ชื่องานวิจัย |
โครงการการบริหารจัดการและสำรองยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
คณะ / สาขาวิชา |
ศูนย์พิษวิทยา ศูนย์เพื่อความเป็นเลิศ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ |
ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ, องค์การเภสัชกรรม, สถานเสาวภา สภากาชาดไทย, สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมพิษวิทยาคลินิก ดำเนินงาน”โครงการเพิ่มเข้าถึงยากำพร้ากลุ่มยาต้านพิษ”ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ผลการดำเนินการดีและได้รับการความสนใจจากองค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคเอเชีย (WHO SEARO)เพราะสอดคล้องกับงานของ WHO SEARO จึงขอให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบริหารและสำรองยาต้านพิษให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นผู้ดำเนินการหลัก |
ขอบเขต / พื้นที่ศึกษา |
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มียาต้านพิษที่จำเป็นในการรักษาผู้ป่วยภาวะพิษฉุกเฉินและผู้ที่ได้รับพิษ โดยการสนับสนุนจากโครงการยาต้านพิษของประเทศไทย |
แหล่งทุนสนับสนุน |
- |
หน่วยงานที่ร่วมมือ |
องค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ / สำนักงานหลักประกันสุขภาพ / องค์การเภสัชกรรม / สถานเสาวภา สภากาชาดไทย / สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
ระดับความร่วมมือ |
นานาชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
มีระบบการบริหารจัดการยาสำหรับผู้ป่วยภาวะพิษฉุกเฉินที่ต้องการใช้ยาเร่งด่วน และกระบวนการสั่งซื้อยาระหว่างประเทศเพื่อสำรองยาไว้ใช้กรณีมีผู้ป่วยได้รับพิษ |
Web link อ้างอิงผลการดำเนินงาน |
https://www.rama.mahidol.ac.th/icaps/ |
|
https://gnews.apps.go.th/news?news=40852 |
SDG goal ที่เกี่ยวข้อง |
17 |