01
Home
"เป็นไปไม่ได้" ตรวจเลือด 1 หยดรู้ไปเสียทุกโรค…
"เป็นไปไม่ได้" ตรวจเลือด 1 หยดรู้ไปเสียทุกโรค…

กระแสในโลกออนไลน์ของการตรวจเลือด 1 หยดรู้ทุกโรค หรือตรวจหาสารโลหะหนักในร่างกายด้วยการส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์เรียกได้ว่า มาแรงมากๆ แต่มันสามารถทำแล้วตรวจหาโรคสารพัดได้จริงๆ หรือ? หลายคนต่างพากันสงสัย วันนี้ อ.นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวะสถิติ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาอธิบายให้เราได้ฟังกัน

การตรวจเลือดแบบนี้หรือที่เขาใช้ชื่อว่า “ลีฟ บลัด อนาไลซิส (Live Blood Analysis: LPA)”

ที่เรามักจะเห็นกันตามห้างสรรพสินค้า มีเจ้าหน้าที่ยืนทำการตรวจ หรือเห็นจากการส่งต่อภาพในโลกออนไลน์ พอตรวจเสร็จก็จะมีการวิเคราะห์ไปต่างๆ นาๆ ว่า เรานั้นมีกรดในเลือดสูงบ้าง มีพยาธิ มีน้ำตาลในเลือดสูง มีแบคทีเรีย นู่นนั่นนี่ จนทำให้หลายคนเกิดความตื่นตระหนก ว่าจะเป็นโรคอะไรร้ายแรงหรือไม่ มันตรวจได้ไวและรู้ได้หมดขนาดนั้นเชียว?

ในทางการแพทย์นั้นการตรวจแบบนี้เราเรียกว่า “ดาร์ค ฟิล ไมโครสโคป (Dark Field Microscopes)” ซึ่งปัจจุบันมีการใช้น้อยมาก

จากนั้นจะนำมาย้อมสีเพื่อวิเคราะห์อะไรบางอย่าง หรือเพื่อดูว่าเม็ดเลือดแดงนั้นขาดธาตุเหล็กหรือไม่ ซึ่งจริงๆ แล้วต้องทำการเกลี่ยบนสไลด์ ปิดด้วยกระจกสไลด์ ย้อมสีอย่างครบขั้นตอนตามหลักการ และต้องทำในห้องที่สะอาด ไม่มีฝุ่น จึงจะเห็นได้ชัดเจนมากกว่าการไม่ย้อมสีแบบ ลีฟ บลัด อนาไลซิส (Live Blood Analysis: LPA) ที่กล่าวอ้างกัน

เลือดของเรานั้นแต่ละคนมีความหนืดไม่เท่ากัน

บางครั้งมันก็จะจับเป็นกลุ่ม ซึ่งการจับเป็นกลุ่มที่ว่านี้ ก็อาจจะมีความสัมพันธ์กับโรคบางโรคได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นกับปัจจัยในการเกลี่ยของเม็ดเลือดที่หยดลงบนสไลด์ด้วย ถ้าตั้งใจเกลี่ยให้มันข้นๆ เอาส่วนที่หนืดๆ หน่อย ก็จะเห็นการเกาะของเม็ดเลือดแบบซ้อนๆ กันขึ้นมาได้ คนขายโปรแกรมตรวจเลือดเลยนำเทคนิคนี้ไปใช้ในการหลอกผู้บริโภคให้หลงเชื่อ

การตรวจเลือดนั้นมีความซับซ้อนหลายขั้นตอน

มีค่าใช้จ่าย และใช้เวลา ไม่สามารถเจาะตรวจเดี๋ยวนั้น แล้วจะรู้ผลว่าเราเป็นโรคอะไรได้ทันที มันเป็นไปได้ยากมาก การตรวจเลือดไวๆ มีแต่การตรวจหากรุ๊ปเลือด เพราะฉะนั้นจึงอยากฝากให้ทุกคนใช้วิจารณญาณในการบริโภคให้มาก อย่าหลงเชื่ออะไรโดยไม่มีข้อมูล หากไม่แน่ใจให้ถามผู้เชี่ยวชาญก่อนจะดีกว่า

 

ข้อมูลจาก
อ. ดร. นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร
สาขาวิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวะสถิติ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update ระวังภัยตรวจเลือด 1 หยดรู้ทุกโรค” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

หากเป็นตะคริวบ่อยร่วมถึงมีอาการอื่น เช่น ชา แสบร้อน พักแล้วไม่หาย คาดว่าเป็นตะคริวที่ไม่ปกติ ตะคริวอาจเป็นสัญญาณบอกโรคบางอย่าง ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย
Article
16-05-2024

1

บทความ เรื่อง ปัญหา กลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
ปัญหากลิ่นปาก เป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อบุคลิกภาพ ความมั่นใจในตนเอง และการเข้าสังคมได้ นอกจากนี้ยังเป็นสัญญาณบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้ด้วย
Article
15-05-2024

4

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
Article
08-05-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
Article
07-05-2024

9