การรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยการบำบัดยีน


ชื่องานวิจัย การรักษาโรคธาลัสซีเมียด้วยการบำบัดยีน
คณะ / สาขาวิชา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มาและความสำคัญ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่พบมากสุดในโลก ทำให้เด็กเกิดใหม่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย มีพัฒนาการที่ไม่สมวัย เกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาระของครอบครัวและสังคมในการต้องดูแลรักษาตลอดอายุขัย  ซึ่งแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางถึงรุนแรงมาก จะใช้การให้เลือดและยาขับธาตุเหล็กต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลไม่ดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยด้วยการนำสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยมาตัดต่อยีนร่วมกับยีนใหม่ที่สร้างขึ้นในหลอดทดลอง และนำสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยที่ตัดต่อยีนแล้วมาปลูกถ่ายในร่างกายผู้ป่วย เพื่อรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดเป็นครั้งแรกของโลก 
ขอบเขต / พื้นที่ศึกษา ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียทั้งไทยและต่างชาติ
วัตถุประสงค์ เพื่อหาวิธีการหรือรูปแบบใหม่ในการรักษาโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมมากที่สุดในประเทศไทยให้หายขาด 
แหล่งทุนสนับสนุน -
หน่วยงานที่ร่วมมือ ทีมแพทย์และนักวิจัยจาก University of Paris และ Harvard Medical School 
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระบบสาธารณสุขโลก
ระดับความร่วมมือ ประเทศ

ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ

(ระบุวันที่มีการนำไปใช้)

วิธีการรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดครั้งแรกของโลก โดยไม่ต้องถ่ายเลือดและให้ยาขับธาตุเหล็ก รวมถึงเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเพื่อรักษาโรคที่เกิดจากพันธุกรรมอื่นๆ ได้
Web link อ้างอิงผลการดำเนินงาน https://med.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/01202020-1601
SDG goal ที่เกี่ยวข้อง -