บทความ เม.ย. 61_๑๘๐๔๐๔_0003
Home
แค่แพ้ยาก็ตายได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไร
แค่แพ้ยาก็ตายได้ แล้วจะรู้ได้อย่างไร

“แพ้ยา” เป็นอันตรายของการใช้ยาที่เกิดจากปฏิกิริยาการต่อต้านของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ทั้งยากิน ยาฉีด ยาทา หรือยาดมสลบ อาการแพ้ยาขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคน ความรุนแรงมากที่สุดคือสามารถทำให้เสียชีวิตได้

แพ้ยา เกิดจากอะไร?

อาการแพ้ยา เกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวเกินไปต่อตัวยาชนิดนั้น ๆ จึงแสดงอาการแพ้ออกมา โดยอาการแพ้ยามีหลายอย่าง เช่น เกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง ตับอักเสบ และอาการอื่น ๆ ซึ่งสามารถเกิดได้กับทุกระบบในร่างกาย อาการแสดงและความรุนแรงของการแพ้ยาขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอาจเป็นที่ตัวคนไข้เองหรือขึ้นอยู่กับชนิดของยา

แพ้ยา มีกี่แบบ?

อาการแพ้ยา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน โดยใช้ระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาเป็นเกณฑ์

  1. แบบฉับพลัน คือแสดงอาการแพ้ยาหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง
  2. แบบไม่ฉันพลับ คือแสดงอาการแพ้ยาหลังได้รับยาเกิน 1 ชั่วโมง

แพ้ยา มีอาการอย่างไร?

แพ้ยา แสดงออกได้หลากหลายอาการ ได้แก่ ผื่นขึ้น ลมพิษ แน่นหน้าอก หลอดลมตีบ ความดันตก ปากบวม หน้าบวม ลิ้นบวม เป็นต้น แต่คนส่วนใหญ่มักสังเกตเห็นอาการแสดงที่ผิวหนังได้ก่อนระบบอื่น เพราะสามารถสังเกตได้ง่าย ส่วนอาการแพ้ยาที่รุนแรงนั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียวรวมทั้งมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น อาการทางผิวหนังที่มีการหลุดลอก ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง เป็นต้น

ชนิดยาที่มักทำให้เกิดอาการแพ้

ยาที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ กลุ่มยาปฏิชีวนะ Penicillin, Cephalosporin กลุ่มยารักษาโรคเกาต์ ชนิดที่พบบ่อยเป็น Allopurinol กลุ่มยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenobarbital เป็นต้น นอกจากนี้ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด กลุ่มยารักษาวัณโรค เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ยา

กลุ่มเสี่ยงต่ออาการแพ้ยา คือผู้ป่วยด้วยโรคบางโรค เช่น คนไข้ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง เช่น ผู้ป่วย SLE กลุ่มคนไข้มะเร็งเม็ดเลือดขาว กลุ่มคนไข้ติดเชื้อไวรัส เช่น ผู้ป่วยเอชไอวี เป็นต้น

รู้ได้อย่างไรว่าแพ้ยาหรือไม่?

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองแพ้ยาชนิดใด สิ่งที่ทุกคนควรรู้ก่อนคือการแพ้ยาไม่ได้เกิดเฉพาะกับยาที่ได้รับในครั้งแรกเท่านั้น แม้แต่ยาที่เคยได้รับมาแล้วก็สามารถเกิดอาการแพ้ในครั้งหลังได้ ดังนั้นไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะแพ้ยาชนิดนั้นหรือไม่ นอกจากได้รับยาเข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้เท่านั้น ยกเว้นยาบางชนิดที่แพทย์สามารถใช้การตรวจเลือดประเมินความเสี่ยงของการแพ้ยาได้ เช่น ยากันชัก เป็นต้น ซึ่งจะทำให้รู้ล่วงหน้าว่าคนไข้จะแพ้ยาชนิดนั้นหรือไม่

ข้อควรระวังต่ออาการแพ้ยา คือสังเกตอาการหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมง (ระวังอาการแพ้ยาแบบฉับพลัน) และภายใน 2-3 วันหลังรับยา (ระวังอาการแพ้ยาแบบไม่ฉับพลัน) หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น เช่น มีผื่นขึ้น เกิดลมพิษ และอื่น ๆ ควรหยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที ทั้งนี้อาการแพ้ยาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยไม่จำเป็นว่าพ่อแม่มีอาการแพ้ยาแล้วลูกจะต้องแพ้ยาชนิดเดียวกัน

หากมีอาการแพ้ยา ควรทำอย่างไร?

  1. หยุดยาและรีบพบแพทย์ หากพบว่ามีอาการผิดปกติหลังได้รับยาภายใน 1 ชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน
  2. ควรนำยาที่ตนเองได้รับติดตัวไปด้วย เพื่อให้แพทย์พิจารณา
  3. ควรถ่ายภาพความผิดปกติของตนเองที่เกิดขึ้นเก็บไว้ เพื่อให้แพทย์พิจารณาประกอบ เช่น ภาพผื่น เพราะผื่นบางชนิดเกิดขึ้นเพียงชั่วขณะแล้วหายไป
  4. หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน และการซื้อยาแก้แพ้กินเอง
  5. หากมีประวัติแพ้ยาควรจดจำชื่อยาที่ตนเองแพ้ และแจ้งแพทย์ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.วรรณดา ไล้สวน
สาขาวิชาโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ระวังอาการแพ้ยาอาจรุนแรงส่งผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต : พบหมอรามา ช่วงBig Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
ปวดเข่า งอเข่าไม่ได้ เข่าบวม อาการนี้เกิดจากความผิดปกติของน้ำในข้อเข่าจนทำให้อวัยวะภายในของข้อเข่าเกิดการอักเสบจนทำให้เกิด ภาวะเข่าบวมน้ำ ได้
Article
08-05-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
Article
07-05-2024

5

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
Article
02-05-2024

5

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
Article
01-05-2024

14