โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง


ชื่อกิจกรรม/โครงการ โครงการพลังชุมชนต้านภัยมะเร็ง
ที่มาและความสำคัญ จากสถานการณ์ของโรคมะเร็งในภาพรวมของประเทศไทย สถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต อันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 16 ของการเสียชีวิตทั้งหมดสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และโรคหัวใจ เฉลี่ย 2 ถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ย ๘8 รายต่อชั่วโมง ในปี พ.ศ. 2561 พบว่ามีจำนวน ผู้ป่วยรายใหม่โดยประมาณอยู่ที่ 170,495 ราย และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 114,199 ราย สำหรับ 5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่ (ตามลำดับ) ซึ่ง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง เกิดจากการมีพฤติกรรมทางด้านสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป การรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้ที่น้อยเกินไป รวมทั้งการขาด การออกกำลังกายที่เพียงพอ การควบคุมมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ นอกจากการปรับพฤติกรรม สุขภาพแล้ว มีหลักฐานการศึกษาที่ชัดเจนว่าการตรวจคัดกรองเพื่อตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็ง ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่สำคัญได้ โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย และมีความสำคัญ ในประเทศไทย การเข้าถึงหน่วยงานบริการ ความรู้ ความเข้าใจ และความยอมรับในการตรวจคัดกรอง ความต่อเนื่องในการ ตรวจคัดกรอง เทคนิคที่เหมาะสม การดูแลผู้ที่ตรวจคัดกรองแล้วพบโรค ประเด็นเหล่านี้จะสำเร็จได้ต้องได้รับความร่วมมือ จากหลายภาคส่วนตั้งแต่ ภาคประชาชน ภาควิชาการภาครัฐ จึงจะสัมฤทธิ์ผล
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม / โครงการ 1 พฤษภาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
สถานที่จัดกิจกรรม / โครงการ ชุมชน 8 แห่ง รอบคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง / ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำนักงานเขตราชเทวี /สถาบันมะเร็งแห่งชาติ /ชุมชน 8 แห่ง รอบคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อค้นหาบุคคลในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้และปัจจัยเสี่ยง
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและปัจจัยเสี่ยง
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและติดตามผลการตรวจเต้านมด้วยตนเองในระยะ 1 เดือนและ 3 เดือน
5. เพื่อถอดบทเรียนองค์ความรู้ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะจากการจัดทำโครงการฯ
รูปแบบการดำเนินกิจกรรม / โครงการ 1. ประชุมวางแผนการดำเนินร่วมกันกับผู้นำชุมชนสนับสนุนชุมชน ในการจัดทำโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ประสานงานหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง
2. รวบรวมข้อมูลผู้สนใจเข้าร่วมโครงการโดยอาสาสมัคสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
3. ประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เป็นต้น
4. ประสานงานผู้เชี่ยวชาญในการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม
5. จัดเตรียมเอกสาร คู่มือต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบฟอร์มซักประวัติ แบบฟอร์มการคัดกรองมะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม สื่อความรู้และประชาสัมพันธ์ คู่มือและสมุดบันทึกการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
6. จัดหาและเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรม
7. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
8. ดำเนินจัดกิจกรรมตามแผนงาน
9. อาสาสมัคสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านของแต่ละชุมชน รวบรวมข้อมูลผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
10. วางแผนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน และหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง
11. สนับสนุนชุมชน ในการจัดทำโครงการ ประสานงานหน่วยงาน องค์กร ที่เกี่ยวข้อง
12. เสนออนุมัติโครงการเพื่อของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร
กลุ่มเป้าหมาย / กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม ชุมชน 8 แห่ง รอบคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม -
ระดับความร่วมมือ ระดับชาติ
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม 1. ประชาชนในชุมชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะฯ มีความรู้ ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งสามารถประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นด้วยตนเองได้
2. หน่วยงาน องค์กร ทางด้านสุขภาพ ได้รับรู้ปัญหาข้อมูลสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยง นำมาวางแผน ขยายผลในการให้ความรู้ต่อไป
3. การทำงานร่วมกันในชุมชน (community engagement) ในการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเองของประชาชน เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน และสังคมโดยรวม