ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบัน ถึงแม้การรักษาพยาบาลและการให้บริการด้านสาธารณสุขของประเทศไทยมีคุณภาพติดอันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็มีการใช้งบประมาณและทรัพยากรของประเทศอย่างมหาศาลและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อที่จะรักษาคุณภาพของระบบสาธารณสุขไทยให้ยั่งยืนได้ เราจึงต้องมีการบริหารจัดการที่ดีในทุกระดับที่สามารถใช้ทรัพยากรทั้งที่เป็นบุคคล อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรืองบประมาณอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีซึ่งมีโรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาลจัดการฝึกอบรมผู้บริหารองค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี จึงได้ผนึกกำลังกับวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็นสถาบันการศึกษาทางด้านการบริหารจัดการในระดับชั้นนำของประเทศ เป็นหนึ่งในสี่สถาบันการศึกษาของประเทศไทยที่ได้การรับรองมาตรฐาน AACSB (Association to Advance Collegiate Schools of Business) ในระดับนานาชาติ จัดทำหลักสูตรร่วม “แพทยศาสตรบัณฑิต-การจัดการมหาบัณฑิต” นี้ขึ้นโดยมุ่งหวังผลิตแพทย์นักบริหารที่มีภาวะผู้นำและมีความรู้ความสามารถทางการบริหารจัดการในระดับสากล ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาวะของสังคมไทยได้ กล่าวคือบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษานอกจากจะมีความรู้ ความสามารถ คุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาชีพในฐานะแพทย์อย่างเต็มที่แล้ว ยังจะมีสมรรถนะและทักษะทางด้านการบริหารจัดการและภาวะผู้นำที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศอีกด้วย
นักศึกษาในโครงการจะได้เรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 6 ปีเต็ม และเพิ่มการเรียนในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) อีก 1 ปี รวมเวลาศึกษา 7 ปี โดยจะมีการบูรณาการของ 2 หลักสูตร ในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด และเปิดโอกาสให้มีการวิจัยสร้างองค์ความรู้มุ่งไปสู่การพัฒนาหรือแก้ปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศเป็นหลัก เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนักศึกษาจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (Doctor of Medicine, M.D.) และการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) (กจ.ม.) (Master of Management, M.M.)
หลักสูตรและการเรียนในโครงการ
นักศึกษาจะได้เรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 6 ปี และเพิ่มการเรียนในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) อีก 1 ปี โดยเริ่มเรียนชั้นพรีคลินิก 3 ปีแรกที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จากนั้นเข้าศึกษาในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) โปรแกรม Healthcare and wellness management 1 ปีที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล และกลับมาเรียนชั้นคลินิกที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีพร้อมทำวิจัยสำหรับวิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตอีก 3 ปี รวมเวลาศึกษา 7 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (Doctor of Medicine, M.D.) และการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) (กจ.ม.) (Master of Management, M.M.)

นักศึกษาจะได้เรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 6 ปี และเพิ่มการเรียนในหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) อีก 1 ปี รวมเวลาศึกษา 7 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (Doctor of Medicine, M.D.) และการจัดการมหาบัณฑิต (นานาชาติ) (กจ.ม.) (Master of Management, M.M.)
ข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตร M.M.
HEALTHCARE AND WELLNESS MANAGEMENT (HWM)
Career path
โครงการมุ่งผลิตแพทย์นักบริหารให้กับประเทศและสังคม ซึ่งสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อสุขภาวะที่ดีขึ้นของสังคมไทย บัณทิตที่จบการศึกษาจากโครงการนอกจากจะมีความรู้ความสามารถเป็นฐานะแพทย์แล้ว ยังจะมีทักษะและความพร้อมในการบริหารจัดการโรงพยาบาล และองค์กรด้านสาธารณสุขทั้งตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ
การรับนักศึกษา
โครงการ M.D. – Master of Management เริ่มรับนักศึกษาสำหรับเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2564 โดยเปิดรับนักศึกษาปีละ 20 คน ผ่านการรับตรงระบบ TCAS รอบ Portfolio (TCAS I) ของ ทปอ. โดยคัดเลือกจาก Portfolio และการสัมภาษณ์แบบ MMI
คุณสมบัติผู้สมัคร
- ผลการศึกษามีคะแนนสะสมเฉลี่ย > 3.50
- ผลคะแนนการสอบ Biomedical Admission Test (BMAT) > 12.0
- ผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษ TOEFL (IBT) > 8.0 หรือ IELTS (Academic modules) > 6.5
ช่วงเวลาการรับสมัครนักศึกษา (อาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์)
- เปิดรับสมัคร ตุลาคม 2563
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ ธันวาคม 2563
- สัมภาษณ์ MMI มกราคม 2564
- ประกาศผลผู้มีสทธิ์เข้าศึกษา กุมภาพันธ์ 2564
- เปิดภาคการศึกษา สิงหาคม 2564
คำถามที่พบบ่อย
1. ทำไมจึงต้องเรียนการจัดการในชั้นปีที่ 4 เพียงปีเดียว ?
