
ชื่องานวิจัย | ธนาคารชีวภาพสำหรับโรคมะเร็งแบบครบวงจรแบบสหสถาบัน (Multi-center Tumor Biobank) |
คณะ / สาขาวิชา | ศูนย์มะเร็ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ที่มาและความสำคัญ | การศึกษาวิจัยเชิงลึกทางชีวโมเลกุลจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างชิ้นเนื้อมะเร็งรวมถึงเลือดและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยเพื่อนำไปสกัดสารพันธุกรรม DNA RNA) หรือโปรตีน และยังจำเป็นต้องใช้ชิ้นเนื้อสดสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งแบบ primary cell และ tumor organoid ซึ่งความสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง เนื่องจากเป็นตัวแทนชิ้นเนื้อมะเร็งที่มีลักษณะ histopathology และลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนหรือคล้ายคลึงกับชิ้นส่วนมะเร็งจริงของผู้ป่วย ทำให้การวิจัยและทดลองกับโมเดลดังกล่าวเพื่อเลือกยาต้านมะเร็งหรือวิธีการรักษามีประสิทธิภาพสูง จึงมีประโยชน์อย่างมากกับการประยุกต์ใช้กับการรักษาผู้ป่วยในอนาคต |
ขอบเขต / พื้นที่ศึกษา | ประเทศไทย |
วัตถุประสงค์ | 1. เพื่อสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์แพทย์คลินิกสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง อาจารย์แพทย์ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์สาขาชีวการแพทย์ ในกลุ่มโรงพยาบาลเขตพญาไท 2. เพื่อเก็บชิ้นเนื้อ เลือดและสารคัดหลั่งของผู้ป่วยมะเร็ง อย่างมีระบบ ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเซลล์มะเร็งที่ได้จากการเพาะเลี้ยงชิ้นเนื้อของผู้ป่วยให้กลายเป็นก้อนเนื้อคล้ายอวัยวะ (ออร์แกนอยด์) เพื่อใช้เป็นโมเดลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งแต่ละคนเพื่อการศึกษาวิจัย 3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการศึกษาวิจัยเชิงลึกทางชีวโมเลกุลด้านโรคมะเร็ง และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิธีการรักษาและวินิจฉัยโรคมะเร็งอย่างแม่นยำ (precision cancer medicine) ในประเทศไทย 4. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ด้าน biomarker และ drug discovery สำหรับโรคมะเร็งได้เองในประเทศไทย |
แหล่งทุนสนับสนุน | - |
หน่วยงานที่ร่วมมือ | สถาบันมะเร็งแห่งชาติ / สถาบันประสาทวิทยา / โรงพยาบาลศิริราช / Gynecological tumor bank, Yonsei University College of Medicine, Korea |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย | สถาบันมะเร็งแห่งชาติ / สถาบันประสาทวิทยา / โรงพยาบาลศิริราช / Gynecological tumor bank, Yonsei University College of Medicine, Korea |
ระดับความร่วมมือ | ระดับชาติ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ | 1. มี Tumor biobank ที่สมบูรณ์ มีการจัดเก็บชิ้นเนื้อ เลือด สารคัดหลั่งและ cancer cell model ของผู้ป่วยมะเร็ง อย่างมีระบบ ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ 2. มีงานวิจัยเชิงลึกทางชีวโมเลกุลร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางคลินิกที่มี Impact สูง และสามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มีความน่าเชื่อถือระดับนานาชาติ 3. มีการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์แพทย์คลินิกสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคมะเร็ง ระหว่างสถาบัน 4. สามารถพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งแบบ primary cell culture และ tumor organoid จากชิ้นเนื้อสดคนไข้ที่เหลือจากการวินิจฉัย เพื่อใช้เป็น disease model ในการศึกษาวิจัยโรคมะเร็งและพัฒนาวิธีการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำในผู้ป่วยมะเร็งชาวไทยต่อไป |
Web link อ้างอิงผลการดำเนินงาน |
https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/25dec2019-1606 |
SDG goal ที่เกี่ยวข้อง | - |


