บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ
Home
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สังเกตอย่างไร ?
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สังเกตอย่างไร ?

สมอง อวัยวะที่เป็นส่วนสำคัญอย่างมากเปรียบเสมือนเครื่องมือสั่งการส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ แต่เมื่อมีการอักเสบของ เยื่อหุ้มสมอง ถึงเนื้อสมองเกิดขึ้นจึงนับว่าเป็นอันตรายที่ทำให้เกิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากอาจส่งผลต่อชีวิตหรือทำให้เกิดทุพพลภาพได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองที่ห่อหุ้มรอบสมองรวมไปถึงไขสันหลัง ส่วนใหญ่มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อได้ เช่น สารเคมี มะเร็ง การบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องของโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รู้ไว ปลอดภัยกว่า

ปัจจัยเสี่ยงโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • เด็กเล็กและผู้สูงอายุผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ได้แก่  ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ป่วยที่ต้องกินยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่ถูกตัดม้าม
  • ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน 
  • มีน้ำไขสันหลังรั่วจากฐานกะโหลกศีรษะแตก

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ

อาการ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

อาการของผู้ป่วยที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีดังต่อไปนี้

  • ไข้สูงเฉียบพลัน
  • คอแข็ง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • อาเจียน
  • ชัก
  • สับสน มึน และหมดสติ
  • เบื่ออาหาร

บทความเรื่อง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นโรคติดเชื้อที่ เยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังทำให้มีอาการอักเสบและบวม จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ ไข้ขึ้นสูง หรือตึงบริเวณคอ

การวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไปรวมถึงระบบประสาท นอกจากนี้ยังอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรค เยื่อหุ้มสมองอักเสบ  ดังนี้

  • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    • ตรวจเลือด เพื่อนำไปเพาะเชื้อก่อโรคของ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 
    • เจาะน้ำไขสันหลัง แพทย์จะดำเนินการเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจเพื่อประเมินปริมาณเม็ดเลือดขาว ชนิดของเม็ดเลือดขาว ระดับน้ำตาลและโปรตีน รวมถึงการสืบค้นทางห้องปฏิบัตการเพื่อหาเชื้อก่อโรค ซึ่งเป็นวิธีที่มีความแม่นยำมากที่สุดในการวินิจฉัยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การตรวจภาพรังสีสมอง
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการถ่ายภาพสมองที่อาจพบการอักเสบของเยื้อหุ้มสมองหรือรอยโรคในเนื้อสมอง

วิธีการรักษา เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

  • กรณีเกิดเยื้อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อจะต้องได้รับการรักษาทันทีซึ่งแพทย์จะเริ่มยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อรา หรือยาต้านไวรัสเข้าทางหลอดเลือดดำตามเชื้อก่อโรค และให้การรักษาแบบประคับประคองในช่วงที่มีอาการ และติดตามอาการทางระบบประสาทอย่างใกล้ชิด
  • แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

ข้อมูลจาก

รศ. นพ.จักรพงษ์ บรูมินเหนทร์ 

สาขาวิชาโรคติดเชื้อ

ภาควิชาอายุรศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
Article
07-05-2024

2

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
Article
02-05-2024

1

บทความ เรื่อง ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ ผิวหนัง เรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรค มะเร็งผิวหนัง
ตากแดดบ่อย ๆ มีไฝขึ้นและแตกเป็นแผล หรือมีแผลที่ผิวหนังเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน อาจเป็นสัญญาณเตือน โรคมะเร็งผิวหนัง ได้
Article
01-05-2024

9

บทความ เรื่อง ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาล แลคโตส ที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
ท้องเสีย ทำไมห้าม ดื่มนม ? เพราะเมื่อท้องเสียเซลล์ที่ผนังลำไส้จะถูกทำลายและไม่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสที่ส่งผลเสียต่อลำไส้ได้
Article
26-04-2024

7