่ในช่องปากนั้น อาจทำให้กลิ่นปากกลับมาได้ ฉะนั้น จึงควรแปรงฟันควบคู่ไปกับการบ้วนน้ำเกลือ

ความเชื่อที่ 4 มีกลิ่นปาก รับประทานผักสดช่วยได้

ความเชื่อนี้ไม่จริง เส้นใยในผักสดไม่สามารถช่วยทำความสะอาดฟันได้ หากรับประทานแล้วมีเศษอาหารติดตามซอกฟันแล้วแปรงออกไม่หมดอาจเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นปากได้

ความเชื่อที่ 5 มีกลิ่นปาก ให้เคี้ยวหมากฝรั่ง

ความเชื่อนี้จริงบางส่วน การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นการกระตุ้นให้น้ำลายออกมามากขึ้น ซึ่งช่วยในการชะล้างสิ่งสกปรกที่หมักหมมอยู่ในช่องปาก อย่างไรก็ตาม น้ำลายไม่สามารถชะล้างสิ่งสกปรกตามซอกฟันได้หมด กลิ่นปากก็ยังคงเกิดขึ้นได้แม้จะเคี้ยวหมากฝรั่งแล้วก็ตาม ฉะนั้น ควรกำจัดสิ่งสกปรกด้วยการแปรงฟันให้สะอาดจึงจะสามารถแก้ปัญหากลิ่นปากได้

มี กลิ่นปาก อาจเป็นสัญญาณบอกโรค

สำหรับคนที่มีกลิ่นปากอาจเป็นไปได้ว่ากำลังมีโรคในช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ หรือฟันผุ แต่หากแปรงฟันสะอาดดีอยู่แล้ว นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคที่ซ่อนอยู่ เช่น ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ฉะนั้น ผู้ที่มีกลิ่นปากแล้วยังหาสาเหตุไม่ได้จึงควรรีบมาพบทันตแพทย์เพื่อสาเหตุที่แท้จริง

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย

วิธีทดสอบกลิ่นปาก

การทดสอบกลิ่นปากเป็นวิธีที่ช่วยให้รู้ว่าเรามีกลิ่นปากผิดปกติหรือไม่ สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่

  1. ให้คนใกล้ชิดช่วยบอก
  2. ทดสอบด้วยการใช้ไหมขัดฟัน ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน เสร็จแล้ววางไหมขัดฟันทิ้งไว้สักพักแล้วดมดู หรือใช้นิ้วแตะน้ำลาย ทิ้งไว้สักพักแล้วดม หากมีกลิ่นแสดงว่าอาจมีกลิ่นปากผิดปกติ
  3. ใช้เครื่องวัดกลิ่นปาก

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกัน กลิ่นปาก

ควรแปรงฟันให้ถูกวิธี แปรงลิ้น และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อทำความสะอาดตามซอกฟันที่แปรงเข้าไม่ถึง หากกลิ่นปากหายไปแสดงว่าเกิดจากการทำความสะอาดไม่ทั่วถึง แต่หากยังมีกลิ่นปากอยู่ควรมาพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากโรคอื่น ๆ หรือไม่ เช่น เหงือกอักเสบในจุดที่ยังไม่ก่อให้เกิดอาการฟันผุ หรือมีโรคร้ายแรงอื่น ๆ 

กลิ่นปากเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ไม่ยาก หากหาสาเหตุเจอ แต่ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรรีบมาพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยและหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

 

ข้อมูลจาก

ทพ.ภูมิพัฒน์ ลีชนะวานิชพันธ์
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/
Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV
Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel
Line: https://page.line.me/ramathibodi
Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
อาการคล้ายกับไข้หวัด มีน้ำมูก และเสมหะอยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้อาจเสี่ยงเป็น ไซนัสอักเสบ โรคที่สามารถพบได้บ่อยในช่วงที่มีอากาศชื้น
Article
11-06-2024

1

บทความ เรื่อง ปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้เสียงอยู่ตลอดเวลาคือ อาการ เสียงแหบ เสียงหาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน
ปัญหาที่พบบ่อยมากขึ้นสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องใช้เสียงอยู่ตลอดเวลาคือ อาการ เสียงแหบ เสียงหาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาในชีวิตประจำวัน
Article
10-06-2024

3

บทความ เรื่อง การ จัดฟัน จะช่วยให้มี ฟัน สวยเป็นที่นิยมมากเพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาฟันไม่สวยแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ และสร้างบุคลิกภาพที่ดีได้อีกด้วย
การจัดฟัน จะช่วยให้มีฟันสวยเป็นที่นิยมมากเพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาฟันไม่สวยแล้ว ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจ และสร้างบุคลิกภาพที่ดีได้อีกด้วย
Article
07-06-2024

1

บทความ เรื่อง อาการ ปวดหลัง ร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้า เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา หรือปวดคอเรื้อรังเป็นอาการของ หมอนรองกระดูกเสื่อม
อาการปวดหลังร้าวลงขาไปถึงน่องหรือหลังเท้า เจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา หรือปวดคอเรื้อรังเป็นอาการของหมอนรองกระดูกเสื่อม
Article
06-06-2024

2