ไฮแปงไจน่า
Home
“โรคเฮอร์แปงไจน่า” โรคระบาดที่ควรทำความรู้จัก
“โรคเฮอร์แปงไจน่า” โรคระบาดที่ควรทำความรู้จัก

โรคระบาดที่ติดต่อกันในสังคมไทยมีอยู่หลายโรคด้วยกัน บางโรคก็เป็นที่รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ขณะที่ยังมีอีกหลายโรคที่หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นเคยอย่างเช่น “โรคเฮอร์แปงไจน่า” ถือเป็นโรคระบาด ที่ทุกคนควรทำความรู้จัก เพื่อหาแนวทางในการรักษาและป้องกันการเกิดโรค

โรคเฮอร์แปงไจน่า

เป็นโรคที่ติดเชื้อจากไวรัสชนิดเดียวกันกับมือ เท้า ปาก ซึ่งเป็นกลุ่มของ เอนเตอโรไวรัส (Enterovirus)  แต่มีอาการที่แตกต่างกันคือจะมีแผลเฉพาะที่ปากเท่านั้น ขณะที่มือ เท้า ปาก นอกจากจะมีแผลที่ปากแล้วจะมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย สามารถติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก ไอ จาม ลักษณะอาการจะมีไข้สูงประมาณ 39.5-40 องศาเซลเซียส และมีแผลในช่องปากบริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง แต่ถ้าเป็นมือ เท้า ปาก ไข้จะไม่สูง และมีแผลกระจายอยู่ทั่วปาก รวมทั้งมีผื่นขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าด้วย

การติดต่อเกิดขึ้นได้จาก

การสัมผัสกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ของคนที่มีเชื้อ เพราะบางครั้งอาจสัมผัสแล้วเผลอรับประทานเข้าไป ก็ทำให้ติดเชื้อได้ กลุ่มเสี่ยงของโรคเฮอร์แปงไจน่าส่วนมากจะเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 10 ขวบ และเจอในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่รวมกันในโรงเรียนอนุบาล มักเล่นของเล่นรวมกัน หยิบจับสิ่งของรวมกัน จึงมีโอกาสติดต่อได้ง่าย โดยตัวเชื้อจะอยู่ได้นานในอากาศเย็นและชื้น จึงระบาดมากในฤดูฝน แต่ก็สามารถพบได้ในทุกฤดู

โดยทั่วไปแล้วโรคเฮอร์แปงไจน่าจะไม่รุนแรง แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเจอได้จากโรคนี้ เช่น

การอักเสบของก้านสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้อามเนื้อหัวใจอักเสบ และอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น แต่ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเจอได้ไม่บ่อยนัก

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้

สามารถทานอาหารได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเด็กคนไหนเป็นมาก ไม่ยอมทานไม่ยอมกลืนอาหาร ควรหาของอ่อนๆ ให้เด็กทาน

การรักษา

ยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสตัวนี้ แต่จะใช้วิธีการให้ยาลดไข้ และยาทาเพื่อรักษาแผลในปาก เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ โดยทั่วไปสามารถหายได้เอง เพียงแต่ต้องเฝ้าระวังเรื่องภาวะแทรกซ้อน ถ้าหากเด็กรับประทานอาหารไม่ได้ หายใจหอบ หรือชัก ควรรีบพบแพทย์

วิธีป้องกันโรคคือ

พยายามให้อยู่ห่างคนที่มีเชื้อเอาไว้ หากลูกไม่สบายควรให้หยุดเรียน และควรปลูกฝังนิสัยลูกให้ใส่ใจเรื่องสุขอนามัยอยู่เสมอ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร และควรล้างมือให้สะอาดหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด

 

ข้อมูลจาก
ผศ. นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ
หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี


คลิกชมคลิปรายการ “โรคเฮอร์แปงไจน่า หนึ่งในโรคระบาดที่ควรรู้จัก : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเราใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการเลือกแปรงสีฟันที่เหมาะสม รวมถึงหมั่นแปรงฟันให้ถูกวิธี และพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน ทำให้มั่นใจมากขึ้น
Article
20-05-2024

3

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
Article
17-05-2024

13

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
Article
16-05-2024

5

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
ปัญหากลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
Article
15-05-2024

7