• ในปีที่ 1-3 ได้เรียนพื้นฐานทางการแพทย์ (pre-clinic)
• หลังจบปีที่ 3 นักศึกษาจะมีความเข้าใจความรู้พื้นฐานและความพร้อมในด้านวัยวุฒิเพื่อเริ่มเรียนรายวิชาด้านการจัดการในปี4 และเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการบริหารจัดการในปีที่4 จะทำให้นักศึกษามีความพร้อมและมีทักษะด้านการจัดการที่จำเป็น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในช่วงเวลาปี 5-7 ที่ออกฝึกหัดปฏิบัติงาน (ออกคลินิก) สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพของการบริหารจัดการที่ชัดเจนขึ้น ช่วยให้นักศึกษามีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
• การเรียนปริญญาโทด้านการจัดการ 1 ปี จะเป็นระบบการเรียนสามเทอม ซึ่งในช่วงหนึ่งปีนี้ นักศึกษาแพทย์จะได้เรียนรายวิชาที่จำเป็นครบถ้วนถามที่กำหนดไว้ และเมื่อนศพ.สำเร็จรายวิชาพื้นฐานที่กำหนดไว้แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสองสถาบันในปีที่ 5-7
2. เรียนจบแล้ว จะเป็นอะไรได้บ้าง ?
• ระยะสั้นเป็น แพทย์นักบริหาร มีความสามารถในการนำทีมงานทีมแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุข ทำอย่างร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีโอกาสประสบความสำเร็จทางอาชีพได้ดี
• ระยะยาว เติบโตเป็นผู้บริหารองค์กรที่มีความรู้ด้านการจัดการที่ดี
3. ทำไมต้องเรียน 7 ปี ?
• หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรปริญญาตรีต่อเนื่องปริญญาโท ซึ่งปกติการเรียนหลักสูตรแพทย์ศาสตร์ต้องใช้เวลาหกปีเต็ม การเพิ่มเวลาเรียนออกไปหนึ่งปีจะช่วยให้ไม่ไปลดทอนคุณภาพในการเรียนการสอนด้านการแพทย์ แม้นักศึกษาแพทย์จะต้องใช้เวลาเพิ่มอีกหนึ่งปี ถือเป็นการลงทุนของเวลาที่คุ้มค่าในระยะยาว เพราะการมีทักษะในด้านการบริหารจัดการจะเป็นสมรรถนะที่สำคัญในการทำงานและเติบโตในวิชาชีพในอนาคต
• นอกจากนี้ปกติการเรียนปริญญาโทเพียงอย่างเดียวใช้เวลา 1 ปีครึ่งถึงสองปี การจัดหลักสูตรแบบนี้จะช่วยให้นักศึกษาได้รับสองปริญญาโดยใช้เวลาเพิ่มอีกเพียงหนึ่งปี
4. หลักสูตร การจัดการมหาบัณฑิต เรียนอะไรบ้าง ?
• เนื้อหาในหลักสูตรถูกออกแบบสำหรับแพทย์ที่มีความสนใจในการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาแพทย์นักบริหารที่มีความสามารถในการจัดการในโลกยุคดิสรัปชั่น ตลอดจนรับมือกับปัญหาในองค์กรและบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยเนื้อหาจะประกอบเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. Healthcare System & Policy เพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิดของระบบบริการสุขภาพและนโยบายสาธารณสุข เข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมสุขภาพ นโยบายสาธารณสุข โมเดลของการดูแลสุขภาพ ระบบการบริการสาธารณสุขทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ระบบการจ่ายเงิน ผ่านรายวิชา Principles & Concepts of Health Systems and Health Policy ประกอบกับ การเข้าใจเทรนด์แนวโน้มที่สำคัญของสุขภาพและเวลเนสผ่านรายวิชา Emerging Healthcare & Wellness Business Management
2. Leadership & Management มีวิชาสำคัญอย่าง Leading and Managing Healthcare Organizations เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการจัดการองค์กรสุขภาพ การบริหารจัดการกับบุคลากรทางการแพทย์หลากหลายวิชาชีพในองค์กรสุขภาพ สร้างความเข้าใจธรรมชาติขององค์กรทางสุขภาพ การบริหารจัดการโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
นอกจากนี้ในการเป็นผู้บริหารที่ดี หลักสูตรเพิ่มขีดความสามารถในการวางกลยุทธ์เพื่อทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านวิชาการตลาด การจัดการทางการเงิน เศรษฐศาสตร์ การจัดการทรัพยากรบุคคล ตลอดจนออกแบบสร้างประสบการณ์บริการที่ดีให้กับผู้รับบริการได้ การจัดการข้อมูลและเทคโนโลยียุคใหม่
3. 21st century skills ทักษะที่สำคัญโลกศตวรรษที่ 21 (soft skills) เช่น ภาวะความเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีม การตัดสินใจและการแก้ปัญหา การบริหารการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารจูงใจ การเจรจาต่อรอง
5. เรียนที่ไหนบ้าง ?
ในปีที่ 4 ที่เรียนเกี่ยวกับการจัดการมหาบัณฑิตจะเรียนที่วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง
Brochure หลักสูตร พ.บ. - กจ.ม.