ชื่องานวิจัย |
โครงการวิจัยและติดตามกลุ่มนักมวยเด็ก |
คณะ / สาขาวิชา |
ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
ที่มาและความสำคัญ |
การชกมวยเด็กเป็นลักษณะมวยอาชีพ คือ การได้รับค่าตอบแทน ซึ่งนับเป็นการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฎหมาย อีกทั้งมีการระบุในระดับสากลโดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาว่า เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ชกมวยนั้น ถือว่าเป็นการใช้แรงงานเด็กที่ย่ำแย่ที่สุด ในส่วนนี้ทำให้ประเทศไทยได้ Tier 3 ด้านการค้ามนุษย์ แพทย์ นักวิชาการ และเครือข่ายคุ้มครองเด็ก |
ขอบเขต / พื้นที่ศึกษา |
กลุ่มเด็กที่ชกมวย และกลุ่มเด็กที่ไม่ได้ชกมวย ที่มีสถานการเงินทางบ้านและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน |
วัตถุประสงค์ |
เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างสมองของเด็กที่ชกมวย (335 คน) เปรียบเทียบกับเด็กทั่วไปที่มีสถานการเงินทางบ้านและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกัน แต่ไม่ได้ชกมวย (252คน) ผลของการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการชกมวยในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีผลต่อสมองของเด็ก |
แหล่งทุนสนับสนุน |
ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
หน่วยงานที่ร่วมมือ |
ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
สมาคมกีฬามวยอาชีพแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เยาวชนไทย |
ระดับความร่วมมือ |
ประเทศ |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อ |
ได้นำผลการวิจัยเสนอต่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมทั้งรัฐบาลไทย เพื่อสนับสนุนการแก้ไข พ.ร.บ.กีฬามวย 2542 เพื่อปกป้องสมองเด็กและส่งเสริมมวยไทยให้เป็นกีฬาที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทุกวัย |
Web link อ้างอิงผลการดำเนินงาน |
https://mahidol.ac.th/th/2018/rama-boxing |
|
http://csip.org/wordpress/category/มวยเด็ก/ |
SDG goal ที่เกี่ยวข้อง |
16 , 17 |