โครงการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จากตัวอย่างน้ำลาย


ชื่องานวิจัย โครงการตรวจคัดกรองการติดเชื้อ SARS-CoV-2 จากตัวอย่างน้ำลาย
คณะ / สาขาวิชา ภาควิชาพยาธิวิทยา และภาควิชาอายุรศาสตร์ (โรคติดเชื้อ) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ การวินิจฉัยการติดเชื้อ COVID-19 ในช่วงแรก บุคลากรทางการแพทย์จะใช้การเก็บตัวอย่างตรวจจากโพรงหลังจมูก (nasopharyngeal) และลำคอ (throat) ด้วยอุปกรณ์การเก็บ (swab) ทำให้บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เนื่องจากขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ส่วนผู้รับการตรวจจะรู้สึกระคายเคืองและเจ็บจากการเก็บสิ่งส่งตรวจ จึงศึกษาข้อมูลเพิ่มแล้วพบว่าในต่อมน้ำลายมีตัวรับ (receptor) ของเชื้อ SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 ประกอบกับผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรค COVID-19 จะตรวจพบเชื้อได้ในน้ำลายในช่วงที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จึงเป็นที่มาของการศึกษาการใช้น้ำลายเพื่อการวินิจฉัย COVID-19
ขอบเขต / พื้นที่ศึกษา ประเทศไทย
วัตถุประสงค์ เพื่อตรวจคัดกรองการติดเชื้อ SARS-CoV-2 โดยใช้ตัวอย่างที่สามารถเก็บได้ง่าย มีความปลอดภัยในการเก็บ และประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้ชุดป้องกัน ลดการกระจายของเชื้อจากการระคายเคืองขณะเก็บตัวอย่าง
แหล่งทุนสนับสนุน -
หน่วยงานที่ร่วมมือ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
(ติดต่อตรวจคัดกรอง โทร. 02-201-1470,02-201-0531)
ภาควิชาอายุรศาสตร์ (โรคติดเชื้อ)  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล / คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล / กระทรวงสาธารณสุข / ประชาชน
ระดับความร่วมมือ ระดับชาติ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ สามารถคัดกรองผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วและง่าย เข้าถึงได้ในทุกพื้นที่ เพื่อนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่ขบวนการรักษา ซึ่งจะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  และลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากการเก็บตัวอย่างสามารถทำได้ด้วยตนเอง 
Web link อ้างอิงผลการดำเนินงาน https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1198743X20302780?via%3Dihub
  https://www.hfocus.org/content/2020/04/19104
  https://www.hfocus.org/content/2020/04/19103
  https://www.youtube.com/watch?v=eG5yhhhG7yY
SDG goal ที่เกี่ยวข้อง 16 , 17